ลวรรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเผย มาตรการ “ชิมช้อปใช้” ในช่วง 10 วันแรก มีผู้ลงทะเบียนรับสิทธิ์เต็มตามโควตา 1 ล้านรายทุกวัน แต่มีผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านวันละประมาณ 2 แสนราย ดังนั้น ระบบจะเปิดให้ลงทะเบียนต่อเนื่องจนกว่าจะครบ 10 ล้านราย
การตรวจสอบสิทธิ์ผู้ลงทะเบียน 7 วันแรกสิ้นสุดแล้ว มีผู้ได้รับสิทธิ์ 5,538,368 ราย
- ผู้ลงทะเบียน 6 วันแรกได้รับ SMS ยืนยันสิทธิ์แล้วจำนวน 4,723,592 ราย
- อีก 814,776 รายจะได้รับภายในวันนี้ (2 ตุลาคมที่ผ่านมา)
ทั้งนี้ มีผู้เข้ายืนยันตัวตนในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว 3,902,443 ราย
- ยืนยันตัวตนสำเร็จ 2,719,267 ราย
- ผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแอปพลิเคชัน 821,149 ราย
ในการใช้จ่าย 5 วันแรก มีผู้ใช้สิทธิ์จำนวน 706,450 ราย ใช้จ่ายรวมประมาณ 628 ล้านบาท
- ใช้จ่ายผ่าน g-Wallet ช่อง 1 (คือรับเงินสนับสนุน 1,000 บาท) ประมาณ 621 ล้านบาท
- ใช้จ่ายผ่านร้าน “ช้อป” ร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน ร้านธงฟ้าประชารัฐกว่า 50% ประมาณ 330 ล้านบาท
- ใช้จ่ายผ่านร้าน “ชิม” หรือร้านอาหารและเครื่องดื่ม มียอดค่าใช้จ่ายประมาณ 98 ล้านบาท
- ใช้จ่ายผ่านร้าน “ใช้” เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ ฯลฯ ยอดค่าใช้จ่ายประมาณ 10 ล้านบาท
- ร้านค้าทั่วไป มียอดใช้จ่ายประมาณ 183 ล้านบาท
- ร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาประมาณ 142 ล้านบาท หรือ 22% จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- ใช้จ่ายผ่าน g-Wallet ช่อง 2 (รับเงินคืน 15% ของยอดจ่ายจริง รับสูงสุด 4,500 บาท วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน) มีผู้ใช้สิทธิ์แล้วจำนว 2,962 ราย มียอดค่าใช้จ่ายประมาณ 7.5 ล้านบาท เฉลี่ยรายละ 2,532 บาท ใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” ประมาณ 5 ล้านบาท ร้าน “ชิม” และร้าน “ใช้” ประมาณ 1 ล้านบาท
มีประมาณการใช้จ่าย พบว่า จังหวัดที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด 10 อันดับแรก ดังนี้
- กรุงเทพฯ 87 ล้านบาท
- ชลบุรี 48 ล้านบาท
- สมุทรปราการ 29 ล้านบาท
- ระยอง 20 ล้านบาท
- ปทุมธานี 20 ล้านบาท
- พระนครศรีอยุธยา 19 ล้านบาท
- ลำพูน 18 ล้านบาท
- เชียงใหม่ 17 ล้านบาท
- นครปฐม 17 ล้านบาท
- นนทบุรี 15 ล้านบาท
กลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด
- อยู่ในช่วงอายุ 22 – 30 ปี ประมาณ 35%
- รองลงมาคือช่วงอายุ 31-40 ปีประมาณ 30%
กระทรวงการคลังชี้แจงเรื่องปัญหาการยืนยันตัวตน (ที่เรามักจะเห็นคนแสดงความคิดเห็นกันอย่างหนาแน่น กรณีที่ยืนยันตัวตนเท่าไรก็ไม่สามารถทำได้ จนต้องทำหน้าแบบเดียวกับที่ถ่ายภาพตามบัตรประชาชนนั้น) ก.คลังชี้แจงว่า ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับแสงที่สว่างมากเกินไปหรือผิดตำแหน่งขณะถ่ายรูป
ถ่ายรูปผ่านแอปพลิเคชันตกแต่งภาพ ทำให้ภาพไม่เหมือนจริง ซึ่งธนาคารกรุงไทยได้ติดตามให้คำแนะนำไปแล้วกว่า 5,000 รายที่ยืนยันตัวตนไม่สำเร็จ ขณะนี้ ธนาคารกรุงไทยอยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบการยืนยันตัวตนให้เร็วขึ้น คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 วัน
ที่มา – แถลงข่าวความคืบหน้ามาตรการชิม ช้อป ใช้, ข่าวกระทรวงการคลัง
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา