เปิดผลสำรวจของศูนย์วิจัยเทเลนอร์โดยเทเลนอร์กรุ๊ปบริษัทแม่ของดีแทค ซึ่งได้คาดการณ์กระแสของแวดวงเทคโนโลยีในปีหน้า 2019
ประเด็นสำคัญคือ แม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว แต่ผล “ด้านลบ” จากเทคโนโลยีจะทำให้วงการไอทีทั่วโลกต้องหันมาพิจารณาถึงแง่มุมต่างๆ ของเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น ความรับผิดชอบต่อสังคมในมิติต่างๆ ทั้งระดับสังคม ครอบครัว และตัวบุคคล
- ด้านล่างนี้คือการคาดการณ์ถึง 7 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในปี 2019
1. Deepfake จะกระจายตัวมากขึ้น แต่หลายฝ่ายจะจริงจังเพื่อคุมเข้ม
ประเด็นการใช้ประโยชน์ทางลบของโซเชียลมีเดียและ AI ได้รับการจับตามองจากสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Deepfake เพื่อเป็นจุดในการปลอมแปลงข้อมูลปลอมและแพร่กระจายทางโซเชียลมีเดีย จึงมีการคาดการณ์ว่าในปี 2019 เทรนด์ Deepfake จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เป็นต้นว่า การเข้ามาปั่นป่วนในการให้ข้อมูลเท็จต่อสาธารณชนในการเลือกตั้ง ของไทยเองคือในปี 2019 ที่อาจจะมีการเลือกตั้งขึ้น หรือในปีหน้าที่ประเทศมหาอำนาจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและอินเดียจะมีการจัดการเลือกตั้งและเริ่มรณรงค์หาเสียงประธานาธิบดี
อย่างไรก็ตาม ในปี 2019 เราน่าจะเริ่มได้เห็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและหน่วยงานกำกับดูแล มีความจริงจังกับการกำจัดและสร้างภูมิคุ้มกันกับเทคโนโลยี Deepfake มากขึ้น
2. AI จะถูกกำหนดด้วยกรอบจริยธรรม แต่ยังจะเป็น Dilemma ต่อไป
การพัฒนาของ AI ที่ต่อเนื่องและแพร่หลายในภาคธุรกิจ/สังคม จะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นควบคู่กันไปในปี 2019 คือการตรวจสอบการใช้งาน AI จากสาธารณะมากขึ้น ตลอดจนการกำหนดกรอบการใช้งานของ AI โดยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะมีการร่วมกันจัดตั้งกรอบธรรมาภิบาลและจริยธรรมในการใช้ AI เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ
แต่ทั้งนี้ กรอบจริยธรรมกับการพัฒนานวัตกรรมไม่ได้ไปด้วยกันในทุกที่ พร้อมทั้งจะมีข้อถกเถียงว่าถ้าจำกัดจริยธรรมมาก นวัตกรรมจะเกิดช้า ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบนิเวศของ AI ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและจีน ขณะที่ในภูมิภาคที่มีการกำกับอย่างยุโรปพัฒนาได้อย่างช้ากว่า ซึ่งชัดเจนว่าส่วนหนึ่งมาจากกรอบของการกำหนดด้วยจริยธรรมและเรื่องสิทธิมนุษยชน
แต่ถึงที่สุดแล้ว กรอบธรรมาภิบาลถือเป็นสิ่งสำคั
3. เกิดเมืองจำลอง 5G ขึ้นทั่วโลก แต่ยังการใช้งานจริง ยังไม่ใช่เร็วๆ นี้
การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยี 5G ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบคลาวด์เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีทดสอบคลื่น 5G หรือการพัฒนาแนวทางการใช้ประโยชน์จาก 5G เช่น การแสดงโดรนในพิธีเกิดโอลิมปิคฤดูหนาวที่เกาหลีใต้
ในปีหน้า 2019 เราจะเริ่มเห็นเมืองจำลองที่ใช้สำหรับดำเนินโครงการนำร่องเพื่อทดลองการใช้ประโยชน์จาก 5G ในภูมิภาคต่างของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรปและเอเชียตะวันออกไกล นอกจากนั้น เราจะได้รับรู้และสัมผัสถึงความเป็นสังคมดิจิทัลอย่างแท้จริง ตัวอย่างที่เมืองคองสเบิร์ก ประเทศนอร์เวย์ ที่มีการนำร่องทดลอง 5G แล้ว
สรุปคือ 5G จะยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากมาตรฐานอย่างเป็นทางการจะออกในปี 2020 แต่ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่หนุนให้เกิด 5G ขึ้นอย่างเต็มศักยภาพจะเกิดขึ้นในปีหน้า 2019 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางด้านการตลาดและการรับรู้ของ 5G ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไร้คนขับ รถบัสควบคุมทางไกล การทำประมงด้วยระบบอัตโนมัติ การผ่าตัดทางไกล
พูดง่ายๆ ก็คือ โครงการนำร่องต่างๆ ที่เเสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ 5G จะเริ่มเกิดขึ้นในปี 2019 เพื่อเตรียมพร้อมสู่การให้บริการทางพาณิชย์ในปี 2020 แต่เอาเข้าจริงแล้ว ในแง่การนำมาใช้จริงอาจยังต้องรออีก 2-3 ปีหลังจากนี้
4. IoT จะเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน และเข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรมในวงกว้าง
IoT หรือ Internet of Things ที่เริ่มมีการใช้ในภาคอุตสาหกรรมจะเข้าสู่ “ยุคเปลี่ยนผ่าน”
คือเปลี่ยนจากห้องทดลองสู่การให้บริการเชิงพาณิชย์แก่ลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น ด้วยเครือข่ายแบบ LPWA หรือการสื่อสารแบบไร้สายทางไกลพลังงานต่ำ ซึ่งออกแบบมารองรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ (M2M)เน้นรับส่งข้อมูลจำนวนไม่มากนัก และใช้พลังงานต่ำ ทำให้การใช้งานมีความยาวนานมากกว่าการใช้ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ในขนาดที่ใหญ่ขึ้น เช่น การบริหารเมืองอัจฉริยะ ภาคอุตสาหกรรม และแอปพลิเคชันเชิงพาณิชย์ เช่น การติดตามระบบขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ การทำประมง และการควบคุมจราจร
ในส่วนของระบบหลังบ้านนั้น เริ่มมีความชัดเจนขึ้นถึงการใช้ประโยชน์ของระบบการสื่อสารต่างๆ ต่อการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ระบบ LTE เหมาะกับการใช้กับระบบกล้องวงจรปิดและระบบการสื่อสารภายในรถยนต์ ขณะที่ LTE-M เหมาะกับการใช้ในระบบขนส่ง ส่วน NB-IoT ใช้สำหรับการวัดเซนเซอร์ ซึ่งการพัฒนาของ LWPA จะยังคงมีขึ้นและได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในปี 2019
5. Chatbot ผู้ช่วยคนต่อไป ของเล่นชิ้นใหม่ของทุกบ้าน
การพัฒนาของระบบผู้ช่วยส่วนตั
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าอุปกรณ์ล้ำสมั
6. โทรศัพท์ฝาพับจะกลับมา เพราะกระแสห่างมือถือจะเป็น new normal
ความกังวลของผลกระทบต่อการใช้เวลากับจอสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกำลังเป็นที่อภิปรายมากขึ้นในสังคม โดยคาดการณ์ว่าในปี 2019 การพัฒนาแอพพลิเคชั่นหรือเครื่องมือที่ติดตามการใช้งานจอ การเปิดโหมดป้องกันการรบกวนในเวลากลางคืนจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้พัฒนาดีไวซ์หรือโซเชียลมีเดียนั้นๆ จะเพิ่มฟังก์ชั่นให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้เอง ขณะที่กระแส “เขตปลอดการใช้มือถือ” จะกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคม เช่น การห้ามใช้มือถือระหว่างรับประทานอาหารกับครอบครัวหรือเพื่อน และการงดใช้มือถือระหว่างประชุม กระแสดังกล่าวจะเริ่มปรากฏและถูกรณรงค์โดยผู้ให้บริการ เพื่อสร้างการรับรู้
ด้วยเหตุนี้ ทำให้โทรศัพท์แบบฝาพับจะได้กลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มติดจอ โดยโทรศัพท์แบบฝาพับจะสามารถรองรับได้ 2 ซิม ทั้งซิมที่เน้นเฉพาะดาต้าสำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต และซิมที่เน้นการโทร ซึ่งย้อนกลับไปสู่ยุคที่โทรศัพท์ฝาพับยุคอนาล็อกเคยได้รับความนิยมในอดีต
7. กระแส Green Tech จะแรงขึ้น
จากการที่คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ออกโรงเตือนถึงความร่วมมือในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทำให้ความกังวลและการรับรู้ของผู้คนในสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสูงขึ้น ทำให้กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี (Green tech) จะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในปี 2019 โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้ชีวิตอย่างฉลาดขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ตัวอย่างที่ นครออสโล ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน การใช้สินค้าและบริการของเทคโนโลยีที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคก็มีความนิยมสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนอร์เวย์สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยข้อมูลระบุว่า 30% ของรถยนต์ออกใหม่ในนอร์เวย์เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า สอดรับกับนโยบายภาษีและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มีการจัดเก็บสูงขึ้นสำหรับสินค้าและบริการที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในนอร์เวย์ ซึ่งการเปลี่ยนผ่านโดยภาพรวมเป็นผลมาจากความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ผู้พัฒนาเทคโนโลยี ผู้บริโภคและแรงกดดันจากสังคม ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนั้นล้วนเป็นแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดกระแส Green tech ที่นอร์เวย์ในปี 2019
ที่มา – ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา