Trump หวัง Brexit ไม่กระทบการค้า UK-US แต่สหรัฐฯ เกี่ยวอะไรกับการที่อังกฤษจะออกจากยุโรป ?

แม้ว่า Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (US) จะต้องเจอการประท้วงจากประชาชนอังกฤษในแทบทุกที่ที่ไป ทำให้ Trump และภรรยา ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ในการเดินทางไม่ว่าจะไปจิบชากับ Queen Elizabeth 2 ราชินีแห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ- UK) หรือพบกับ Theresa May นายกรัฐมนตรี UK รอบนี้มีความคืบหน้าเรื่องการเมือง การค้าอย่างไรบ้าง

ภาพจาก shutterstock

Trump ย้ำดีลการค้าระหว่าง สหรัฐฯ อังกฤษ “เป็นไปได้”

Trump พูดอยู่เสมอว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและอังกฤษมีความพิเศษที่เรียกว่า The highest level of special ซึ่งการพูดคุยครั้งนี้ก็หนีไม่พ้นเรื่องการค้าระหว่างประเทศ โดย Trump พูดถึงข้อตกลงทางการค้าระหว่าง US และ UK ว่ามีความเป็นไปได้ แต่เรื่องที่ Trump ยังติดใจอยู่หน่อยๆ คือเงื่อนไขการเจรจาระหว่าง UK และสหภาพยุโรป (EU) ซึ่ง Trump มองว่าจะโหดร้ายไปสักหน่อย

“แต่ไม่ว่า UK จะตัดสินใจอย่างไรหลังจากออกจาก EU ก็ยังโอเคกับผมอยู่”

เขามองว่า Brexit (การแยกตัวของอังกฤษออกจาก EU) เป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะนอกจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเขตแดนระหว่างประเทศ ยังเป็นเรื่องการเข้าถึงแต่ละประเทศดด้วยซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ

“เรื่องเดียวที่ผมถามเธอ (Theresa May) คือ ถ้าเธอคลี่คลายเรื่องนั้นได้ เราก็สามารถทำการค้าได้ทั้งหมดแหละ”

ขณะที่ Theresa May นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ บอกว่า เราพบกันก็เพื่อเจรจาข้อตกลงทางการค้า ซึ่งเท่าที่เห็น US ก็ดูใส่ใจในเรื่องนี้ดี และเราก็จะทำการค้ากับ US รวมถึงประเทศอื่นๆทั่วโลก

ภาพจาก Reuters
An official photo was issued of the Queen, Donald and Melania Trump in the Grand Corridor of Windsor Castle

ที่จริงแล้ว อะไรคือความกดดันระหว่าง Brexit กับ สหรัฐฯ?

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง UK ออกร่างข้อตกลง Brexit มาว่า UK กับ EU จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีร่วมกันเพื่อการค้าขายสินค้า แต่ UK ยังตั้งใจจะทำข้อตกลงทางการค้ากับแต่ละประเทศเอง ซึ่งส่งผลให้ UK สามารถกำหนดอัตราภาษีสินค้าที่ส่งข้ามประเทศได้เอง ซึ่งหมายถึง UK อาจจะกำหนดภาษีให้ต่ำกว่าทาง EU หรือไม่คิดภาษีเลยก็ได้

แต่เรื่องนี้หลายนักวิเคราะห์มองว่า EU น่าจะปฏิเสธแน่นอน เพราะมีเรื่อง กฏหมายการยกเว้นภาษี (Non-tariff) และทาง EU กับ UK ต้องทำหนังสือซึ่งแสดงกฎเกณฑ์ชัดเจนว่าสินค้าหมวดไหน และสินค้าเกษตรอะไรบ้างจะมีภาษีแบบไหน ดังนั้นการมีหนังสือนี้แปลว่าอังกฤษต้องอยู่ใต้กฎของ EU ขณะเดียวกันหนังสือฯนี้ จะส่งผลกระทบให้ UK มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนกฎเกณฑ์เพื่อเจรจาการค้ากับประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ

ตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาในข้อตกลง UK ที่อยู่ภายใต้ EU จะไม่อนุญาตให้นำเข้าอาหารที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม รวมถึงเนื้อสัตว์ที่มีการฉีดฮอร์โมนเกือบทุกชนิด ซึ่งตรงข้ามกับสหรัฐฯ ที่อนุญาตทุกอย่างที่กล่าวมา

ภาพจาก shutterstock

ดังนั้นทาง สหรัฐฯ พยายามผลักดันให้ UK เปลี่ยนแปลงกฎข้อนี้ ในการเจรจาข้อตกลงการค้าในอนาคต แต่ยังติดเรื่องเงื่อนไขตัวร่าง Brexit ฉบับล่าสุดไม่มีเรื่องนี้

Trump บอกว่า ร่าง Brexit ฉบับนี้ อาจจะกระทบกับข้อตกลงทางการค้า ระหว่าง UK และสหรัฐฯในอนาคต แต่ถ้า อังกฤษจะเลือกทางนี้ เราก็หวังว่าในอนาคตยังมีการค้าร่วมกับสหรัฐฯ

โดย Wilbur Ross รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ของ สหรัฐฯ พูดในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ไม่ว่า เงื่อนไข Brexit ระหว่าง EU กับ UK จะเป็นแบบไหน ทางกระทรวงพาณิชย์ต้องดูเรื่องผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่จะเกิดขึ้น แต่ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคใการพัฒนาควาใกล้ชิดระหว่าง UK และสหรัฐฯ

“ทาง UK ต้องเลือกขั้นต่อไป และควรหลีกเลี่ยงการสร้างความแตกตต่างด้านกฎเกณฑ์ หรือพวกกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นระหว่างสหรัฐ”

ภาพจาก shutterstock

และผลกระทบที่เกิดขึ้นใน ภาคบริการของ UK ล่ะ?

Professor Alan Winters  Director of the UK Trade Policy Observatory ของมหาวิทยาลัย Sussex บอกว่า ข้อมูลสถิติ the Office for National Statistics พบว่า การค้าภาคบริการของ UK (นอกจาก EU) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 73% ในช่วงปี 2007-2017 ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันประเทศที่ครองสัดส่วนการส่งออกภาคบริการมากที่สุดในปี 2017 คือ สหรัฐฯ

ใน 15 ปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า UK ส่งออกเทคโนโลยีภาคการบริการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้หลายประเทศระมัดระวังในการทำข้อตกลงในภาคบริการกับ  UK

“ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงกฏเเพื่อการนำเข้าสินค้าให้สหรัฐ​ฯ หลังจากการ Brexit จะทำให้ EU เริ่มเช็คเรื่องภาษีในสินค้าต่างๆ มากขึ้น”

ที่มา BBC 1, BBC 2

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา