ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ระบุ “ศูนย์วิจัยฯ ได้ทำการสำรวจการใช้จ่ายของประชาชนฐานรากในช่วงเทศกาลปีใหม่ กลุ่มตัวอย่างประชาชนรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท ทั่วประเทศจำนวน 2,186 ตัวอย่าง”
“พบว่า ภาพรวมการใช้จ่ายของประชาชนฐานรากในช่วงปีใหม่ คาดว่าจะมีการจับจ่ายใช้สอยประมาณ 49,900 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 6.7%” ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 3,550 บาท ลดลงจากปีก่อนเช่นกัน”
สำหรับแหล่งที่มาของเงินที่นำมาใช้จ่ายช่วงปีใหม่ เมื่อเทียบกับปีก่อนพบว่า ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 นำเงินจากรายได้มาใช้ในช่วงปีใหม่เพิ่มขึ้น ดังนี้
- 85.5% รายได้
- 10.3% เงินออม
- 3.4% เงินช่วยเหลือของรัฐ
- 0.8% เงินกู้ในระบบและนอกระบบ
กิจกรรมและการจับจ่ายใช้สอยเฉลี่ยต่อคนในช่วงเทศกาลปีใหม่ เมื่อเทียบกับปีก่อน พบว่าให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว เช่นให้เงินคนในครอบครัว กลับภูมิลำหรือเยี่ยมญาติ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ดังนี้
- 55.4% ให้เงินในครอบครัว ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,985 บาท
- 49.7% สังสรรค์ เลี้ยงฉลอง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,150 บาท
- 44.7% ทำบุญ ไหว้พระ สวดมนต์ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 400 บาท
ของขวัญที่นิยมซื้อช่วงปีใหม่ 3 อันดับแรก
- 66.1% อาหาร ผัก ผลไม้ ขนม
- 51.8% เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
- 29.2% เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
สถานที่ซื้อของขวัญที่นิยม ดังนี้
- 31.2% ห้างสรรสินค้า
- 31.1% ร้านค้าปลีกสมัยใหม่
- 26.8% ตลาดหรือร้านค้าทั่วไป
บุคคลที่ต้องให้ของขวัญ ดังนี้
- 84.8% บุคคลในครอบครัว
- 37.3% ผู้ใหญ่ที่เคารพ
- 33.4% ตนเอง
เป้าหมายที่จะทำในปีใหม่ พบว่าในภาพรวมให้ความสำคัญด้านการเงินมาก ทั้งเรื่องการออม ลดรายจ่าย หารายได้เพิ่ม และใช้หนี้
- 65.5% ออมเงิน
- 49.1% ลดรายจ่าย
- 27.0% ดูแลสุขภาพ
สิ่งที่ประชาชนฐานรากต้องการจากรัฐบาลเป็นของขวัญปีใหม่ 2563 ก็เป็นความคาดหวังใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ดังนี้
- 55.1% ลดค่าครองชีพ
- 54.2% ลดราคาค่าเชื้อเพลิง
- 24.7% แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
นอกจากนี้ เรื่องการใช้สิทธิชิมช้อปใช้นั้น ประชาชนฐานรากรับรู้ว่ามีมาตรการนี้อยู่ที่ 93.5% และได้รับสิทธิอยู่ที่ 37.9% และนิยมใช้สิทธิการให้เงินสดเฟส 1 และ 2
ที่มา – ทำเนียบรัฐบาล
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา