แบงก์ชาติแถลง ไม่ยกเลิก LTV ปรับเกณฑ์บ้านหลังแรกต่ำกว่า 10 ล้านบาท กู้เพิ่มได้อีก 10%

ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทยปี 2562 (Financial Stability Report 2019) มี 4 ประเด็นเสี่ยงที่ยังน่ากังวล หนี้ครัวเรือน, พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นหรือ search for yield ที่อาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงที่ต่ำกว่าที่ควร หรือ underpricing risks, ความเชื่อมโยงในระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มากขึ้น และการปรับตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์หลังมาตรการ LTV และภาวะอุปทานคงค้าง

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

หนี้ครัวเรือน

ยังมีสถานการณ์น่ากังวลเมื่อเทียบกับ GDP สูงขึ้นแตะ 80% จากประมาณการ์ณปีนี้จะไม่ลดลงทั้งปัจจัยในด้าน GDP และหนี้ที่ยังขยายตัวอยู่ ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค หนี้โตในทุกหมวด มีทั้งอุปโภคบริโภค การใช้บัตรเครดิตส่วนบุคคล รวมถึงสถาบันการเงินที่เป็นทั้งธนาคารพาณิชย์และ Non-bank

หนี้ครัวเรือนขยายตัวจากสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคทุกประเภท ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ มีทั้งอุปทานที่เกิดจากการขยายตัวของสินเชื่อรายย่อยที่สถาบันมีการแข่งขันกันมากขึ้น รวมถึงอุปสงค์คือการใช้จ่ายเกินตัวในบางกลุ่ม จากข้อมูลในระดับครัวเรือนพบว่า มีความน่ากังวลเพิ่มสูงขึ้น

หนี้ส่วนใหญ่มาจากการบริโภค เป็นหนี้ระยะสั้น มีภาระในการผ่อนดอกเบี้ยค่อนข้างสูง กลุ่มที่มีความเปราะบางคือกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง กลุ่มที่มีเงินออมค่อนข้างน้อย กลุ่มครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรอาจจะได้รับผลกระทบจากรายได้ รวมถึงผู้ที่เกษียณอายุแล้วหรือใกล้เกษียณแล้วแต่มีเงินออมที่ไม่เพียงพอ สัดส่วนหนี้ระยะสั้นที่สูง ส่งผลให้ครัวเรือนมีภาระผ่อนต่อเดือนสูงถึง 42% ของการผ่อนชำระหนี้เพื่อการบริโภค

หากครัวเรือนเผชิญปัจจัยลบในอนาคต เช่น ถ้ารายได้ลดลง 20% จะทำให้มีรายจ่ายไม่พอกับรายจ่ายในการดำรงชีพ จะเพิ่มโอกาสสการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น มีรายรับไม่พอกับรายจ่าย เมื่อเทียหนี้ครัวเรือนทั้งหมดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 47% แต่กลุ่มเปราะบางอยู่ที่ 72% กลุ่มนี้จะต้องให้ความสำคัญ

สัดส่วนภาระหนี้ของครัวเรือน ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

การแก้ไขต้องแก้ตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น ให้ความรู้ประชาชน สร้างวินัยเรื่องการออม ไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว การก่อหนี้ต้องเน้นให้เหมาะสม แบงก์ชาติพยายามดูแลไม่ให้กระตุ้นให้ก่อหนี้จนเกินตัวให้ประชาชนติดกับดักหนี้ และสร้างมาตรฐานในการคำนวณสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ หรือ DSR ทางแบงก์ชาติขอให้แบงก์รายงานข้อมูล ขณะนี้กำลังประมวลผล เพื่อที่จะทราบว่ากลุ่มไหนมีความเปราะบาง

เมื่อมีหนี้แล้ว ถ้าเป็นหนี้เสีย เราพยายามผลักดันการดูแลหนี้ที่มีอยู่เดิม เช่น คลินิกแก้หนี้และการทำรีไฟแนนซ์เพื่อให้ลูกหนี้มีภาระในการจ่ายลดลง ในภาพของนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องหลีกเลี่ยงการกระตุ้นหนี้เพิ่มในกลุ่มที่มีความเปราะบาง และต้องทำต่อเนื่อง

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

สหกรณ์ออมทรัพย์

เราจะเห็นในวงกว้าง เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีเงินไหลเข้ามาเพราะมีการจ่ายเงินปันผลสูง แชร์ลูกโซ่ ซึ่งเราจะเน้นตลาดตราสารหนี้มีการออกตราสารที่มีผลตอบแทนสูง คือตราสารที่ต่ำกว่าระดับการลงทุน ระดับต่ำกว่า BB+ ขึ้นไป และไม่มีการจัดอันดับน่าเชื่อถือ

ปีที่แล้วยอดคงค้างเพิ่มขึ้น 18% สิ่งที่เรากังวลคือนักลงทุนรายย่อยอาจจะได้รับข้อมูลความเสี่ยงไม่ครบถ้วน ซึ่งคนที่ถือตราสารกลุ่มเสี่ยงนี้มีประมาณ 60% ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่

พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูงขึ้น search for yield

จะเห็นว่ามีการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนรวม term fund กระจุกตัวสูงในบางประเทศ เช่น จีน 42% กาตาร์ 39% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 12% รวมกันราว 93% สิ่งที่เป็นกังวลคือ หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นในแง่ของ country risks อาจจะทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจและเทขายสินทรัพย์ออกมาได้

ขณะนี้ทาง ก.ล.ต. ได้ดำเนินมาตการยกระดับหลักเกณฑ์ให้มีการออก เสนอขาย และการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ แก่ผู้ลงุทนให้เพียงพอและเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และให้มีการกำกับดูแล term fund เพื่อให้มีการกระจายการลงทุนมากขึ้นและเปิดเผยข้อมูลที่ครอบคลุมขึ้นแก่ผู้ลงทุน

ประเด็นที่ติดตามเพิ่มขึ้น คือความเสี่ยงจากการะกระจุกตัวในตราสารหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่

ประเด็นที่ทางแบงก์ชาติติดตามต่อเนื่องคือ สหกรณ์ออมทรัพย์มีการโตขึ้นของสินทรัพย์ต่อเนื่องแม้ว่าอัตราการโตจะชะลอตัวลงแต่ก็ขยายตัวสูงอยู่ สิ่งที่น่ากังวลคือสหกรณ์มีความเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินน้อยลงแต่เชื่อมโยงกับระบบเดียวกันมากขึ้น คือมีการกู้ยืมกันเองระหว่างสหกรณ์สูงขึ้น

ถ้ามีกลุ่มที่ขาดสภาพคล่องภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนี้อาจส่งผ่านความเสี่ยงในระบบสหกรณ์มากขึ้น หน่วยงานกำกับควรเร่งผลักดันเกณฑ์ 3 ด้าน คือด้านสภาพคล่อง ด้านเครดิต การก่อหนี้สมาชิกของสหกรณ์ ด้านธรรมาภิบาล

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

มาตรการ LTV

ที่ออกไปในเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา พบว่ามีดีมานด์เทียม มีการเก็งกำไรเพิ่มขึ้นมาก มีการเร่งการลงทุนและเร่งเปิดโครงการใหม่ๆ สูงมาก ทำให้เริ่มเห็นอุปทานคงค้างที่สูงมาก แบงก์ชาติปรับปรุงมาตรการ LTV เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีบ้านของตัวเอง ดังนี้

1.ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นเจ้าของบ้านหลังแรกได้ง่ายขึ้น ช่ยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการเข้าอยู่อาศัย ในการกู้ซื้อบ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท เพดาน LTV 100% สำหรับสินเชื่อบ้าน แต่ผู้กู้สามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าหลักประกันสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการเข้าอยู่อาศัยจริง เช่น การตกแต่งบ้าน การซ่อมแซมหรือต่อเติม

หนี้ส่วนนี้เมื่อกลายเป็นหนี้ที่มีบ้านเป็นหลักประกันจะมีดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้แบบไม่มีหลักประกัน และยังกำหนดให้วางดาวน์น้อยลงจาก 20% เป็น 10% สำหรับกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

2.ดูแลผู้ที่จำเป็นต้องมีบ้าน 2 หลังที่มีวินัยในการผ่อนชำระหนี้สัญญาที่ 1 มาแล้วพอสมควร ให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ขณะที่ยังคงส่งเสริมให้มีการออมก่อนกู้ โดยผ่อนเกณฑ์ให้กู้ซื้อบ้านสัญญาที่ 2 ที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ต้องมีเงินดาวน์ 10% หากผ่อนชำระสัญญาที่ 1 มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี (จากเดิมกำหนด 3 ปี)

อย่างไรก็ดี แบงก์ชาติมองว่ายังไม่เหมาะสมที่จะยกเลิกเพดาน LTV สำหรับการกู้ซื้อบ้านสัญญาที่ 2 เพราะพบข้อมูลว่า มากกว่าครึ่งของผู้กู้ที่ซื้ออาคารชุด 2 หลังพร้อมกันมีระยะห่างระหว่างการกู้สัญญาที่ 1 และ 2 ไม่ถึง 1 ปี สะท้อนว่ากู้เพื่อเก็งกำไรมากกว่าเพื่ออยู่อาศัยจริง

แบงก์ชาติจึงปรับหลักเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงสำหรับกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และการกู้สร้างบ้านบนที่ดินปลอดภาระ เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้กลุ่มดังกล่าวมากขึ้น การปรับครั้งนี้จะมีผลตั้งแต่ 20 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ปรับปรุงเกณฑ์ LTV ภาพจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย (1), (2), (3)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา