หลังเหตุวินาศกรรม 9/11 ค้าปลีกเสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่น Uniqlo ก็เริ่มขยายสาขาไปยังต่างประเทศมากขึ้น แห่งแรกที่ไปคือลอนดอน อังกฤษ หลังจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่จีนในปีถัดมา แห่งแรกของจีนคือที่เซี่ยงไฮ้
ปัจจุบันหน้าร้าน Uniqlo ในจีนมีจำนวนแซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้วเรียบร้อย จากเดือนสิงหาคม 2015 อยู่ที่ 387 แห่ง ก็เพิ่มเป็น 767 แห่งในช่วงปลายเดือนสิงหาคม เมื่อเกิดความขัดแย้ง ต่อต้านจีนมากขึ้น ราว 764 แห่งเริ่มคิดอยากย้าย Uniqlo กลับญี่ปุ่น
การเติบโตของ Uniqlo ในจีนนั้น แค่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการขยายหน้าร้านไปถึง 7 แห่ง สะท้อนให้เห็นว่า จีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ Uniqlo ซึ่ง Fast Retailing ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Uniqlo พยายามสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในจีน ด้วยการรวบแพลตฟอร์ม e-commerce เข้ากับหน้าร้าน ทำให้สามารถส่งออกสินค้ากลับไปยังญี่ปุ่นได้ ซึ่งบ้างครั้งเมื่อญี่ปุ่นมีปัญหากับจีนก็สร้างความเสี่ยงต่อธุรกิจด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ Tadashi Yanai CEO Fast Retailing ระบุว่า สำหรับประชากรราว 1.3 ล้านคน หน้าร้านนี้สามารถมีได้มากถึง 3,000 แห่ง Uniqlo มีหน้าร้านในจีนทะลุ 782 แห่งภายในเดือนกันยายน
Uniqlo สามารถสร้างรายได้ทั้งในจีน ฮ่องกง และไต้หวันได้มากถึง 5.02 แสนล้านเยน หรือ 4.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.47 แสนล้านบาทในปี 2019 ราว 20% ของรายได้ทั้งหมด แม้จะน้อยกว่าในญี่ปุ่นที่ทำได้มากถึง 8.72 แสนล้านเยน หรือประมาณ 2.55 แสนล้านบาท แต่อัตราการเติบโตของรายได้ราย 3 ปีจนถึงสิงหาคม 2019 อยู่ที่ 15% เติบโตเร็วกว่าญี่ปุ่นที่อยู่ที่ 3% ด้วยเหตุนี้ มีแนวโน้มที่รายได้ในจีนจะเติบโตแซงในญี่ปุ่นภายในปลายสิงหาคม 2024
บ่อยครั้งที่ยอดขายภาคการผลิต เช่น รถยนต์ หรือภาคส่วนอื่นๆ เติบโตกว่ารายได้ภายในประเทศ แต่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไม่เป็นเช่นนั้น และมีแนวโน้มว่าจะมุ่งเป้ามาที่ผู้บริโภคภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งรายได้ Uniqlo จากต่างประเทศก็เคยแซงหน้ายอดขายในญี่ปุ่นตั้งแต่ปลายสิงหาคม 2018 ที่ผ่านมา
กิจการในจีนทำกำไรได้มาก ภายในสิงหาคม 2019 ทำส่วนต่างได้มากถึง 17.7% ขณะที่ญี่ปุ่นอยู่ที่ 11.7% นักชอปชาวจีนยังต้อนรับสินค้าราคาสูงได้ค่อนข้างดี และยังตอบรับอีคอมเมิร์ซได้ดีด้วย ผู้ชอปออนไลน์มีมากราว 20% ในช่วงปลายสิงหาคม 2019 เพิ่มขึ้นเท่าตัวของญี่ปุ่น
Yanai ระบุว่า ถ้าเราเชื่อมต่ออีคอมเมิร์ซกับหน้าร้านที่มีอยู่ได้หมด ยอดขายสามารถพุ่งสู่ 2 ล้านล้านเยนหรือประมาณ 5.86 แสนล้านบาทได้ภายในหนึ่งปี ทั้งนี้ บริษัทเคยประเมินว่ายอดขายจะมากถึง 1.99 ล้านล้านเยนภายในสิ้นสิงหาคม 2020 ซึ่ง Fast Retailing เรียกการผนึกรวมของรูปแบบการค้าออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันว่าเป็น Information-driven manufacturer-retailer (ข้อมูลข่าวสารขับเคลื่อนการผลิตและการค้าปลีก)
ข้อมูลข่าวสารว่าด้วยทิศทางการขายจะถูกรวบรวมจากทั่วโลกผ่าน smart tags (หน่วยความจำขนาดเล็ก) และข้อมูลการสั่งซื้อเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์ด้วย AI ที่จะทำให้เห็นเทรนด์การตลาดในแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกันมากขึ้น ข้อมูลการขายจะถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อวางแผนการผลิต การผลิตและการจำหน่ายจ่ายแจกจะมีความรวดเร็วและทรงประสิทธิภาพและทำให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากยิ่งขึ้น
หน้าร้านในจีนจะมีออเดอร์สั่งซื้อออนไลน์มากยิ่งขึ้น ขณะที่ในญี่ปุ่นนั้นแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ของ Uniqlo ยังไม่เชื่อมโยงกัน อย่างไรก็ดี การพึ่งพาลูกค้าจีนมากไปก็ทำให้เกิดความเสี่ยงได้ Uniqlo ปิดชั่วคราวเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเกิดเหตุพิพาทพรมแดนเมื่อปี 2012 ความสัมพันธ์อันเปราะบางดังกล่าว ทำให้ Uniqlo ไม่ใช้โลโก้ที่เป็นภาษาญี่ปุ่นที่นำไปใช้กันทั่วโลกแต่นำมาใช้ไม่ได้ในจีน Yanai เองก็รับรู้ว่าจะไม่พึ่งพาจีนมากเกินไป
ที่มา – Nikkei Asia
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา