ปริมาณหนี้เสียที่ขายทอดตลาดในทวีปยุโรปกลับมาสูงขึ้นอีกในรอบ 2 ปี

หนี้เสีย หรือว่า NPL ในทวีปยุโรปอาจเป็นข่าวกลับมาหลอกหลอนนักลงทุนอีกครั้ง หลังจากข่าวนี้ได้เงียบไปเป็นเวลาพักใหญ่ ซึ่งเรื่องของหนี้เสียเป็นอีกสาเหตุที่กดดันสภาวะเศรษฐกิจในทวีปยุโรปในช่วงที่ผ่านมา

ภาพจาก Shutterstock

ธนาคารกลางยุโรปได้ออกบทวิเคราะห์ถึงเรื่องตลาดขายสินเชื่อด้อยคุณภาพในปีที่ผ่านมามีความคึกคักอย่างมาก โดยปริมาณหนี้เสียที่ขายทอดตลาดในทวีปยุโรปในช่วงไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมาสูงที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี อยู่ที่ 157,000 ล้านยูโร สูงขึ้น 42% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2016 โดยปริมาณหนี้เสียที่ขายทอดตลาดส่วนใหญ่ยังมาจากประเทศอิตาลี ส่วนทางด้านผู้ซื้อนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็น Hedge Fund หรือไม่ก็เป็นกลุ่ม Private Equity ที่สนใจในสินทรัพย์พวกนี้

ส่วนประเทศกรีซนั้นปริมาณซื้อขายหนี้เสียพึ่งจะเริ่มสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา ส่วนประเทศไซปรัสนั้นเริ่มมีการขายหนี้เสียเป็นครั้งแรกในปีนี้เช่นกัน ส่วนไอร์แลนด์นั้นลดลง

อัตราส่วนหนี้เสีย (NPL) เมื่อเทียบกับปริมาณสินเชื่อแต่ละประเทศในทวีปยุโรปในช่วงปีที่ผ่านมา

  1. กรีซ 45%
  2. โปรตุเกส 16.6%
  3. ไอร์แลนด์ 11.2%
  4. อิตาลี 11.1%
  5. สเปน 4.5%
  6. ฝรั่งเศส 3.1%
  7. เนเธอร์แลนด์ 2.2%
  8. เยอรมัน 1.9%

ปัญหากดดันกลุ่มธนาคารในยุโรปด้วย

ปัญหาในเรื่องของหนี้เสียนั้นกดดันกลุ่มธนาคารในยุโรปอย่างมาก เพราะว่าทำให้อัตราทำกำไรของกลุ่มธนาคารลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากต้องสำรองหนี้เป็นอัตราส่วนที่สูง และยิ่งทำให้ฐานการเงินยิ่งอ่อนแอ ซึ่งทาง Brand Inside เคยเสนอข่าวว่าธนาคารในยุโรปอาจต้องควบรวมกิจการกันเองอีกรอบเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งด้วย

นอกจากนี้เรื่องของหนี้เสียยังลามทำให้ภาคเศรษฐกิจของประเทศซบเซาอีกด้วย โดยเฉพาะเศรษฐกิจในประเทศอย่างอิตาลี

ธนาคารกลางยุโรปคุมเรื่องนี้ด้วย

ธนาคารกลางยุโรปได้ส่งตัวแทนลงไปติดตามเรื่องของการขายหนี้เสียของธนาคารต่างๆ ทั่วทวีปยุโรป รวมไปถึงให้คำปรึกษาแก่ธนาคารต่างๆ ในเรื่องของการป้องกันหนี้เสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การให้แนวทางในเรื่องของการวางหลักประกันสินเชื่อ เช่น ให้วางหลักประกันสินเชื่อมูลค่ามากกว่าเดิม เป็นต้น

สรุป

ธนาคารกลางยุโรปหวังว่าหนี้เสียภายในทวีปยุโรปจะลดลงหลังจากเหตุการณ์วิกฤติหนี้ยุโรปที่ปกคลุมหลายๆ ประเทศ เช่น อิตาลี โปรตุเกส กรีซ เป็นต้น จะได้ทำให้เศรษฐกิจในทวีปยุโรปกลับมาได้อย่างแข็งแกร่งมากขึ้น

ถึงแม้ว่า NPL ของอิตาลีจะสูงถึง 11.1% แต่ทางธนาคารหลายๆ แห่งของอิตาลีก็พยายามแก้ปัญหาในเรื่องของหนี้เสียอย่างหนัก เช่น การขายหนี้เสียออกไปให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งเหมือนกับธนาคารไทยที่ใช้วิธีนี้เช่นกัน

ที่มาFinancial Times, The Economist

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