[วิเคราะห์] Toyota ออกประกาศเตรียมพร้อมลุยตลาดรถยนต์ไฟฟ้า

เป็นข่าวไปช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ Toyota (โตโยต้า) มีแถลงการณ์เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (BEV หรือ EV) ในอนาคต ขณะที่ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้กันว่า Toyota นั้นเน้นการพัฒนามาทางรถยนต์ไฮบริด และรถยนต์พลัง Hydrogen (FEV) เป็นหลัก เนื้อหาจาก http://asia.nikkei.com/ โดยมีเนื้อความในแถลงการณ์ดังนี้

2016_toyota_fuel_cell_vehicle_001

Toyota’s statement

 “We would like to refrain from commenting on such details, such as the schedule of development and production since it relates to our future product plan.

 Toyota has made efforts in every direction on various powertrains, including electric vehicles (EVs), when it comes to the development of environmentally friendly vehicles. Toyota will continue to improve on the development of eco-cars, ranging from hybrids (HVs) and plug-in hybrids (PHVs), to electric and fuel-cell vehicles (FCVs), based on the advantages and capabilities of each powertrain.

 We believe that environmentally friendly vehicles can only help to improve the environment if they become available to a large number of customers, and in relation to this, Toyota will consider introducing EVs to the market.

 We will consider the roll-out of EVs alongside Toyota’s FCV lineup, which are both zero emission vehicles, based on the advantages and capabilities of each, as well as the market conditions of each region/country, as we continue to closely monitor the corresponding situations.”

จากเนื้อหาดังกล่าว ทาง SCB EIC ได้มีการวิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจ โดยจากเดิม คู่แข่งสำคัญอย่าง Volkswagen ที่ผลักดันการใช้ BEV อย่างชัดเจน โดยเฉพาะหลังกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ดีเซล ที่ผ่านมา Toyota สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฮบริดเป็นหลัก ซึ่งมีการใช้ระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าน้อยกว่าเพื่อใช้แทนไปจนกว่าตลาดจะพร้อมใช้ FEV แต่เนื่องจากตลาดรถยนต์ในหลายประเทศทั่วโลกมีการสนับสนุนการใช้ BEV มากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปและจีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุทธศาสตร์ของ Toyota ดังกล่าว

2016_toyota_fuel_cell_vehicle_009

Toyota ขยับไปทำ BEV ไม่ใช่เรื่องยาก

ในความเห็นของ EIC มองว่า Toyota น่าจะผลิต BEV ได้ไม่ยาก เพราะมีการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีไว้หลากหลายอยู่แล้ว เนื่องจากเทคโนโลยีกระแสหลักในอนาคตยังมีทิศทางที่ไม่แน่ชัดที่จะรองรับกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป อีกทั้งต้นทุนวิจัยและพัฒนาสูงมาก ซึ่งในปี 2017 Toyota มีงบประมาณด้านนี้ราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่ผ่านมา Toyota อาศัยความร่วมมือกับค่ายรถอื่นๆ เพื่อลดต้นทุนในการวิจัย HEV ด้วยการขายชิ้นส่วนหลักให้กับ Mazda, Subaru และ Nissan นอกจากนี้ ยังได้เริ่มมีรถปลั๊กอินไฮบริด (PEV) ซึ่งมีระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามากขึ้นออกมาสู่ตลาด และรถ BEV อีกสองรุ่นที่เคยจำหน่ายในสหรัฐฯ

2016_toyota_rav4_limited_hybrid_02_9a47e984ae6ab5dee47115540ed8b9030a2884ef

แนะผู้ผลิตในไทยเร่งปรับตัว

ตลาด BEV โลกจะขยายตัวได้เร็วขึ้นจากการแข่งขันที่มากขึ้น เป็นที่คาดการณ์กันว่าการเข้ามาของผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกอย่าง Toyota จะกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านต้นทุนซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับของตลาดมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าราคา BEV ในกลุ่มรถยนต์นั่งขนาดเล็กอาจลดลงไปได้เกือบครึ่งหลังปี 2020 จากปัจจุบันที่ประมาณ 4 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.4 ล้านบาท

สำหรับประเทศไทย การเตรียมพร้อมด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า (electrification) เป็นสิ่งจำเป็น หากต้องการอยู่ในห่วงโซ่อุปทานในระยะยาวต่อไป แม้ในระยะสั้นผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยจะยังคงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และสัดส่วน BEV ในโลกจะยังคงน้อยกว่ามาก แต่แนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งในส่วนการขับเคลื่อน (powertrain) และชิ้นส่วนอื่นๆ (electronic parts) เติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างชัดเจน แม้ในปัจจุบัน ผู้ผลิตชิ้นส่วนในไทยต้องเริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น กลุ่มมอเตอร์หรือเซ็นเซอร์ เป็นต้น

2016_toyota_prius_v_001_c0076f8777ed65f487b0ede89b82d22535d09051

สรุป

เรื่องนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงภาครัฐต้องหารือการสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิตทั้งส่วนของการขับเคลื่อน และชิ้นส่วนอื่นๆ เพื่อรักษาการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ของโลกต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ไม่ง่าย และต้องเร่งดำเนินการ

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา