ประเทศในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ และประเทศเวียดนาม เป็นกลุ่มประเทศในอาเซียนที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการเติบโตของ GDP อยู่ที่ประมาณ 6.9% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มอาเซียน และคาดการณ์กันว่าจะมีสามารถรักษาการเติบโตในระดับ 6% ต่อไปในอีก 5 ปีข้างหน้า
ที่มา: http://asean.org/storage/2012/05/ASEAN_Stats_Leaflet2016_web.pdf
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม CLMV โตได้อย่างรวดเร็วเกิดจากเม็ดเงินลงทุนไหลเข้า (FDI) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างประชากรวัยหนุ่มสาวที่มีมากช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV
ที่มา: https://populationpyramid.net/
ด้วยอัตราการเติบโตของ GDP, เม็ดเงินลงทุนไหลเข้า (FDI) และโครงสร้างประชากรมีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตในอนาคตของประเทศในกลุ่ม CLMV ทำให้บรรดานักลงทุนชาวไทยเริ่มให้ความสนใจและพยายามทำการศึกษาบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศเหล่านี้เพื่อลงทุนด้วยตนเอง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านภาษา และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่ยังไม่เป็นมาตรฐาน ทำให้นักลงทุนรายย่อยที่ต้องการลงทุนด้วยตนเองประสบปัญหาในการหาข้อมูล ความน่าเชื่อถือของข้อมูล สภาพคล่องในการซื้อขาย การนำเงินเข้าออกประเทศ และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ช่องทางการลงทุนผ่านกองทุนรวมในประเทศยังมีอยู่อย่างจำกัดและไม่ตรงกับความต้องการของนักลงทุน ทำให้นักลงทุนไทยเสียโอกาสที่จะการกระจายการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ในวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากกลุ่มประเทศ CLMV
KT-CLMVT (Krung Thai CLMVT Equity Fund) : กองทุนเปิดกรุงไทย หุ้น ซีแอลเอ็มวีที
นโยบายหลักของกองทุน : เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ในกลุ่มประเทศ CLMV และหุ้นไทยที่มีแหล่งที่มาของรายได้จากกลุ่มประเทศ CLMV โดยจะพิจารณาจาก 115 บริษัท GMS Universe* ของ Set
*GMS (Greater Mekong Subregion: GMS) Universe คือ บริษัทจดทะเบียนไทยที่มีการลงทุน และ/หรือ มีรายได้จากประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่เปิดเผยอย่างเป็นทางการในเอกสารของบริษัท ได้แก่ หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงิน รายงาน 56-1 รายงานประจำปี และเอกสารนำเสนอของบริษัท โดยรายได้จากประเทศในกลุ่ม GMS รวมถึง รายได้จากลูกค้าที่มีถิ่นฐานใน GMS รายได้จากส่วนงานที่ดำเนินการใน GMS และรายได้จากการส่งออกไปยังประเทศใน GMS)
รายชื่อบริษัทใน GMS Universe http://www.set.or.th/th/gms_exchanges/eco_exposure_universe.html
เป้าหมายการกระจายการลงทุนในแต่ละประเทศ
- 40% ลงทุนทางอ้อม ผ่านบริษัทไทยใน GMS Universe
- 40% ลงทุนทางตรง บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเวียดนาม (ตามดัชนี VN30)
- 20% ลงทุนในบริษัท กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ที่จดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์ และ ฮ่องกง
สัดส่วนการลงทุนในช่วง 3 เดือนแรกหลังการจัดตั้งกองทุนอาจแตกต่างจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะ 40% ในตลาดหุ้นเวียดนาม เนื่องจากรอการดำเนินการเพื่อเริ่มการซื้อขายในตลาดหุ้นเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ทางกองทุนจะทำการลงทุนในหุ้นไทยที่ได้ประโยชน์จาก CLMV เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายหลักในการจัดตั้งกองทุนรวม
วิธีการในการคัดเลือกบริษัทเพื่อทำการลงทุน
ผู้จัดการกองทุนจะทำการคัดเลือกหุ้นให้สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจและวัฏจักรของธุรกิจ นอกจากนี้ยังทำการวิเคราะห์บริษัท เยี่ยมชมกิจการ พูดคุยกับผู้บริหาร ให้มีความเข้าใจลักษณะธุรกิจเพื่อนำมาประเมินมูลค่ากิจการ โดยเฉพาะการลงทุนในประเทศเวียดนามทางกองทุนได้รับความร่วมมือจากทีมงานของ Partner ในประเทศเวียดนามในเรื่องของการหาข้อมูลและบทวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกบริษัทเพื่อลงทุนในกองทุน KT-CLMVT
