Startup เป็นธุรกิจเกิดใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาแก้ปัญหาหรือทำลายข้อจำกัดเดิมๆ ในอดีต ช่วงก่อนหน้านี้ถือเป็นช่วงเบ่งบานของ Startup ทั่วโลก แต่มาช่วงปีนี้ที่ดูเหมือน Startup จะเริ่มเงียบลงไป โดยเฉพาะในไทย ที่หลังจากกลุ่มแรกระดมทุนกันไปได้พอสมควรแล้ว กลับไม่มี Startup กลุ่มใหม่เกิดขึ้น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดทางกฎหมายและขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล มีแต่การจัดงานที่สุดท้ายแล้วไม่ได้ทำลายอุปสรรคเดิมๆ
พณชิต กิตติปัญญางาม CEO/Co-Founder ของ ZTRUS และนายกสมาคมสตาร์ทอัพไทย บอกว่า ประเด็นสำคัญคือ ต้องการสร้างการใช้งานให้เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ตอนนี้รัฐบาลใช้เงินไม่ถูกที่ ต่อให้สตาร์ทอัพสร้างนวัตกรรมมากแค่ไหน ถ้าไม่มีคนใช้งาน ธุรกิจก็ไม่เกิดขึ้น การลงทุนก็ไม่ตามมา ดังนั้น ต้องกระตุ้นให้คนไทยใช้งานสตาร์ทอัพไทย ไม่ใช่สตาร์ทอัพต่างประเทศ
“ธุรกิจที่เห็นได้ชัดในเวลานี้ เช่น ธุรกิจเดลิเวอรี่ ไม่มีของไทยเลย ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็ไม่มีของคนไทยเช่นกัน เทียบกับมาเลเซีย หรือ อินโดนีเซีย จะมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นคอยปกป้องตลาดอยู่ แต่ของไทยใช้บริการสตาร์ทอัพต่างประเทศล้วน เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องตระหนัก”
ทำให้สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ หรือ Thailand Tech Startup Association หรือสมาคมสตาร์ทอัพไทย ได้จัดทำข้อเสนอนโยบายการสนับสสุนและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย โดยระบุว่า นโยบายจากรัฐบาลในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้สตาร์ทอัพไทย ไม่สามารถแข่งขันกับนานาชาติภายในประเทศของตนเองได้ โดยแพลตฟอร์มและการบริการรายใหญ่ในประเทศไทยเป็นบริการจากต่างชาติ ส่งผลให้ทรัพยากรในประเทศรั่วไหลเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงข้อมูล (Data) ของคนไทย ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่งต่อภาครัฐและเอกชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ทางสมาคมฯ จึงได้หารือร่วมกับสตาร์ทอัพไทย และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย เพื่อป้องกันเอกราชทางดิจิทัลของไทยเป็นการด่วน ซึ่งข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอเดิมตั้งแต่ปี 2013 แล้ว แต่จนปัจจุบัน ก็ยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุง
-
นโยบายกระตุ้นการใช้บริการสตาร์ทอัพไทย (Revenue Boost)
สืบเนื่องจากค่านิยมของคนไทย ที่นิยมบริโภคของต่างชาติหรือแบรนด์ระดับโลก ทำให้การประกอบกิจการในประเทศไทย โดยคนไทย เป็นไปได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามแบรนด์ต่างชาติทั้งหลาย ได้เริ่มต้นจากการได้รับการสนับสนุนในการประกอบกิจการในประเทศจนสำเร็จ แล้วจึงกลายเป็นแบรนด์ระดับโลกทั้งสิ้น ทางสมาคมฯ จึงมีข้อเสนอแนะให้เกิดการรณรงค์ให้เกิดนโยบาย “กินของไทย ใช้ของไทย” สำหรับสตาร์ทอัพ ดังนี้
ชิม ช้อป ใช้ สตาร์ทอัพ
กระตุ้นให้เกิดการใช้การบริการของสตาร์ทอัพไทย โดยมีนโยบายการประชาสัมพันธ์ที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนและประชาชนสามารถขอ discount คืนในรูปแบบของเงินผ่านกระบวนการ ชิม ช้อป ใช้ หรือใกล้เคียงได้
1 กระทรวง 1 สตาร์ทอัพ
-
- สนับสนุนให้ทุกกระทรวง มีนโยบายในการสนับสนุน Startup ไทย อย่างน้อยกระทรวงละ 1 โครงการ หรืออาจเป็นนโยบาย “หนึ่งหน่วยงาน หนึ่งสตาร์ทอัพ” โดยทางสมาคมฯ มี Catalogue ที่สามารถทำการแนะนำ สตาร์ทอัพไทย ที่น่าจะเหมาะกับหน่วยงานให้ได้เบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์อาจเป็นเชิง
- ใช้บริการ สตาร์ทอัพ
-
- พัฒนา Product/Service ร่วมกันเพื่อประชาชน
- Investment Deal
-
โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเทคโนโลยี ลดความเสี่ยง และกระตุ้นรายได้ให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ในประเทศไทย
Matching สตาร์ทอัพไทย กับ บริษัทเอกชน
เอกชนควรมีส่วนร่วมในการสนันสนุนการเจริญเติบโตของสตาร์ทอัพ และนวัตกรรมในประเทศไทย โดยรัฐบาลมีส่วนช่วยในการ Force Deal ให้เกิดขึ้นในรูปแบบใดก็ได้ เช่น Revenue หรือ Investment ผ่านนโยบายต่างๆ โดยอาจเป็นรูปแบบของ Facilitator ที่ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม Business Matching ให้ และอาจมีแรงจูงใจ (Incentive) ให้แก่ผู้เข้าร่วม
Open API
-
-
- การเปิด Open API Platform เพื่อให้สตาร์ทอัพไทย สามารถใช้ Infrastructure นี้ ในการดำเนินธุรกิจ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาและเสียต้นทุนในการใช้ gateway platform อื่นๆ
- ทำให้เงิน Flow ผ่าน Digital มากที่สุดเพราะ Digital Economy เป็นระบบเศรษฐกิจที่เร็วและตรวจสอบได้ โดยทางรัฐบาลจะได้ข้อมูลสำหรับการพัฒนานโยบายต่อไปอีกด้วย
- NDID ไม่ควรคิดค่าใช้จ่ายกับผู้ใช้ เพื่อให้ภาครัฐสามารถ Acquire ผู้ใช้งานได้เร็วและมากที่สุดโดยที่สามารถตรวจสอบได้ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปสู่ Digital Economy ได้เร็วขึ้น
-
Startup SandBox
Innovation มักมาไม่พร้อมกับกฎหมาย และการอนุญาต Startup SandBox จะเน้นให้เกิดพื้นที่การทดลองนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นจริง เพื่อให้สตาร์ทอัพไทยสามารถทดลอง และพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีให้ทัดเทียมกับต่างชาติได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลกับข้อกฏหมาย (ค่อยๆ ทำการพัฒนากฏหมายตามมา)
Startup Matching Fund
รัฐสามารถกระตุ้นการลงทุน โดยสนับสนุนให้เกิด Matching Fund เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนจากนักลงทุนมืออาชีพ โดยไม่ต้องลงทุนเองโดยตรง อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นอุตสาหกรรมเฉพาะได้เป็นพิเศษ โดยจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยเฉพาะได้ เช่น กระตุ้น EdTech Startup ในอัตราการลงทุนแบบ Matching Fund 2:1 เป็นต้น
-
นโยบายเพิ่มข้อได้เปรียบในการทำการค้าสำหรับสตาร์ทอัพไทย (TAX)
- กฎหมายภาษีที่เรียกเก็บภาษีจาก Service ต่างประเทศ และลดภาษีของ Startup Service ในประเทศเพื่อป้องกันตลาด ตัวอย่าง: เก็บภาษี กับ Platform ต่างประเทศเช่น Alibaba และลดภาษีให้กับ Startup ไทยในเรื่องของ VAT (อาจดำเนินการผ่าน BOI) ถ้าไม่สามารถเก็บจาก platform ต่างประเทศได้ ก็ต้องงดเว้น Platform ของไทยเพื่อให้อัตราการแข่งขันเท่ากัน
- ลดภาษีสำหรับสตาร์ทอัพ ที่ดึงรายได้เข้าประเทศจากต่างประเทศได้ เพิ่มมาตรการสนับสนุนสตาร์ทอัพ ในการเปิดตลาดต่างประเทศเช่นการทำ Service ในการจด Trademark ในประเทศอื่นๆ ให้ หรือ กองทุนให้กู้ยืมในการไปจดทะเบียนในต่างประเทศ (บางประเทศ จะต้องมีเงินทุนเพื่อการเปิดบริษัทในกรณีที่เป็น บริษัทต่างชาติ)
-
นโยบายปลดล็อคทางกฏหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการสตาร์ทอัพ
สนับสนุนให้เกิดการนำข้อเสนอทางกฎหมายดังที่ได้เคยเสนอไปก่อนหน้านี้ ไปใช้จริง เช่น ESOP, Convertible Note, Capital Gain Tax Exemption และ Vesting
ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพไทยจำนวนไม่น้อย ต้องย้ายไปจดทะเบียนบริษัทที่ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ เพราะจะทำธุรกิจให้อยู่รอดก็ต้องเลือกทางที่ดีที่สุด ถ้ามีนักลงทุนสนใจก็จะชักชวนให้ไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์ ซึ่งมีโอกาสการลงทุน การสนับสนุนจากรัฐ และได้ราคาที่ดีกว่า ดังนั้นหากรัฐบาลไทยสามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยน กฎระเบียบและการสนับสนุนให้ดีขึ้น สตาร์ทอัพไทย จะได้ไม่ต้องย้ายไปต่างประเทศ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา