เอาใจไปเลย! สิงคโปร์จ่ายเงิน 16,000 บาท ให้ร้านอาหารหาบเร่ แผงลอยใช้เปิดบริการ Delivery

ต้องบอกว่า เรื่องสนับสนุนให้ประชาชนปรับตัวสู้กับโควิด-19 ได้ สิงคโปร์คือหนึ่งในประเทศที่มีมาตรการเช่นนั้นมาอย่างต่อเนื่อง หากไม่เจอการระบาดอย่างหนักในหมู่แรงงานต่างชาติเสียก่อน สิงคโปร์อาจเป็นหนึ่งในผู้นำที่จัดการโควิด-19 ได้ดีอันดับต้นๆ เช่นกัน

อย่างไรก็ดี สิงคโปร์ยังให้ความเห็นกับเหตุการณ์ที่ตัวเลขคนติดเชื้อพุ่งขึ้นในหมู่แรงงานต่างชาติว่า รัฐบาลยังดูแลได้ไม่ดีนัก และยืนยันจะดูแลเต็มที่ ดูแลแรงงานต่างชาติให้เหมือนกับดูแลชาวสิงคโปร์เช่นกัน

ภาพจาก Lee Hsien Loong

ล่าสุด รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมขยายเวลาให้เงินสนับสนุนผู้ทำธุรกิจร้านอาหารให้ขยายบริการเชื่อมแพลตฟอร์มที่สามารถ Delivery ได้ ด้วยเงินราว 500 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.6 หมื่นบาท ซึ่งเป็นนโยบายที่สิงคโปร์เคยให้เงินอุดหนุนไปก่อนหน้าแล้ว

โดยรัฐจะให้เงินส่งเสริมผู้ทำธุรกิจด้านอาหารที่เป็นหาบเร่แผงลอย ที่ทำมาหากินอยู่ใน hawker centre (Hawker Centre หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นศูนย์อาหารที่สิงคโปร์จัดตั้งขึ้น เพื่อจัดระเบียบให้ร้านอาหารหาบเร่แผงลอยนี้ไปรวมอยู่ในที่เดียวกัน)

SINGAPORE – JUNE 01: People visit the World Street Food Jamboree at the F1 Pit Building & Paddock on June 1, 2013 in Singapore. This 10 day event will bring together over 40 different street food vendors from around the world celebrating the richness and diversity of street food cuisine. Singapore has become famous for its vibrant street food culture with hawker centres offering affordable but delicious food throughout the city. (Photo by Suhaimi Abdullah/Getty Images)

ศูนย์อาหารหาบเร่แผงลอยนี้อยู่ภายใต้ NEA (NEA: National Environment Agency หรือองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสิงคโปร์) ซึ่ง NEA จะเป็นผู้ประสานกับภาคีที่ 3 ผู้ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับจัดส่งอาหารตั้งแต่ 7 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคม ซึ่งใครที่ลงทะเบียนก่อนวันที่ 7 เมษายนก็จะได้รับทุนสนับสนุนนี้ไป (ในรอบก่อนหน้า) ในรอบนี้ก็จะขยายไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน

ในการนี้ Dr. Amy Khor รัฐมนตรีอาวุโสด้านทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมระบุว่า การสนับสนุนธุรกิจอาหารหาบเร่แผงลอยนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยทุนในการสนับสนุนเพื่อให้ร้านอาหารเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม Delivery เท่านั้น แต่ยังออกแพคเกจให้ด้วย เรียกว่า Food Delivery Booster Package เพื่อสนับสนุนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่จะสามารถเปลี่ยนผ่านตัวเองจากโลกออฟไลน์มาออนไลน์ได้ด้วย ซึ่งก็มีข้อริเริ่มต่างๆ ดังนี้

  • สนับสนุนให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage หรือ F&B) ได้เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Delivery
  • สนับสนุนธุรกิจ F&B ได้ใช้แพลตฟอร์ม Delivery โดยที่ลดต้นทุนของธุรกิจผ่านแพลตฟอร์ม 6 แห่ง อาทิ Bungkus, Chope, Deliveroo, foodpanda, GrabFood และ Startaster
  • พัฒนาศักยภาพในการสั่งอาหาร ทั้งในด้านการพัฒนาแพคเกจ การสั่งอาหาร เครื่องมือในการสั่งอาหารต่างๆ เป็นต้น
  • รวมทั้งสร้างศักยภาพให้เป็นวิถีดิจิทัลในระยะยาว

ที่มา – The Straits Times (1), (2), (3), ดูรายละเอียดแพคเกจอย่างละเอียด ที่นี่

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์