ตัวอย่างบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของ CLMV
ตัวอย่างบริษัทที่น่าสนใจ
VNM (Vietnam): ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ครองส่วนแบ่งการตลาด 45-50% มีช่องทางการจัดจำหน่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ผลการดำเนินงานแนวโน้มเติบโต 12-13% ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
VIC (Vietnam): ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และมีกลุ่มธุรกินที่หลากหลายทั่วประเทศ มีความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ มีที่ดินรอการพัฒนาประมาณ 5 พันไร่ เพียงพอกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ 10-20 ปี
YOMA(Myanmar): เป็น Holding Company ที่จดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์ ที่มีรายได้กว่า 98% จากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งกว่า 82% ของรายรับมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธุรกิจเกษตร และขนส่ง
SMI(Myanmar): เป็น investment holding company ที่จดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์ มีการกระจายการลงทุนในหลายธุรกิจ เช่น ร้านค้าปลอดภาษีในสนามบินเมียนมาร์ รับเหมาก่อสร้าง ปล่อยเช่ารถยนต์ ให้บริการด้านโทรคมนาคม
ปัจจัยความเสี่ยงสำคัญที่ควรพิจารณา
- ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของราคาหุ้นซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม หรือภาวะตลาด
- ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ (Liquidity Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่สามารถซื้อหรือขายได้ในระยะเวลาหรือราคาตามที่กำหนด
- ความเสี่ยงที่เกิดจากกฎระเบียบในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Restrictions of Foreign Investment) เกิดจากข้อจำกัดหรือข้อห้ามสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
- ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของสกุลเงิน เนื่องจากมีการใช้ดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
- ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ (Repatriation Risk) เป็นความเสี่ยงที่ประเทศที่ลงทุนอาจออกมาตรการ Capital control ทำให้ไม่สามารถนำเงินลงทุนและผลตอบแทนกลับประเทศไทยได้ตามที่คาด
ค่าธรรมเนียม(เรียกเก็บจากกองทุน) รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่เกิน 5.0% ต่อปี โดยแยกเป็น 4 หัวข้อดังนี้
- ค่าการจัดการกองทุน ไม่เกิน 0% ต่อปี (ปัจจุบัน 1.5% ต่อปี)
- ค่าผู้ดูแลผลประโยชน์ ไม่เกิน 0% ต่อปี
- ค่านายทะเบียน ไม่เกิน 5% ต่อปี (ปัจจุบัน 0.2%)
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่จ่ายจริง
ค่าธรรมเนียม(เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย)
1.ค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน
1.1 ช่วง IPO (22-27 กุมภาพันธ์ 2560) ค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน 1.0%
1.2 หลังช่วง IPO ค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน 1.5%
2. ค่าธรรมเนียมการขายคืนหน่วยลงทุน ยังไม่เรียกเก็บ
3. ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยน
3.1 กรณีเป็นกองทุนต้นทาง Switch out ยังไม่เรียกเก็บ
3.2 กรณีเป็นกองทุนปลายทาง Switch in 1.5%
หากท่านใดสนใจลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ดังนี้
ข้อมูลกองทุน : http://www.ktam.co.th/FileUpload/Fund/FundDocFileTh10_2346.pdf
หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ: http://www.ktam.co.th/document_fund/fundfactsheet/Factsheet_th_KT-CLMVT.pdf
ข้อมูลอื่น ๆ : http://www.ktam.co.th/th/mutual-fund/mutual-detail.aspx?FundID=635&FundMenuID=1&level=3
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV จะดูน่าสนใจเพียงใด อย่าลืมว่าการลงทุนในกลุ่ม CLMV เป็นการลงทุนในประเทศชายขอบ (Frontier Markets) มีความเสี่ยงในเรื่องของความไม่แน่นอนทางการเมือง กฎระเบียบต่าง ๆ อาจยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สภาพคล่องในการซื้อขาย รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้ว นักลงทุนควรพิจารณากระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา