เมื่อพูดเรื่องหนี้หลายคนมองว่าเป็นปัญหาระดับชาติ ที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารที่ต้องลดหนี้นอกระบบ ลดหนี้เสียลงให้ได้ แต่ถ้าระดับบุคคลบริหารหนี้ได้ดีเศรษฐกิจไทยเช่นกัน
ว่าแต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังศึกษานโยบาย DSR เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน และอาจใช้กำหนดว่า 1 คนจะกู้เงินได้แค่ไหน เกณฑ์นี้จะกระทบคนไทยหรือไม่?
สาเหตุที่ ธปท. ต้องศึกษานโยบาย DSR
ใน 2-3 ปีที่ผ่านมาธปท.ออกมาตรการใหม่มาควบคุมการปล่อยสินเชื่อสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะธนาคาร หรือ Non-bank (บริษัทบัตรเครดิต ลีสซิ่ง ฯลฯ) เมื่อ 2 ปีที่แล้วออกเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล (Ploan) เช่น การคุมดอกเบี้ยบัตรเครดิตไว้ที่ 18% ให้ประชาชนของสินเชื่อ Ploan ได้ไม่เกิน 3 สถาบันการเงิน ฯลฯ
ต่อมาออกเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เช่น ให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้สินเชื่อที่เกี่ยวกับบ้านวงเงินไม่เกิน 100% มูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมถึงออกเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อรถยนต์ (ลีสซิ่ง) และสินเชื่อรถแลกเงิน
เรียกว่า ธปท. เร่งออกเกณฑ์ใหม่เพื่อควบคุมสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท จากก่อนหน้านี้ออกเกณฑ์สินเชื่อบางตัว เช่น เดิม ออกเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อบัตรเครดิต คนก็หนีไปใช้ Ploan มากขึ้น ดังนั้นแม้ว่าหนี้เสียจะลดส่วนหนึ่งก็ไปเพิ่มขึ้นส่วนอื่นแทน ธปท.ต้องหาทางควบคุมสินเชื่อทั้งระบบ ขณะนี้ธปท.อยู่ระหว่างการศึกษาเรื่อง DSR (Debt Service Ratio)
DSR หรือสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (รวมถึงทรัพย์สินด้วย) เช่น มีรายได้ 10,000 บาทต่อเดือน จะมีภาระหนี้ ค่างวดที่ต้องจ่ายไม่เกิน 6,000 บาท หรือ 60%รายได้ต่อเดือน เป็นต้น
ปัจจุบันสถาบันการเงินมี DSR อยู่แล้วแต่มาตรฐานแต่ละแห่งไม่เท่ากัน ธปท. เลยสร้างทีมงานเพื่อศึกษาว่าควรออกนโยบายแบบใด ตามทฤษฎีเบี้องต้นมี 3 แบบ ได้แก่
- ธนาคารกลางกำหนด DSR ว่าคนมีภาระหนี้ไม่เกินเท่าไร
- กำหนดมาตรฐาน DSR ของสถาบันการเงิน ไม่ต้องดู DSR รายคนให้ธนาคารพิจารณาความเสี่ยงเอง
- ทำ Guideline กระตุ้นให้ธนาคารแข่งขันกันให้สินเชื่อแบบมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending)
ทั้งนี้ DSR มีปัจจัยหลายด้านที่ต้องคำนวน เพราะบางคนแม้รายได้น้อย แต่มีสินทรัพย์มาก ก็สามารถขอสินเชื่อได้มากขึ้นเพราะมีหลักทรัพย์คำ้ประกันมูลค่าสูง
ในประเทศไทย DSR จะเป็นอย่างไร?
ปัจจุบันนโยบาย DSR แต่ละธนาคารมีมาตรฐานที่ต่างกัน ทำให้ธปท. ต้องศึกษาความเสี่ยงในด้านต่างๆ รวมถึงบริบทภายในประเทศเพื่อออกมาตรการดูแลราย Sector เช่น การออกเกณฑ์กำกับสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์แบงค์ชาติเลือกใช้ นโยบาย loan-to-value (LTV) และนโยบายดูแลปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนแห่งประเทศไทยกำลังศึกษานโยบาย DSR, debt-to-income (DTI) ซึ่งทางแบงก์ชาติยังไม่ได้ระบุว่าจะออกเกณฑ์มาใช้จริงหรือไม่?
และมี DSR ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทยเพราะปี 2560 ธนาคารแห่งสมาคมธนาคารไทย (TBA) ซึ่งมีสมาชิกเป็นธนาคารพาณิชย์ประมาณ 15 แห่งร่วมลงนามสร้างโครงการให้ความรู้ประชาชนในการช่างนี้ไม่เกินตัว ชื่อโครงการคือเทรนหนี้ (เว็บไซด์ไม่เปิดให้บริการแล้ว) รณรงค์ให้คนไทยผ่อนหนี้ทุกอย่างไมรวม 40% ของรายได้ต่อเดือน
สรุป
เมื่อหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในระดับสูง แสดงว่าคนไทยอาจมีเงินใช้จ่ายเรื่องอื่นๆ ได้น้อยลง แม้ว่าแบงก์ชาติจะศึกษาทางออกใหม่ๆ แต่จะใช้จริงหรือไม่คงต้องจับตาดู
ที่มา Pier
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา