การซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจร้านอาหารต่างประเทศ เป็นมากกว่าแค่การขยายอาณาจักรและปลุกปั้นรายได้ แต่เป็นการเรียนรู้โนฮาวด์ ประสบการณ์อันเลอค่าและหามิได้
มาเริ่มต้นที่ “อิมแพ็ค กรุ๊ป” จากการความเชี่ยวชาญบริหารศูนย์แสดงสินค้าและประชุม แต่เมื่ออยู่ในสังเวียนของธุรกิจร้านอาหารประสบการณ์ของอิมแพ็ค เรียกว่าชั่วบินยังน้อยมาก จากการมีร้านอาหารราว 30 สาขา พร้อมกับวางเป้าหมายเป็นเดิมพันจะขยายธุรกิจร้านอาหารโดยมีสาขา 60 สาขา ภายใน 3 ปีก็ตาม
เป็นเรื่องไม่ง่ายนัก การโดดเข้ามาสมรภูมิธุรกิจร้านอาหาร สำหรับ พอลล์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เล่าว่า เราตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น สึโบฮาจิ เป็นแบรนด์แรกเลยก็ว่า
“ผมซื้อแฟรนไชส์เพื่อเรียนรู้ระบบการจัดการวัตถุดิบ อย่าง แซลมอน ล็อบสเตอร์ เพราะขึ้นชื่อว่าญี่ปุ่น วัตถุดิบอาหารต้องได้มาตรฐาน ขั้นตอนการบริหารจัดการวัตถุดิบส่งตรงจากญี่ปุ่นมาถึงไทยดำเนินการอย่างไรให้สดใหม่”
นอกจากแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นแล้ว กลุ่มอิมแพ็ค ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ “เดอะคอฟฟี่ อะคาเดมิคส์” แบรนด์ดังจากฮ่องกง อิมแพ็ค ไม่มองว่าการดำเนินธุรกิจต้องประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะเราต้องการเรียนรู้มาร์เก็ตติ้ง โดยเฉพาะการทำโซเชียลมีเดียสำหรับเดอะคอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ ที่สร้างกระแสฮือฮามาแล้วในฮ่องกง หรือการบริหารโอเปอเรชั่นต่างๆ
บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้
“ก่อนหน้านี้ได้ซื้อแฟรนไชส์ซูชิซู เมนูของอาหารเสี่ยวหลงเปาแต่เป็นร้านอาหารของญี่ปุ่น ขณะนี้มีจำนวน 10 สาขา ตอนตัดสินใจซื้อเรามองว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจ อยากเรียนรู้โนฮาวด์มีการบริหารจัดการธุรกิจใช้คนน้อย และบริหารต้นทุนอาหารได้ดี ราคาจึงไม่แพงมากนัก เรียกว่าซื้อง่ายขายคล่องสนอผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี”
สำหรับประสบการณ์ซื้อกิจการ ตำมั่ว แบรนด์จำหน่ายส้มตำ ไก่ย่าง สิ่งที่เราได้ประโยชน์นำโนฮาวด์แบรนด์ไทยไปขยายหรือต่อยอด นอกจากนี้ตำมั่ว ยังเป็นอาหารเข้ามาเติมเต็มพอร์ตโฟลิโอให้ธุรกิจอาหารเซ็น กรุ๊ป แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
แง่คิดของนักธุรกิจ อย่างบุญยง ผู้คว่ำหวอดในธุรกิจมาอย่างโชกโชน มองว่า การพัฒนาแบรนด์เองง่ายกว่า แต่ต้องใช้ระยะเวลาปั้นแบรนด์ให้ติดตลาด การซื้อกิจการ หรือแฟรนไชส์ สามารถแจ้งได้เร็ว สร้างการเติบโตได้ดีกว่า
สรุป : หลักการเลือกซื้อกิจการ – ควบรวม
- การซื้อกิจการ ต้องดูดีเอ็นเอของแบรนด์
- การควบรวมกิจการ ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรคล้ายกัน
- แบรนด์สตาร์ทอัพ ต้องใช้เวลาปรับให้เข้ากับระบบ
- การซื้อแบรนด์ต้องดูจิ๊กซอร์ในการต่อยอดธุรกิจ
- นำโนฮาวด์ของแบรนด์มาการบริหารจัดการ
- การซื้อแบรนด์หรือแฟรนไชส์ถูกหรือแพงต้องมองที่ความคุ้มค่า
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา