จีเอเบิล แนะปัจจัยสำคัญในการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลให้สำเร็จ HR ต้องเฟ้นหา ‘Data Scientist’ เสริมทัพให้แข็งแกร่ง ในยุค “Big Data” เพราะการวิเคราะห์ จัดการข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ช่วยเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ชี้การพัฒนาบุคคลากรที่มีอยู่เดิมซึ่งมีจุดแข็งด้านความเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดี ให้มีความสามารถเชิงดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญ แต่นับเป็นโจทย์ที่ยาก แนะหาที่ปรึกษาAnalytic DNA พัฒนาบุคคลากรเพื่อเป็น ‘Data Scientist’ ที่ทรงประสิทธิภาพ ช่วยในการพลิกโฉมองค์กร (Organizational transformation) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.ศิษฏพงศ์ เศรษฐภัทร Head of Big Data and Analytics กลุ่มบริษัทจีเอเบิล เปิดเผยในงาน “Thailand HR Tech Conference & Exposition 2018” ที่จัดขึ้นโดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย(PMAT) ในหัวข้อ “HR Analytic Impact and How to build Data Scientist from your existing employee” ว่า ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) องค์กร นอกจากการปรับเปลี่ยนแนวทาง วิธีคิดในการทำงานแล้ว การเฟ้นหาบุคลากรทางด้าน ‘ดิจิทัล’ เพื่อเสริมทัพขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือความท้าทายของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และที่ผ่านมาหลายองค์กรกลับมองว่าการหาบุคลากรดิจิทัล ต้องสรรหาบุคลากรใหม่เข้ามาเท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วบุคลากรดิจิทัลที่เหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะในหน้าที่สำคัญอย่างนักวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Scientist ควรเป็นผู้ที่เข้าใจธุรกิจขององค์กรอย่างถ่องแท้
“การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ก่อให้เกิดข้อมูลการทำงานปริมาณมหาศาล การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้จำเป็นต้องใช้กระบวนการใหม่ๆ เพื่อที่จะแปลงข้อมูลดิบออกมาเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ ส่งผลให้องค์กรต้องเฟ้นหาบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ โดยที่ HR สามารถเริ่มหาจากบุคลากรภายในองค์กร ด้วยการกระตุ้นคนที่มีความรู้เรื่ององค์กรเป็นอย่างดีจนเกิดความคิดในเชิงวิเคราะห์” ดร.ศิษฏพงศ์ อธิบาย
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนบุคลากรที่มีอยู่ให้มีความสามารถเชิงดิจิทัลมากขึ้น จะเกิดขึ้นได้จาก 4 ขั้นตอน เริ่มจาก ข้อที่ 1. Foundational ด้วยการตั้งคำถามที่ถูกต้อง หรือถามคำถามที่สมเหตุสมผล เพื่อให้พนักงานสามารถให้ข้อมูลได้ตรงมากที่สุด ข้อที่ 2. Approaching วิธีในการค้นหาคำตอบที่รวดเร็ว มี
ประสิทธิภาพ แสดงให้แนวคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ มีการนำดิจิทัลมาใช้มากขึ้น อย่างการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการหาคำตอบที่เสียเวลาแทนคน ข้อที่3. Aspirational หรือเริ่มทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น ลดขั้นตอน เวลาในการทำงาน และสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายมากขึ้น และ ข้อที่ 4. Mature เมื่อทีมงานดังกล่าวทำได้สำเร็จ องค์กรก็เริ่มนำแนวคิดใหม่ ๆ มาช่วยในการทำงาน เพื่อทำให้องค์กรดีขึ้น ซึ่งผู้ที่จะมาทำขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล แต่คือบรรดาพนักงานที่มีความเข้าใจโมเดลธุรกิจขององค์กรเป็นอย่างดี ดร.ศิษฏพงศ์ กล่าว
ทั้งนี้ การดึงข้อมูลที่เกิดจาก Digital Workplace มาใช้ ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากปัจจุบันหลายองค์กรเกิดการทรานฟอร์เมชั่นกันในระดับหนึ่งแล้ว โดยจะเห็นได้จากการเริ่มนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น เช่น การลงทุนนำระบบคลาวด์มาใช้งาน รูปแบบการสื่อสารยุคใหม่ภายในองค์กรผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้การทำงานไม่ได้ยึดติดอยู่บนคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ การนำข้อมูลเก็บไว้บนคลาวด์ ทำให้พนักงานไม่ต้องเข้าไปดึงข้อมูลในระบบ หรือแนวคิดในการทำงานสมัยใหม่ ที่บุคลากรสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกแผนก ส่งผลให้กรอบแนวคิดของ HR ต้องไม่ประเมินการทำงานเฉพาะจากบันทึกการทำงานประจำวันที่ระบุแค่เวลาเข้าออกงาน แต่เป็นการนำเอาดาต้าที่เกิดขึ้นจากการทำงานบน Digital Workplace ซึ่งมีข้อมูลมหาศาล มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ เช่น การเข้าไปดูว่าพนักงานแต่ละรายทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มใดบ้าง และสะท้อนให้เห็นการทำงานของแต่ละหน้าที่หรือไม่ ดร.ศิษฏพงศ์ กล่าวเพิ่มเติม
“เมื่อองค์กรเก็บข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ควรมีหน่วยงานอย่าง Big Data & Analytics หรือการจัดตั้งทีม Center of Excellence (CoE) ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ และพัฒนาธุรกิจ รวมถึงมีหน้าที่ในการกำหนด ควบคุมและทำให้มั่นใจว่าองค์กรจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้องค์กรเกิดดิจิทัลทรานฟอร์เมชันได้สมบูรณ์แบบ รวมถึงการมีทีมงาน CoE ที่แข็งแรง จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และนำข้อมูลมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร หรือตำแหน่งอย่าง ‘Data Scientist’ ถือเป็นตำแหน่งที่หายากที่สุดในยุคปัจจุบัน แต่องค์กรก็สามารถประยุกต์ใช้จากบุคลากรที่มีอย่างการพัฒนา ‘Data Engineers’ ด้วยการนำบุคลากรในฝ่ายไอที ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรม มีความสามารถทางสถิติเพียง แต่ขาดทักษะทางด้านการสื่อสาร มาทำงานร่วมกับ ‘Data Analyst’ ที่อยู่ในฝ่ายธุรกิจ เพราะมีทักษะในการสื่อสารสูง แต่เขียนโปรแกรมไม่ได้ มาทำงานร่วมกัน” ดร.ศิษฏพงศ์ กล่าว
ขั้นตอนการค้นหา Data Scientist หรือการทำ CoE ภายในองค์กร เป็นเรื่องยาก หนึ่งในบริการจากจีเอเบิล คือการส่งทีม Data & Analytic เข้าไปช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำ Analytic ในองค์กรขนาดใหญ่ รวมถึงองค์กรขนาดเล็กที่เข้าไปช่วยในการทำทรานฟอร์เมชั่น ทั้งในแง่ของการเข้าไปเป็นที่ปรึกษา และการพัฒนาบุคลากรให้เกิดความรู้และความเชี่ยวชาญ ด้วยการเข้าไปช่วยพัฒนาให้เกิด Analytic DNA ด้วยการจัดเทรนนิ่งคอร์สระยะยาวรวมถึงการนำเทคโนโลยี และโซลูชั่นเข้าไปช่วย เพื่อทำให้องค์กนำสามารถข้อมูลที่มีออกมาอยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้งาน และยังสามารถเข้าไปช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลตามแต่ละโปรเจกต์ เพื่อให้เกิดแนวคิดที่นำมาใช้ได้จริง ผสมไปกับรูปแบบการนำเสนอที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา