การประชุมนักวิเคราะห์ครั้งที่ 3/2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา พบว่า เศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวแต่ไม่สูงมาก เนื่องจากเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำกัด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบน้อยลงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ปี 2564 มีแนวโน้มกลับมาเป็นบวก ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ามีความไม่แน่นอนสูง มีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่ากรณีฐาน
ผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ทั่วโลกรุนแรง การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก อุปสงค์ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นบ้าง การจ้างงานและรายได้ยังคงเปราะบาง จะใช้เวลาฟื้นตัวนาน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มแตกต่างมากระหว่างเศรษฐกิจภูมิภาค และผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหนัายังมีความไม่แน่นอนสูง ตามการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นสำคัญ สถานการณ์การระบาดในต่างประเทศมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าคาด ทั้งการระบาดรอบสองในหลายประเทศและการระบาดในบางประเทศยังไม่สามารถควบคุมได้ คาดว่ามาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และน่าจะเปิดวงกว้างมากช่วงครึ่งหลังปี 2564
เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ในการฟื้นสู่ระดับก่อนโควิด-19 ระบาด และยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ปัจจัยที่ทำให้การฟื้นตัวล่าช้ามาจากการไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เลยจนกว่าจะมีวัคซีนใช้แพร่หลาย เศรษฐกิจโลกหดตัวรุนแรงอีกครั้งหากเกิดการระบาดรุนแรงจนต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด
อัตราเงินเฟ้อท่วไปมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายปี 2564 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2563 มีแนวโน้มติดลบน้อยลง ตามข้อสมมติราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มเป็นสำคัญ ประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากมาตรการลดค่าสาธารณูปโภคมีผลต่อเงินเฟ้อไม่มาก อย่างไรก็ดี แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ
เสถียรภาพระบบการเงินไทยมีความเสี่ยงสูง ตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมากในปีนี้จากการระบาดของโควิด-19 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะใช้เวลานานและมีแนวโน้มแตกต่างกันมาก ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนเปราะบางและมีความเสี่ยงผิดนัดชำระนี้ เสถียรภาพระบบการเงินยังเข้มแข็งหลายด้าน เสถียรภาพระบบสถาบันการเงินจากเงินกองทุนและเงินกันสำรองที่สูง ซึ่งจำเป็นต้องรักษาให้เข้มแข็งต่อเนื่องเพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต
เสถียรภาพภาคต่างประเทศจากระดับเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูงและสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP ที่ต่ำ เสถียรภาพภาคการคลัง ระดับหนี้สาธารณะของไทยก่อนเกิดโควิด-19 ยังต่ำ มีอายุหนี้เฉลี่ยยาวและเกือบทั้งหมดเป็นหนี้สกุลเงินบาท
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลาไม่น้อยกว่าสองปี ถึงจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดและเผลชิญกับความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษบกิจมีแนวโน้มแตกต่างกัน (uneven recovery) ระหว่างภาคเศรษฐกิจ ภูมิภาค และผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม อาจส่งผลต่อศักยภาพการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ
กนง. ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงรุกตั้งแต่โควิดระบาด ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้งจากร้อยละ 1.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่ำเป็นประวัติการณ์ ภาระการเงินของไทยยังผ่อนคลายต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินที่ทรงตัวในระดับต่ำ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปล่อยใหม่ (NLR) ที่ทยอยปรับลดลง
เงินบาทอ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มลดลง แต่หากเงินบาดกลับมาแข็งค่าขึ้นเร็วอาจกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กนง. จะประเมินความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม
เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก รัฐบาลควรใช้มาตรการที่ต่อเนื่อง ตรงจุด ทันเหตุการณ์ เอื้อให้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับตัวอย่างเหมาะสม
นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ ต้องกระจายสภาพคล่องให้ตรงจุดและปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุกให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างธุรกิจ นโยบายการคลังและนโยบายอุปทาน ต้องมีบทบาทมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหากำลังการผลิตส่วนเกินสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การปรับรูปแบบการทำธุรกิจ และพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้างกับบริบทใหม่
ภาครัฐควรเร่งสร้างงาน โดยเฉพาะสาขาธูรกิจที่ได้รับผลกระทบมากแต่มีศักยภาพและเหมาะสมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่
ตัวเลขผู้เสมือนว่างงาน หมายถึง ผู้ที่ทำงานไม่ถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน หากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า จนส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงไปในที่สุด กลุ่มคนที่เสมือนว่างงานก็จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นผู้ว่างงานได้
ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย (1), (2)
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา