โดนัลด์ ทรัมป์สั่งตัด GSP สินค้าไทยเกือบ 600 รายการ เฉียด 4 หมื่นล้านบาท

ทรัมป์สั่งตัด GSP ไทย เกือบ 4 หมื่นล้านบาท เกือบ 600 รายการ เพราะดูแลสิทธิแรงงานไม่ได้มาตรฐานโลก

รายงานจากบลูมเบิร์ก​ระบุว่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ สั่งระงับ GSP ไทย มูลค่า 3.92 หมื่นล้านบาท (1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ​เนื่องจาก ไทยล้มเหลวในการจัดการสิทธิแรงงานไม่ได้ตามมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคุ้มครองเสรีภาพในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง การระงับสิทธิดังกล่าวจะมีผลวันที่ 25 เมษายน 2563 นี้

GSP คือ ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ Generalized System of Preference เป็นระบบที่ประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีขาเข้าสินค้าที่ผลิตและส่งออกมาจากประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยให้สามารถส่งสินค้าไปยังตลาดประเทศอุตสาหกรรมได้มากขึ้น

โดนัลด์ ทรัมป์สั่งตัด GSP เกือบ 600 รายการ

ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ระบุว่าสหรัฐฯ ถือเป็นตลาดสำคัญของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไทยยังมีสัดส่วนการตลาดที่ค่อนข้างน้อย

ผลิตภัณฑ์​ที่เป็นอาหารทะเลไทยมีสิทธิที่จะถูกเพิกถอน GSP เนื่องจากสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมทางเรือและอาหารทะเลนี้ถูกหยิบมาพูดถึงเนิ่นนานมากแล้ว

ในรายงานระบุว่า พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาตร์การค้า (สนค.) กล่าว “เราขอเวลาประเมินผลกระทบหน่อย เราเพิ่งได้ลิสต์สินค้ามานี่เอง”

ท่าทีสหรัฐฯ ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ไทยเริ่มมีท่าทีต่อต้านการทารุณกรรมในอุตสาหกรรมประมงของไทย โดยอียู (สหภาพยุโรป)​ ก็ยกเลิกคำขู่ที่ว่าจะแบนอาหารทะเลไทยแล้ว

ปี 2017 การค้าสินค้าและบริการไทย-สหรัฐฯ มีมูลค่า 4.89 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกอยู่ที่ 1.39 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้า 3.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าไทยอยู่ที่ 2.11 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปี 2018 ไทยเป็นคู่ค้ากับสหรัฐฯ อันดับที่ 20 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 4.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกสินค้ารวม 1.26 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้ามูลค่า 3.19 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าไทยอยู่ที่ 1.93 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

อเมริกาตัดสิทธิ GSP ไทยกว่า 600 รายการ เกือบ 40,000 ล้านบาท (คลิกดูรายละเอียดสินค้าที่ถูกตัด GSP)

เปิดดูรายละเอียดสินค้าที่ถูกตัด GSP มูลค่าเกือบ 4 หมื่นล้านบาท เกือบ 600 รายการ มีผล 25 เมษายน 2563 นี้

การค้าบริการกับไทย (การนำเข้าและส่งออก) ในปี 2017 มูลค่ารวมประมาณ 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภาคส่งออกบริการอยู่ที่ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าบริการไทยอยู่ที่ 962 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปี 2018 ไทยเป็นตลาดส่งออกของสหรัฐฯ อันดับที่ 26 สินค้าที่สหรัฐฯ ส่งออกไทยมูลค่ารวม 1.26 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากปี 2017 ราว 14.5% เพิ่มขึ้นจากปี 2008 ในอัตรา 38.8%

อยากรู้ว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ดูตัวเลขที่ระบุระบบพิกัดอัตรากรเทียบกันกับพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร ฉบับ 6- 2559

Products to be removed from GSP eligibility for Thailand, effective April 25, 2020

v.s.

พระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร ฉบับ 6- 2559

*หมายเหตุ*

ระบบพิกัดอัตรากร (Harmonized System: HS) หรือพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized Sywtem) หรือ HS เป็นระบบการจำแนกประเภท และระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก ซึ่งประกาศใช้โดยคณะมนตรีพิกัดฯ ขององค์การศุลกากรโลก (World Customs Orgnization: WGO) ได้รับการยอมรับโดยรัฐภาคีขององค์การการค้าโลก (WTO)

การจำแนกพิกัดฯ ศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ได้จำแนกประเภทสิ่งของต่างๆ ออกเป็น 21 หมวด 99 ตอน กว่า 5,300 ประเภทพิกัด 

วิธีการอ่านพิกัดศุลกรกรระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก

XXXX.XX (ตัวเลข 6 หลัก หมายความว่าอะไร)

  • 2 หน่วยแรก หมายถึง ตอน (Chapter) เลขรหัสของสินค้า (มีอยู่ 99 ตอน)
  • 2 หน่วยถัดมา หมายถึง หมวดของสินค้า (มีอยู่ 21 หมวด)
  • 2 หน่วยถัดมา หมายถึง ตัวเลขที่ระบุสินค้าประเภทย่อย จำเพาะเจาะจงมากขึ้น

ระดับขีดในช่องรายการ

  • ไม่มีขีด รายการสินค้าตามประเภทเลขรหัส 4 หลัก
  • ระดับ 1 ขีด (-) ความหมายของข้อความอยู่ภายใต้ขอบเขตของข้อความในประเภทระดับเหนือขึ้นไป
  • ระดับ 2 ขีด (- -) ความหมายของข้อความอยู่ภายใต้ขอบเขตของข้อความในประเภทย่อยระดับ 1 ขีด ( – )
  • ระดับ 3 ขีด ( – – – ) ความหมายของข้อความอยู่ภายใต้ขอบเขตของข้อความในประเภทย่อยระดับ 2 ขีด ( – – )
  • ระดับถัดลงไป ความหมายของข้อความอยู่ภายใต้ขอบเขตของข้อความในประเภทย่อยระดับเหนือขึ้นไป

พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก คือ HS ถ้าเป็นพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ตัวย่อคือ AHTN

ที่มา -​ Straitstimes, Office of the United States Trade Representative (1), (2), (3), ระบบพิกัดอัตราอากร , ระบบพิกัดศุลกากร, Harmonized Commodity Description and Coding Systems (HS), พระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร ฉบับ 6- 2559 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์