สาวๆ ที่ชื่นชอบทำอาหารคงไม่ปฏิเสธว่าไม่รู้จัก “กะทิชาวเกาะ” 30 ปีแล้วที่อยู่คู่ครัวไทย ภายใต้บริษัท “อำพลฟูดส์” ได้เริ่มทรานส์ฟอร์เมชั่นธุรกิจนับตั้งแต่ปี 2561 รับมือกับการดิสรัปชั่นธุรกิจอาหาร พร้อมโดดสู่ดิสทริบิวเตอร์สร้างรายได้เพิ่ม
เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกะทิชาวเกาะ เล่าว่า เมื่อปี 2561 เริ่มทรานส์ฟอร์เมชั่นองค์กร จากการที่เป็นองค์กรอยู่ในตลาดมานาน 30 ปี เพื่อทำให้แบรนด์เข้าถึงแม่บ้านรุ่นใหม่มากขึ้น
โฉมใหม่ของ “อำพลฟูดส์” ยกเครื่องปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่มีความทันสมัยยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า พรั่งพร้อมด้วยการความเคล็ดลับต่างๆ อาทิ เทคนิคการจัดการสำรับไทย และการเพจ Facebook Goodlifeforyou นำเสนอสาระประโยชน์ด้านต่างๆ เมื่อ 2560
การมีเทคนิคต่างๆ สำหรับการทำอาหาร เป็นหนึ่งกลยุทธ์ช่วยเพิ่มทักษะการทำอาหารให้กับแม่บ้านยุคใหม่ ผลที่ได้การใช้ผลิตภัณฑ์ของอำพลฟูดส์ ตามมานั่นเอง
“การก้าวสู่ยุคดิจิทัล มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ความถี่การทำอาหารมีลดลง คู่แข่งมีรอบด้านทั้งฟู้ดส์ดิลิเวอรี่ ผู้บริโภคสามารถสั่งอาหารและมีบริการส่งถึงบ้าน”
เมื่อมาดูสินค้าในพอร์ตโฟลิโอของ อำพลฟูดส์ ย้อนไปแรกเริ่มเดิมที ธุรกิจของอำพลฟูดส์เริ่มต้นจากกะทิชาวเกาะ ผลิตภัณฑ์กะทิสดในรูปแบบกล่อง เพื่อนำเสนอความสะดวกสบายให้กับแม่บ้านในยุคนั้นไม่ต้องคั้นกะทิให้เสียเวลา
ต่อมาขยายธุรกิจต่อยอดจากกะทิ สู่เจ้าตลาดผลิตภัณฑ์มะพร้าวครบวงจร ด้วยการแตกสินค้าถึง 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ธุรกิจมะพร้าว ธุรกิจเครื่องดื่ม ธุรกิจอาหารพร้อมปรุง ธุรกิจเครื่องปรุงรส ธุรกิจขนมขบเคี้ยว
เริ่มตั้งแต่การสร้างสรรค์สินค้าตามการใช้งานของผู้บริโภคเพื่อสร้างดีมานต์ให้กับตลาด อย่างกะทิชาวเกาะ สูตรหัวกะทิ กะทิรอยไทย เน้นกลยุทธ์การตลาดเป็นกะทิสำหรับการทำอาหารประเภทแกงต่างๆ
ตามมาด้วยน้ำมันมะพร้าวรอยไทย ต่อยอดผลิตภัณฑ์มะพร้าวของผลิตภัณฑ์ปรุงอาหารมาสู่สกินแคร์ ด้วยน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น King Island แบบขวด เป็นต้น
นอกจากนี้ความพยายามที่อำพลฟูดส์ จะเข้าถึงกลุ่มแม่บ้าน ยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “กู๊ดไรฟ์” เครื่องปรุงรสเพื่อสุขภาพที่ห่วงใยใส่ใจดูแลคุณ ด้วยเครื่องปรุงรสสูตรลดโซเดียมและน้ำตาล เพื่อเอาใจกลุ่มคนรักสุขภาพและผู้ที่ต้อง
ขับเคลื่อนครั้งใหม่สู่ดิสทริบิวเตอร์
เกรียงศักดิ์ เล่าว่า อำพลฟู้ดส์ แตกธุรกิจใหม่ดิสทริบิวเตอร์ หรือจัดจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยใช้ศักยภาพขององค์กรที่มีอยู่ โดยเรามีศูนย์กระจายสินค้า 27 แห่ง และปีหน้าจะเพิ่มเป็น 50 แห่ง
เบื้องต้นเราจะกระจายสินค้านอกเครือ 10% และเป็นผลิตภัณฑ์ในเครือ 90% ในปี 2563 เราจะลงทุนเทคโนโลยี เพื่อนำมาบริหารจัดการศูนย์กระจายสินค้า ช่วยทำให้การทำงานได้เร็วขึ้น ลดความซับซ้อน
“เรากำลังอยู่ระหว่างการศึกษาตั้งบริษัท อำพลฟูดส์ดิสทริเตอร์ ขณะนี้มีเอสเอ็มอีหลายรายที่ให้บริษัทจัดจำหน่ายสินค้าให้ อย่าง แซ่บ ไมค์ by ปลาร้า ไมค์ ภิรมย์พร ผลิตภัณฑ์ปลาร้าพาสเจอไรซ์” เกรียงศักดิ์ กล่าว
เมื่อวิเคราะห์การแตกธุรกิจไปสู่ดิสทริบิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะการดำเนินธุรกิจของอำพลฟูดส์ร่วม 3 ทศวรรษ มีความเชี่ยวชาญการกระจายสินค้าโดยเฉพาะช่องทางเทรดิชันนัลเทรด หรือร้านค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศ
การทีมเซลและหน่วยรถพรั่งพร้อม ซึ่งโมเดลธุรกิจดิสทริบิวเตอร์ ผู้ประกอบการหลายรายก็ทำกัน ไม่ว่าจะเป็น เครือสหพัฒน์ก็ตามที เป็นการใช้ความแข็งแกร่งบนความเชี่ยวชาญในการสร้างรายได้เพิ่ม
การทรานส์ฟอร์เมชั่นขององค์กร อำพลฟูดส์ ไม่ได้ออกตัวช้า แต่ค่อยๆ ทำ โดยวางเป้าหมายในปี 2563 รายได้ต้องเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 25% จากรายได้ 2562 เติบโต 15 % หรือราว 3,000 ล้านบาท
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา