มุมมองเศรษฐกิจไทยจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในรูปแบบตัว U แต่ต้องใช้เวลาถึง 2 ปีครึ่งในการฟื้นตัวถึงจะกลับมาเท่ากับช่วงก่อน COVID-19
วิจัยกรุงศรี คาดการณ์เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในรูปแบบตัวยู (U-shaped Recovery) และอาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปีครึ่งกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดได้ในไตรมาสที่ 4/2565 นอกจากนี้ยังคาดว่าในแต่ละอุตสาหกรรมในไทยจะใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่เท่ากัน ขณะเดียวกันก็คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะถดถอยที่ -5%
สมประวิณ มันประเสิรฐ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยว่า “การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ขณะเดียวกันภาคธุรกิจต่างๆ จะเริ่มปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ๆ ที่จะชัดเจนมากขึ้นในปี 2564”
ขณะเดียวกันวิจัยกรุงศรียังมองว่าผลกระทบของ COVID-19 ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในระยะกลางและยาวจาก 4 ปัจจัยหลักคือ
- การปิดการดำเนินงานของภาคธุรกิจจากมาตรการล็อกดาวน์
- การปรับตัวลดลงของอุปสงค์โดยรวม
- การชะงักงันของระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
- การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค
ปัจจัยข้างต้นนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการฟื้นตัวของกลุ่มธุรกิจต่างๆ ซึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์จะมีการหดตัวมากในช่วงนี้ แต่ฟื้นตัวได้เร็วกว่าธุรกิจอื่นโดยเปรียบเทียบ ขณะที่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคจะใช้เวลายาวนานกว่าในการปรับตัว
วิจัยกรุงศรี ได้วิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ถึง 60 ประเภท พบว่า
- ธุรกิจโรงพยาบาลและธุรกิจด้
านการผลิตอาหารมีแนวโน้มที่ฟื้ นตัวกลับมาสู่ระดับก่อนเกิ ดการแพร่ระบาดได้ในปี 2564 - ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง พลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ จะได้รับผลกระทบอย่างหนักแต่
จะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่ าภาคธุรกิจอื่นๆ - ภาคธุรกิจที่ได้รั
บผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุ ปสงค์ อาทิ การขนส่งทางอากาศ และอุตสาหกรรมการบริการ จะใช้เวลาฟื้นตัวยาวนานกว่ากลุ่ มอื่นๆ โดยภาคการท่องเที่ยวเป็นหนึ่ งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่ างหนัก - ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกั
บการสัมผัสทางกายหรือการรวมตั วกันในที่สาธารณะจะใช้ เวลาในการฟื้นตัวยาวนานกว่ากลุ่ มอื่นๆ เช่นกัน
หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “สำหรับประเทศไทย คาดว่าเม็ดเงินจากมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจะเข้าสู่ระบบมากขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ซึ่งจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ แต่ต้องติดตามความชัดเจนของมาตรการต่างๆ และประสิทธิภาพการฟื้นฟูเศรษฐกิจว่าจะสามารถทำให้เกิดการจ้างงานเพื่อให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ หนุนให้ภาคครัวเรือนมีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ ซึ่งจะลดความเสี่ยงแก่ภาคการเงิน รวมถึงมีมาตรการที่เหมาะกับรูปแบบการฟื้นตัวในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมากเพียงใด”
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา