บทวิเคราะห์หุ้นไทยจาก CLSA มองว่าหลายๆ อุตสาหกรรมในตลาดหุ้นไทยเองอาจต้องรอถึงปี 2022 เป็นอย่างน้อยที่กำไรจะฟื้นตัวกลับมาเท่ากับในช่วงปี 2019 ได้
บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ CLSA มองว่า 10 อุตสาหกรรมในไทยต้องรอถึงปี 2021 เป็นอย่างน้อยที่กำไรจะฟื้นตัวเท่ากับช่วงก่อน COVID-19 นอกจากนี้ CLSA ยังมองว่าการฟื้นตัวของกำไรในอุตสาหกรรมหลายๆ แห่งที่จะฟื้นตัวในรูปแบบตัว V ในปี 2021 นั้นเป็นเรื่องที่น่าสงสัย แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวแล้วก็ตาม และรวมไปถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการคลังจากรัฐบาลและทางด้านการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย
CLSA ยังมองว่าในแต่ละภาคอุตสาหกรรมในตลาดหุ้นไทยถ้าหากจะรอให้ระดับกำไรกลับมาเท่ากับในช่วงของปี 2019 นั้นอาจต้องรอจนถึงปี 2022 เป็นอย่างน้อย โดยที่เงื่อนไขคือต้องไม่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 จนทำให้เกิดการล็อกดาวน์อีกครั้ง ได้แก่
- ภาคการเงิน – CLSA มองว่าต้นทุนการเงินจะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดในปีนี้และปีหน้า
- อสังหาริมทรัพย์
ขณะที่ 4 อุตสาหกรรมที่ต้องรอหลังปี 2022 เป็นต้นไปที่ CLSA คาดไว้ ในเงื่อนไขคือไม่มีการแพร่ระบาดเพิ่ม ได้แก่
- โรงแรม
- การขนส่ง
- การแพทย์
- ธุรกิจสื่อ – เป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างฟื้นตัวได้ช้ากว่าคนอื่น และมีปัจจัยกระทบมาก
นอกจากนี้ยังมีอีก 4 อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะฟื้นในปีหน้า
- ค้าปลีก
- ปิโตรเคมี
- โทรคมนาคม – ปริมาณการใช้ Data เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จะลดผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่หายไป
- อุตสาหกรรมวัสดุพื้นฐาน – ด้วยราคาน้ำมันที่ทรงตัวในช่วงนี้คาดว่ากำไรจะฟื้นได้ในปีหน้า
- รับเหมาก่อสร้าง – จากปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในเร็วๆ นี้
แต่หุ้นไทยก็ยังมีข่าวดีเมื่อมี 2 อุตสาหกรรมที่คาดว่ากำไรจะฟื้นในปีนี้ได้แก่
- โรงไฟฟ้า – ได้ประโยชน์จากการซื้อกิจการ หรือลงทุนในต่างประเทศ
- ธุรกิจอาหาร
CLSA ยังมองว่ากำไรที่ฟื้นตัวในโมเดลที่วิเคราะห์ไว้นั้นค่อนข้างจะมองแบบอนุรักษ์นิยมมากกว่านักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินอื่นๆ ที่มองกัน ขณะเดียวกันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเองนั้นก็จะช่วยให้หลายๆ ภาคอุตสาหกรรมในตลาดหุ้นไทยได้รับผลประโยชน์ด้วย เช่น ค้าปลีก ฯลฯ
ขณะที่มุมมองในกลุ่มประเทศใน ASEAN นั้นทาง CLSA มองว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคจะฟื้นตัวไวสุด ท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากสุดและฟื้นตัวช้าสุด ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นการสั่งของผ่าน E-commerce เป็นต้น
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา