EIC ธนาคารไทยพาณิชย์วิเคราะห์สถานการณ์การท่องเที่ยวไทย โดยใช้ข้อมูลการท่องเที่ยวของทางการและ high frequency data พบว่า การท่องเที่ยวในประเทศเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ แต่ในภาพรวมยังต่ำกว่าระดับช่วงก่อน Lockdown
เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง รายได้จากนักท่องที่ยวรวมทั้งไทยและต่างชาติปี 2562 มีสัดส่วนสูงถึง 18.6% ของจีดีพี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องต่างชาติ 11.9% และจากนักท่องเที่ยวไทย 6.7% ของจีดีพี
ปี 2563 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ การท่องเที่ยวของไทยจึงหันมาพึ่งนักท่องเที่ยวภายในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2562 พบว่า 49.5% ครัวเรือนมีรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวเป็นครัวเรือนในกรุงเพทฯ และปริมณฑล มีค่าใช้จ่ายรวมกันเป็น 63.8% ของรายจ่ายท่องเที่ยวทั้งหมดของครัวเรือนไทย
EIC ประเมินว่าการท่องเที่ยวไทยยังซบเซา มีปัจจัยสำคัญ ดังนี้
นักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปยังไม่กลับมา การหายไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งเคยสร้างรายได้ 60.3% ในปี 2562 แม้สิ้นเดือนสิงหาคมจะไม่มีผู้ติดเชื้อโควิดที่ติดต่อภายในประเทศยาวนาน 5 เดือนแล้ว แต่การแพร่ระบาดทั่วโลกยังมความไม่แน่นอนสูง ทำให้รัฐบาลไม่เปิดรับการเดินทางจากต่างชาติ สส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเหลือศูนย์นับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา
การหันมาพึ่งพานักท่องเที่ยวไทย ยังทำได้ไม่เต็มศักยภาพ การผ่อนคลาย Lockdown อย่างค่อยเป็นค่อยไป การท่องเที่ยวของคนไทยยังต่ำกว่าระดับปีก่อนหน้า -27.1% และต่ำกว่าระดับก่อน Lockdown อยู่ที่ -13.8%
การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไทยใช้จ่ายต่อคนน้อยกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยู่มาก ข้อมูลปี 2561 รายจ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อต่อวันสูงกว่านักท่องเที่ยวไทย 2.1 เท่า สูงกว่าทุกหมวดการใช้จ่ายโดยเฉพาะหมวดที่พัก ค่าใช้จ่ายรวมเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวไทยอยู่ที่ 2,866 บาทต่อคนต่อวัน นักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 6,039 บาทต่อคนต่อวัน
การฟื้นภาคการท่องเที่ยวด้วยการใช้จ่ายของคนไทยเพียงกลุ่มเดียวอาจต้องมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มากกว่าเดิมมาก ต้องเพิ่มการใช้จ่ายต่อคนเพิ่มอีกมาก ถือเป็นความท้าทายในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังมีปัญหา
การท่องเที่ยวของคนไทยหลัง lockdown เพิ่มขึ้น ยังไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ เมื่อพิจารณาเฉพาะท่องเที่ยวโดยคนไทยในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ (ได้แก่ จังหวัดในไทยที่มีจำนวนห้องพักโรงแรมต่อจำนวนประชากรสูงสุด 15 จังหวัดแรก ไม่รวมกรุงเทพฯ) พบว่า
จังหวัดท่องเที่ยวที่มีระยะทางใกล้กรุงเทพฯ มีอัตรากรเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เยี่ยมเยือนหลัง lockdown สูงกว่าจังหวัดท่องเที่ยวที่ไกลกว่า เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ เลือกเดินทางด้วยรถยนต์มากกว่าเครื่องบิน เนื่องจากกังวลการระบาดของโควิด-19 อีกทั้งกำลังซื้อที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวจังหวัดที่ไกลจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงกว่า
จังหวัดที่ใช้ระยะเวลาขับรถไม่เกิน 4 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ อาทิ ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี และชลบุรี มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้เยี่ยมเยือนสูงกว่าจังหวัดที่ไกลกว่า
กิจกรรมเดินทางช่วงหยุดยาว ช่วง 4-7 กรกฎาคม และ 25-28 กรกฎาคม โดยใช้ Facebook Movement Range พบลักษณะที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเมืองท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ ได้แก่ หัวหิน และเมืองที่ไกลกรุงเทพฯ ได้แก่ ภูเก็ต ข้อมูลบ่งชี้ว่า การเพิ่มขึ้นของการเดินทางในเมืองหัวหินสูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดท่องเที่ยวโดยรวม ภูเก็ตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างมากและไม่เท่ากับช่วงก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไป และคนไทยไม่ค่อยไปท่องเที่ยว
EIC มองว่าการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ ยังเป็นความเสี่ยงต่อภาคการท่องเที่ยวในระยะหน้า และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ และแผนการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยของผู้ประกอบการ เป็นกุญแจสำคัญในการประคับประคองภาคการท่องเที่ยวที่ยังต้องการพึ่งพานักท่องเที่ยวเป็นหลัก
ที่มา – EIC
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา