ภาวะการค้าระหว่างประเทศไทยเดือนตุลาคม 2562 ส่งออกมูลค่า 20,757.78 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.54% (YoY) นำเข้ามูลค่า 20,251.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.57% ประเทศไทยเกินดุล 506.51 ล้านเหรียญสหรัฐ
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนตุลาคม 2562 และช่วงมกราคม – ตุลาคม 2562
การส่งออก
ในเดือนตุลาคม ส่งออกมูลค่า 6.28 แสนล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ 10.45% เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ผ่านมา 0.37% มูลค่า 20,757.78 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนตุลาคม 2561 ที่ 4.54% เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ผ่านมา 1.35%
ในช่วงมกราคม – ตุลาคม 2562 ส่งออกมูลค่า 6.46 ล้านล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ 4.79% เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกมูลค่า 2.07 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.35%
การนำเข้า
ในเดือนตุลาคม นำเข้ามูลค่า 6.21 แสนล้านบาท ลดลงจากตุลาคม 2561 อยู่ที่ 13.22% แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ผ่านมาร้อยละ 4.41% เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 20,251.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ 7.57% แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ผ่านมา 5.44%
ในเดือนมกราคม – ตุลาคม 2562 นำเข้ามูลค่า 6.30 ล้านล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ 6.39% เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐ นำเข้า 1.99 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.09%
ดุลการค้า
ในเดือนตุลาคม 2562 ไทยเกินดุลการค้ามูล่า 6.58 พันล้านบาท เปลี่ยนจากเดือนตุลาคม 2561 ที่ขาดดุลการค้ามูลค่า 1.48 หมื่นล้านบาท เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐ ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 506.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เปลี่ยนจากเดือนตุลาคม 2561 ที่ขาดดุลการค้า 165.38 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในช่วงมกราคม – ตุลาคม 2562 ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 1.54 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่เกินดุลการค้ามูลค่า 4.92 หมื่นล้านบาท เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐ ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 7.88 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ 79.67%
ทั้งนี้ พาณิชย์เผย มีการสั่งการให้ปรับการทำงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยในส่วนของพาณิชย์เร่งรัดการทำงาน 4 ด้าน ดังนี้
- เร่งรดตัวเลขส่งออกให้ขยายตัวให้มากที่สุด
- เร่งรัดควบคุมดูแลค่าครองชีพ ทั้งสินค้า-บริการ
- เร่งรัดกระจายเม็ดเงินสู่ เศรษฐกิจฐานราก คาด 1 ธันวาคมนี้ จะเริ่มจ่ายเงินประกันรายได้มันฯ
- เร่งรัดเจรจากเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เร่งสรุป FTA ไทย-ตุรกี และไทย-อียู รวมถึงกรอบคงค้างให้ได้ข้อสรุปในปี 2563
ที่มา – กระทรวงพาณิชย์ (1), (2), (3), (4)
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา