4 แรงบันดาลใจ Entrepreneur จาก Startup ฝั่งฉนวนกาซ่า ที่ภาวะสงครามสามารถเกิดขึ้นทุกเวลา

ฉนวนกาซ่า // ภาพ pixabay.com

หลายคนคงรู้จักฉนวนกาซ่ากันมาบ้าง เพราะเวลามีข่าวสงครามก็จะมีชื่อสถานที่นี้ปรากฎขึ้นตลอด และจากภาวะสงครามนี้เอง ทำให้ทุกเวลาของที่นั่นคืออันตราย ผ่านโอกาสที่จะมีคนมาทิ้งบอมบ์ข้างๆ บ้าน หรือไม่ก็พรมแดนประเทศถูกปิดไป 2 เดือน

ยิ่งถ้ามองมุมการทำธุรกิจที่นั่น โดยเฉพาะ Tech Startup ก็แทบจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่นั่นเปิดให้บริการแค่ 4 ชม./วัน แต่ชาวอิสราเอล บริเวณฉนวนกาซ่าก็ไม่ยอมแพ้ และกล้าที่จะเป็น Entrepreneur ตลอดเวลา

จนกระทั่งตอนนี้มี Gaza Sky Geeks (GSG) หรือ Startup Accelerator เกิดขึ้นมา โดยนอกจากให้เงินทุนแล้ว ยังมี Co-Working Space และมีเครื่องปั่นไฟสำรองให้ใช้ด้วย รวมถึงได้รับการให้ความรู้จากยักษ์ไอทีระดับโลกอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นอย่ารอช้า ลองมาฟังคำแนะนำจาก Startup ที่นั่นว่าต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะประสบความสำเร็จในโลกที่ทุกคนอยากเป็น Entrepreneur กัน

1.อย่าเครียด! เพราะไม่มีอะไรมีค่าเท่าการมีชีวิต

Said Hassan ผู้จัดการของ GAG และผู้ก่อตั้ง Zamrod แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ตอบโจทย์ชาวอาหรับ เล่าให้ฟังว่า แม่ของเขาได้เสียชีวิตไปด้วยปัญหาสุขภาพระหว่างสงครามในปี 2557 และสัปดาห์ต่อมา เขาก็ต้องไปอาศัยบ้านเพื่อนเพื่อดำรงชีวิต เพราะหมู่บ้านของเขาถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง แต่ด้วยความที่เขามุ่งมั่นในการทำ Startup ทำให้ร่วมมือกับเพื่อนเพื่อสร้างบริการนี้ขึ้นมาด้วย

“จริงๆ แล้วบริเวณฉนวนกาซ่าก็ปลอดภัย และทุกคนใช้ชีวิตกันอย่างปกติ แต่พวกเราก็รู้ว่าบางคนก็เสียชีวิตไปจากภัยสงคราม และเข้าใจว่ามันน่าเศร้าใจแค่ไหน ดังนั้นการเก็บงำความเศร้าเอาไว้ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เราจึงหาทางใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และสรรสร้างบริการใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค และภาคธุรกิจ เพื่อไม่ให้คิดถึงเรื่องภัยสงครามที่จะคร่าชีวิตผู้คนไปเมื่อไหร่ก็ได้”

Zumrod ระบบอีคอมเมิร์ซที่ตอบโจทย์ชาวซาอุฯ สังเกตจากสินค้าแบรนด์เนมที่จำหน่าย

2.เริ่มต้นเล็กๆ ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

Startup ที่ฉนวนกาซ่ารู้ดีว่าต้องเริ่มต้นทำอะไรซักอย่าง เพื่อให้คนภายนอกเรียนรู้ว่ามีพวกเขาอยู่ ดังนั้นการสร้างบริการเล็กๆ ออกมาจนมี Startup 4 รายที่นั่นได้เงินลงทุนก้อนแรกรายละ 20,000 ดอลลาร์ (ราว 7 แสนบาท) และเหตุการณ์นี้เองก็สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อยากทำธุรกิจ Startup ให้ลุกขึ้นมาสร้างบริการใหม่ๆ ดังนั้นจากแค่พื้นที่เล็กๆ อาจก้าวไปถึงระดับ Silicon Valley แบบสหรัฐอเมริกาก็เป็นได้

3.หาโอกาสในตลาดอื่นๆ ไม่ได้มองแค่ในประเทศ

อย่างที่รู้กัน ในประเทศที่เกิดสงครามอยู่ตลอด การสร้างบริการเพื่อตอบโจทย์ในประเทศอาจจะลำบาก แต่การสร้างบริการที่ออกไปชนกับ Startup ในสรัฐอเมริกาก็อาจจะมองว่ายากเกินไป ดังนั้นการเล็งเป้าหมายไปที่กลุ่มประเทศใกล้คียง หรือกลุ่มประเทศเฉพาะน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และตัวอย่างที่ดีคือการเข้าไปทำตลาดในประเทศซาอุดิอาราเบีย เพราะที่นั่นมีการใช้งาน Mobile Internet เติบโตอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญ พวกเข้ารวยมาก

โดยตอนนี้มี Baskalet บริษัทเกมที่สร้างเกมออกมาตอบโจทย์ชาวอาหรับ และทำให้มีผู้ใช้งานกว่าครึ่งล้านภายใน 3 สัปดาห์หลังจากที่ส่งเกมแรกออกไป โดย Mohammed al-Madhoun เจ้าของค่ายเกมนี้เล่าใหฟังว่า เกมส่วนใหญ่ตอบโจทย์วัฒนธรรมอเมริกัน แต่ก็มีคนจากวัฒนธรรมอื่นๆ อยากเล่นเกมที่ตรงกับวัฒนธรรมตนเองบ้าง ซึ่งเกมที่มีคาแร็คเตอร์ตามรูปแบบของชาวอาหรับ ก็น่าจะทำให้เป็นที่นิยมในประเทศกลุ่มนี้ได้ไม่ยาก

4.ทุกคนเป็น Entrepreneur ได้ ไม่ใช่แค่ผู้ชาย

ในโลกของ Startup น่าจะเจอผู้ชายกันมาเยอะ แต่ที่ฉนวนกาซ่านั้น ผู้หญิงให้ความสนใจในเรื่องนี้มาก เพราะเวลา GSG จัดกิจกรรมอะไร จะมีผู้หญิงเข้าร่วมถึง 50% และเวลาจัด Hackathon ก็มีผู้หญิงเข้าร่วม 83% เช่นกัน ดังนั้นการสนับสนุนให้ผู้หญิงมีพื้นที่ในโลก Startup ก็ช่วยขับเคลื่อนความเป็น Entrepreneur ในฉนวนกาซ่าเช่นเดียวกัน

สรุป

ทุกพื้นที่คือโอกาสทางธุรกิจ ของแค่มีจินตนาการในการมอง ก็จะเห็นอะไรที่มากกว่าคนอื่น ซึ่งกรณี Startup ในฉนวนกาซ่าก็เป็นอีกตัวอย่างที่ดี เพราะขนาดบริเวณที่เป็นภาวะสงคราม ไฟฟ้าบางช่วงก็ใช้ไม่ได้ ยังเดินหน้า Tech Startup ได้เลย และอย่าลืมย้อนมองตัวเราด้วย ว่าตอนนี้ทำอะไรไปบ้างแล้วใน 4 ข้อข้างต้น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา