ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าธนาคารกลางหลายประเทศ ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย คุมอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำ รวมถึงทางธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็เป็นหนึ่งในนั้น
แต่ล่าสุดเราก็เห็น BOJ การทำนโยบายการเงินแบบพิเศษ (Ultraloose Monetary Policy) หรือ Quantitative Easing Policy คือการอัดฉีดเงินหรือสภาพคล่องส่วนเกินเข้าไปในระบบ จนขณะนี้ BOJ กลายเป็นผู้ถือหุ้นเกือบ 40% ของจำนวนบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ในญี่ปุ่น ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ค่อยเห็นธนาคารกลางที่ไหนทำกัน
ธนาคารกลางจะมีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เกือบ 40% ได้ยังไง และต้องใช้เงินเท่าไร
ตอนนี้ BOJ สะสมหุ้นญี่ปุ่น ผ่านการถือกองทุน exchange-traded funds (ETF- กองทุนเปิดที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์) ในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น (the Tokyo Stock Exchange – TSE) ซึ่งสิ้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา BOJ ถือหุ้นภายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1,446 บริษัท จากทั้งหมดที่ในตลาดมีอยู่ที่ 3,735 บริษัท คิดเป็นเกือบ 40% ของตลาด ซึ่งในแต่ละบริษัท BOJ ก็เป็นผู้ถือหุ้นระดับ Top 10
ในส่วนของมูลค่า BOJ มีหุ้นสะสมอยู่ประมาณ 25 ล้านล้านเยน (227,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็นเกือบ 4% ของจากมูลค่าในตลาดหุ้นประมาณ 652 ล้านล้านเยน ที่มีการซื้อขายในขายกระดานที่ 1 (the first section-กระดานหุ้นสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทขนาดใหญ่) ของ TSE
BOJ เริ่มเก็บหุ้นใน TSE ตั้งแต่เมื่อไร ?
BOJ เริ่มถือหุ้นตั้งแต่เมื่อปี 2010 และยังซื้อเพิ่มขึ้นในปี 2013 ที่ BOJ นำโดย ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น Haruhiko Kuroda ก็เริ่มเข้าซื้อหลักทรัพย์รุนแรงขึ้น และตั้งแต่ช่วงฤดูร้อน ปี 2016 BOJ ก็มีการซื้อหลักทรัพย์กว่า 6 ล้านล้านเยน
ซึ่งจากการที่ BOJ เข้าไปถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์กว่า 40% ปีล่าสุด BOJ กลายเป็นเจ้าของหลักของบริษัทกว่า 833 บริษัท ซึ่งตอนนี้ก็เป็นผู้ถือหุ้นหลักของ Tokyo Dome, Sapporo Holdings, Unitika, Nippon Sheet Glass and Aeon
ทำไมธนาคารต้องเข้ามาถือหุ้นในตลาด ?
ก็ยังเข้าใจยากว่า เราจะเชื่อมโยง BOJ ที่เข้าซื้อ ETF โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กรอบเงินเฟ้อเข้สู่เป้าหมายที่ 2% ซึ่งมีเสียงยืนยันจาก Kuroda บอกว่า “ตอนนี้ถือว่านโยบายนี้สำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว”
แต่สิ่งที่คนกังวลคือ ขนาดการซื้อหลักทรัพย์ที่ใหญ่ระดับนี้ ท้ายที่สุดแล้วเมื่อต้องการจะเปลี่ยนนโยบายการเงินจะทำให้กลไกตลาดบิดเบือนไหม?
ตลาดกังวลต่อการเข้ามาถือหุ้นของ BOJ
แม้ว่า BOJ ถือว่าห่างจากการเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์มีเสียงในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์กับบริษัท แต่ตลาดเริ่มกังวลกับเรื่องการมีส่วนถือหุ้นของบริษัทแล้ว ในการประชุมผู้ถือหุ้น KDDI มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจะเลิกถือครองหุ้นกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซึ่งทาง Shinichi Muramoto Senior managing executive officer ของ KDDI บอกว่า “เราคงต้องมีมาตรการอะไรออกมาจัดการกับเรื่องนี้”
อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายมองว่าผลกระทบที่ใหญที่สุดน่าจะเห็นในบริษัทที่มี Floating shares (หุ้นที่บริษัทขายต่อสาธารณะในตลาดหลักทรัพย์) น้อย ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น มีผู้ก่อตั้งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทำให้หุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดน้อยลง ฯลฯ
อย่างในธุรกิจค้าปลีก Uniqlo เป็นหุ้นที่อยู่ใน ETF เยอะมาก ทุกครั้งที่ BOJ ซื้อ ETF 1 ล้านล้านเยน จะมีส่วนในหุ้นธุรกิจค้าปลีกประมาณ 2 หมื่นล้านเยน และถ้า BOJ ซื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี หุ้นธุรกิจค้าปลีกที่เปิดขายในตลาดก็อาจจหมดไป
ที่มา Nikkei Asian Review
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา