แม้มีเงินจ้างก็ไม่ไป บริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยืนยันไม่ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน

หลังจากที่หลายประเทศสาหัส ได้รับผลกระทบหนักทั่วโลกเพราะดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ เนื่องจากโควิด-19 ทำภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดความเคลื่อนไหวชั่วคราว โดยเฉพาะ supply chain ที่มีจีนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ทั้งในแง่ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบหลัก ทั้งในแง่แรงงานราคาไม่แพง ทั้งในแง่ที่เป็นฐานการผลิตรายใหญ่

ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงมีความต้องการกระจายความเสี่ยง เตรียมย้ายฐานการผลิตกลับประเทศบ้าง ย้ายไปยังประเทศอื่นบ้าง หรือไปตั้งรกรากที่อื่นเพิ่ม เพื่อไม่ให้มีความกระจุกตัวที่จีนมากเกินไปแบบที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเคยประกาศงบประมาณสำหรับการย้ายฐานผลิตจากจีนกลับประเทศอยู่ที่ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (6.4 หมื่นล้านบาท) หากต้องการย้ายไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนมีงบอยู่ที่ 2.35 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (7.5 แสนล้านบาท)

Toyota
TOYOTA, JAPAN – DECEMBER 2: Employees of Toyota Motor Corporation work during the assembly process at the company’s Takaoka Plant on December 2, 2005 in Toyota, Aichi Prefecture, Japan. 640,000 passenger cars were produced at Takaoka Plant in 2004. (Photo by Junko Kimura/Getty Images)

ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเงินอุดหนุนบริษัทที่ต้องการความหลากหลายด้าน supply chain มากขึ้น บริษัทต่างๆ จะย้ายกลับประเทศหรือจะย้ายไปยังประเทศในอาเซียน ซึ่งก็มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งที่ระบุว่า จะยังคงฐานการผลิตไว้ที่จีนต่อไป เพราะการย้ายฐานอาจผลิตในเวลานี้อาจจะใช้งบประมาณที่ต้องจ่ายสูงเกินไป

โตโยต้าระบุว่า เข้าใจข้อเสนอรัฐบาลดี แต่ว่าตอนนี้ยังไม่คิดเปลี่ยนใจ เพราะอุตสาหกรรมยานยนตร์ต้องอาศัยซัพพลายเออร์และปัจจัยหลายด้านประกอบกัน จะให้ย้ายทันที คงทำไม่ได้ ตอนนี้จึงยังไม่มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิต

นอกจากนี้ บริษัท Lixil ที่เป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์เพื่อที่อยู่อาศัยครบวงจร ก็ระบุว่า มีฐานการผลิตกว่า 100 แห่งทั่วโลก คิดว่ามีความยืดหยุ่นพอที่จะลดผลกระทบจากโควิด-19 ได้ จึงยังไม่มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิตออกจากจีน

บริษัทแห่งที่สามไม่ต้องการเปิดเผยว่าเป็นบริษัทอะไร กล่าวว่า ตัวเองเป็นบริษัทที่ออกแบบผลิตภัณฑ์และทำสินค้าขายในจีน ไม่คิดที่จะย้ายบริษัทออกไปจากจีนเช่นกัน

ปรากฏการณ์ที่เป็นสาเหตให้ญี่ปุ่นผลักดันนโยบายหนุนเงินให้บริษัทต่างๆ ย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ หรือกระจายความเสี่ยงไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เกิดจากธุรกิจที่ถูกดิสรัปในช่วงโควิด นอกจากนี้ ยังกังวลว่าจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น หลังจีนทำสงครามการค้ากับสหรัฐฯ รวมถึงกรณีข้อพิพาทหมู่เกาะเตี้ยวหยู/ เซนกากุ ทำให้จีนขึ้นค่าแรงเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นด้วย นี่ยังไม่นับรวมปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ที่ต้องร่วมงานกันระหว่างสองประเทศอีก

CHANGZHOU, CHINA – MAY 13: Steel wire to be used in the manufacturing of tires is loaded onto a barge in the Beijing-Hangzhou Canal in the logistics area of the Zhong Tian (Zenith) Steel Group Corporation on May 13, 2016 in Changzhou, Jiangsu. (Photo by Kevin Frayer/Getty Images)

Ivan Tselichtchev ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Niigata ระบุว่า บริษัทหลายแห่งยังต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน แม้จะมีเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น แต่การย้ายฐานผลิตไปที่ใหม่ ประเทศใหม่นั้นมีต้นทุนสูง ไหนจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับบรรดาพนักงาน และยังจะมีหุ้นส่วนทางธุรกิจอีก ไม่ใช่เรื่องง่าย

ขณะที่ Jun Okumura นักวิเคราะห์จาก Meiji Institute for Global Affairs มองว่า จีนมีขนาดตลาดใหญ่มากถึง 1.3 พันล้านคน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ญี่ปุ่นคงไม่อยากเสี่ยงที่จะคงฐานการผลิตไว้ที่เดิม หลายบริษัทจึงเตรียมตัวรับมือให้ตัวเองมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

ที่มา – South China Morning Post

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์