Digital Lending หรือสินเชื่อออนไลน์ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง ที่ไทยมีหลายธนาคารที่กระโดดเข้ามาลองตลาด ทั้งธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ตลาดนี้เวิร์คจริงหรือ?
ธนาคารลงทุนต่อเนื่อง หวัง Digital Lending โตติดตลาด
ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุ
ทั้งนี้ Digital Lending ยังเติบโตไม่มาก เพราะเป็นระยะแรกซึ่งเริ่มในกลุ่มลูกค้าเดิมของธนาคารแต่หลังจากนี้หาก Digital ID และ E-KYC (การระบุตัวตนผ่านช่องทางออนไลน์) เกิดขึ้นทางธนาคารจะสามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยเป็นลูกค้าของแบงก์ได้ ทำให้ Digital Lending เติบโต และเมื่อลูกค้าคุ้นเคยกล้าใช้งาน สินเชื่อนี้จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม Digital Lending ช่วยลดขั้นตอนในการขอสินเชื่อ ทำให้ต้นทุนส่วนนี้สามารถลดลงกว่า 30-40% และเมื่อต้นทุนลดลงในอนาคตธนาคารสามารถลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถูกลงไปด้วย แต่ดอกเบี้ยเงินกู้จะลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการบริหารความเสี่ยงและหนี้เสีย (NPL) เป็นหลัก
“ในอนาคตการให้สินเชื่อจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากเดิมธนาคารดูว่าจะให้วงเงินลูกค้าได้เท่าไร แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นลูกค้าอยากได้เงินเท่าไร ต่อไปเราจะเห็นวงเงินสินเชื่อที่เล็กลงอาจจะถึงหลักพันบาท ที่จะเป็นทุนหมุนเวียนให้พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการเงินหมุนในธุรกิจ ซึ่งจะช่วยลดหนี้นอกระบบในอีกทาง”
ปี 2019 นี้ธนาคารกรุงศรีฯ เตรียมขยายสินเชื่อออนไลน์ในหลายประเภท ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อยานยนต์ภายในไตรมาส 2 และในไตรมาส 3 จะขยายไปไปที่สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ใช้บ้านปลอดหนี้เป็นหลักประกันในการกู้ )
Digital Lending จะโตได้ ถ้า Digital ID เกิด
จากการรวบรวมข้อมูล Brand Inside พบว่า Digital Lending ได้รับความสนใจมากในวงการธนาคาร โดยปัจจุบันมีหลายธนาคารให้บริการสินเชื่อออนไลน์ เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ฯลฯ ซึ่ง พยายามให้สินเชื่อหลากหลายประเภท อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อ sme ส่วนใหญ่ ยังเป็นการปล่อยสินเชื่อ ในกลุ่มลูกค้าเดิมของธนาคาร เพราะใช้ข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่เดิมมาวิเคราะห์ความเสี่ยง (ที่จะเบี้ยวหนี้)
อย่างไรก็ตาม Digital Lending จะ สามารถปล่อยสินเชื่อได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทย สนับสนุนการใช้ information based lending หรือการใช้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินให้แบงก์ใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อได้ดีขึ้น เช่น ผู้กู้อาจเป็นพนักงานกินเงินเดือนมีรายได้ประจำ แต่ก็มีรายได้ทางอื่นมีธุรกิจเสริม การดูพฤติกรรมในการจ่ายค่าน้ำค่าไฟว่าตรงเวลาหรือไม่ ฯลฯ
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจปัจจุบันการขอสินเชื่อออนไลน์ บางธนาคารสามารถขอสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์แต่ยังต้องมีพนักงานติดต่อทาง Call Center หรือส่งเอกสารมาให้เซ็นตามกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้แบงค์ไม่ต้องรอลายเซ็นลูกค้าบนเอกสาร คือ Digital ID และ e-KYC ที่ใช้ระบุตัวตนผ่านช่องทางออนไลน์ หาทั้ง 2 เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงภายในปี 2019 จะเห็น ลูกค้าที่เคยเปิดบัญชีกับธนาคารแห่งใดก็ได้ (KYC หรือพิสูจน์ตัวตนไปแล้ว) สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารใหม่โดยไม่ต้องเดินเข้าสาขาของแบงก์ใหม่เพื่อยืนยันตัวตนอีก ที่สำคัญยังสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงธุรกรรม ออนไลน์ที่หลากหลาย เช่น การเปิดพอร์ตหุ้น การขอสินเชื่อออนไลน์ ฯลฯ
สรุป
Digital Lending เกิดขึ้นในต่างประเทศเยอะมาก เช่น ในประเทศจีน Platform e-Commerce นอกจากเป็นเว็บไซต์ขายของ ยังสามารถเสนอสินเชื่อให้ลูกค้า มี P2PLending (ผู้กู้และผู้ให้กู้สามารถยืมกันได้โดยตรง) ฯลฯ แต่ในจีนก็มีปัญหา Grey Market ที่เกิดจาก Digital Lending ไทยคงต้องเรียนรู้เป็นบทเรียน และเลือกหยิบมาใช้แต่สิ่งที่เหมาะสมกับบริบทของไทย
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา