คนอีสาน คนไปอีสาน คนที่ทำงานเกี่ยวกับภาคอีสานเตรียมเฮ! มอเตอร์เวย์พิเศษเส้นนี้สร้างใกล้เสร็จแล้ว ล่าสุดโชว์เคสความสำเร็จ สัญญาที่ 29, 30 และ 31 โครงการเสร็จเร็วกว่ากำหนด 9 เดือน!
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา หรือทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข M6 ถือเป็นโครงการสำคัญเร่งด่วน เนื่องจากถูกบรรจุให้อยู่ในแผนมาตรการเร่งรัดการลงทุน ตาม Action Plan ของกระทรวงคมนาคม
รวมถึงมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) ของกระทรวงการคลัง เพื่อเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
โครงการนี้ ปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีวิลเอนจิเนียริง จำกัด ระบุว่า โครงการนี้บริษัทฯ ได้รับงานก่อสร้างรวม 4 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 16 และสัญญาที่ 29, 30 และ 31 บริเวณเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อก่อสร้างทางยกระดับมอเตอร์เวย์ ขนาด 4 เลน
ปัจจุบัน บริษัทฯ ส่งมอบงานก่อสร้างในสัญญาที่ 29, 30 และ 31 ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี 3 เดือน จากสัญญาที่ระบุไว้ 3 ปี เร็วกว่ากำหนดถึง 9 เดือน
พื้นที่บางจุดนี้ ถือว่ามีความท้าทายทางงานวิศวกรรมโยธา เนื่องจากสภาพพื้นที่ก่อสร้างเป็นชั้นดิน แนวเส้นทางบางช่วงเป็นเหวลึกและพาดผ่านโรงไฟฟ้าพลังน้ำใต้ดิน
“การก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช เป็นอีกโครงการที่เราภาคภูมิใจในการเข้าร่วมพัฒนา แม้พื้นที่ดำเนินการก่อสร้างภายใต้ความรับผิดชอบของเราเป็นจุดที่ยากที่สุดของโครงการนี้”
“แต่ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเราก็ทำสำเร็จด้วยการส่งมอบงานได้เร็วกว่ากำหนด เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นเส้นทางเดินทางไปสู่ภาคอีสานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น”
ปิยะดิษฐ์ เผย ปัจจุบัน บริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินงานมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท เช่น
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร สัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร
- โครงการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิก และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร
การก่อสร้างงานโยธาที่แบ่งออกเป็น 40 สัญญา ( โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ภาคเอกชนร่วมทุนและบริหารจัดการในรูปแบบ PPP Gross Cost คือเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานและระบบและจัดเก็บรายได้ทั้งหมดส่งมอบให้แก่ภาครัฐ
ภาคเอกชนจะได้รับค่าจ้างตอบแทนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา พร้อมทั้งจ่ายคืนค่าก่อสร้างงานระบบตามกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด แนวเส้นทางโครงการหลวงพิเศษระหว่างบางปะอิน-นครราชสีมา มีระยะทางรวม 196 กิโลเมตร
โครงการนี้ถ้าทำสำเร็จจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเส้นทางภาคอีสานได้
ปิยะดิษฐ์กล่าวถึง สัญญาที่ 29, 30 และ 31 ว่า
- สัญญาที่ 29 มีบริหารการจราจร ทำงานควบคู่กับรถสัญจรไปมา ทางรถแคบมาก ต้องขยายทั้งสองข้าง ข้างละ 1 เลน หัวใจหลักคือผู้สัญจรเดินทางได้ เราก็ทำงานได้ด้วย โครงสร้างเป็นลักษณะแขนวาย มีผิวทางจราจรด้านบนไปกลับ สองด้าน ด้านละ สองเลน
- สัญญาที่ 30 เรื่องของจราจร ไฮไลท์คือเป็นทางยกระดับอยู่บนภูเขา (แขนวาย+สองเลนแบบ 29)
- สัญญาที่ 31 ยากเพราะทำเป็นงานเขาเหมือนกัน ตัว Launcher ทำในไทย โดยคนไทยทั้งหมด
สำหรับรายได้บริษัทนั้น เติบโต 3-4,000 ล้านบาท บริษัทเน้นงานด้านก่อสร้าง สนามบิน งานเขื่อน งานถนน และงานรถไฟ ปี 2562 รายได้ 3,500 ล้านบาท เงินดรอปจาก 2561 10% เนื่องจากปี 2561 ขายวัสดุให้กับข้างเคียง แต่ปี 62 ไม่ได้ขายวัสดุ
สำหรับทิศทางในการทำงานนั้น พบว่า ปัจจุบัน มีการทำงานที่ค่อนข้างดุเดือด เนื่องจากมีการแข่งขันกันด้านราคามากขึ้น ปิยดิษฐ์ แนะว่า ถ้ารัฐบาลส่งเสริมให้มีการร่วมทุนแบบไม่ต้องควักกระเป๋าตัวเอง ถ้ามีการลงทุนต่อเนื่องไม่มีปัญหาเรื่องเพดานหนี้ การก่อสร้างจะเติบโตแน่นอน ดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาหลังจากที่มีการลงทุน infrastructure เข้ามา เช่น EEC เป็นต้น
Disruption ในตลาดก่อสร้าง เรื่อง player ก็สำคัญ
การหาผู้รับเหมาและ supplier ที่จะมาช่วยรับงานได้มากขึ้น รวมถึงคนที่ต้องเทรนมากขึ้น ต้องบอกทีม กระตุ้นให้ทีมมีการทำงานที่มีประสิทธิมากจริงๆ และเทคโนโลยีด้วย ใครประหยัดต้นทุนได้ยิ่งถูกยิ่งชนะ ใช้การทำงานที่ฉลาดมากขึ้น การตรวจสอบเงิน เวลา ดูแลใกล้ชิดมากขึ้น
การก่อสร้างคนเดียวไม่สามารถทำได้ เวลาเขาจ้าง เขาจ้างรายขนาดกลาง และจ้างต่อ เราอาจจะจ้างทอดเดียว อาจจะต้องซื้อของ เจรจาเอง ไปถึงแหล่งเอง อยู่ที่ว่าเราจะคุยกับพาร์ทเนอร์ยังไงให้เกิดความเชื่อมั่น หุ้นส่วนสำคัญ
รายได้ CIVIL Engineering มาจาก งานก่อสร้าง (core business) ขายวัสดุ อสังหา ซึ่งโมเดลอื่นๆ ก็จะนำเทคโนโลยีเข้ามา และจะไม่จำกัดแค่งานรัฐบาลเท่านั้น มีเอกชนด้วย รัฐบาลควรจะช่วยให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมคนมีศักยภาพ คนทำดี
คนทำดีใแง่นี้ หมายถึง คนที่คุมงบประมาณได้, zero accident หรือไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดน้อยที่สุด ส่งงานก่อนเวลา ไม่ใช่เน้นการประมูลต่ำลงเท่านั้น อยากให้พิจารณาที่คุณภาพด้วย
ในประเด็นเรื่องฝุ่นจากมลพิษ PM 2.5 นั้น ปิยะดิษฐ์กล่าวว่า ฝุ่นก่อสร้างนั้นเป็น PM 10 ทุกคนต้องช่วยกัน ถ้าอุตสากรรมเห็นควรว่าจะให้ทำอะไรเพิ่มเติม ก็พร้อมจะลงมือทำทุกทางเพื่อช่วยแก้ปัญหา
ที่มา – CIVIL Engineering, WeKorat, กรมทางหลวง
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา