Nissan บุกหนัก ตั้งเป้ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้า 1 ล้านคันภายในปี 2565

Nissan ประกาศถึงแผนการเพิ่มจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า พร้อมเพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาระบบขับขี่อัตโนมัติ เร่งการพัฒนาระบบเชื่อมต่อสำหรับรถยนต์ ตามแผนงานระยะกลางของบริษัท หรือ Nissan M.O.V.E. to 2022

Nissan IMx KURO concept
Nissan IMx KURO concept

เปิดแผนระยะกลาง จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า 1 ล้านคัน

หนึ่งในเป้าหมายของ Nissan คือ การจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจำนวน 1 ล้านคัน  ครอบคลุมทั้งรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ และแบบระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแบบอี-เพาเวอร์ (e-Power) ภายในปีงบประมาณ 2565 หรือ ค.ศ. 2022 โดยแผนงานระยะกลางของบริษัทฯ หรือ Nissan M.O.V.E. to 2022 มีเป้าหมายดังนี้

  • พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบรุ่นใหม่ทั้งหมด 8 รุ่น เพื่อต่อยอดความสำเร็จของ Nissan Leaf ใหม่
  • เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อรุกตลาดของประเทศจีนภายใต้แบรนด์ที่แตกต่างกัน
  • แนะนำ “รถยนต์ขนาดเล็ก หรือ เคย์คาร์ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับตลาดญี่ปุ่น
  • นำเสนอรถยนต์แบบครอสโอเวอร์พลังงานไฟฟ้าสู่ตลาดโลก ที่พัฒนาจากรถยยนต์ต้นแบบ นิสสัน   ไอเอ็มเอ็กซ์ คอนเซ็ปต์ (Nissan IMx Concept)
  • เริ่มเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้าภายใต้แบรด์อินฟินิตี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ค.ส. 2021) เป็นต้นไป
  • ติดตั้งเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติในรถยนต์ 20 รุ่น สำหรับ 20 ตลาด ขยายการเชื่อมต่อให้สมบูรณ์ 100% สำหรับรถยนต์นิสสัน รุ่นใหม่ อินฟินิตี และดัทสัน สำหรับตลาดหลักภายในแผนแผนงานระยะกลางนี้

ฟิลลิปเป ไคลน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวางแผนธุรกิจ กล่าวว่า กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีเน้นสร้างจุดยืนให้นิสสันเป็นผู้นำวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีรถยนต์ และเปลี่ยนวิวัฒนาการในการดำเนินธุรกิจ มุ่งมั่นนำเสนอ Nissan Intelligent Mobility ภายใต้หลักการสำคัญ 3 ด้านคือ ระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า การขับขี่อัตโนมัติ และการเชื่อมต่อและการบริการเพื่อการเดินทางรูปแบบใหม่

แผนงานระยะกลางมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ต่อปีให้สูงขึ้น 30% ไปอยู่ที่ 16.5 ล้านล้านเยนภายในช่วงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และยังมีเป้าหมายเพิ่มอัตราส่วนผลกำไรจากการปฏิบัติงาน 8% และกระแสเงินหมุนเวียนรวมที่ 2.5 ล้านล้านเยน

นอกจากนี้จะนำทรัพยการด้านโครงสร้างพื้นฐานรถยนต์ และระบบขับเคลื่อนในกลุ่มเรโนลต์-นิสสัน-มิตซูบิชิ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเป้าหมาย

ระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า

ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าคือ การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ในกลุ่มซี-เซกเมนท์ โดยพัฒนาต่อยอดจากนิสสัน ลีฟ ใหม่ นำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ โดยร่วมมือกับบริษัทร่วมทุนของกลุ่มพันธมิตรที่มีชื่อว่า eGT New Energy Automotive และรถเอนกประสงค์พลังงานไฟฟ้า ในกลุ่ม เอ-เซกเมนท์ที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้นั้นเปจะพัฒนาร่วมกับกลุ่มพันธมิตร และ กลุ่มของตงฟง มอเตอร์

นอกจากนี้ยังมีแผนการพัฒนาต่อยอดเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกสองรุ่นภายใต้แบรนด์ Venucia นิสสันยังจะเดินหน้าขยายเทคโนโลยีอี-เพาเวอร์ ซึ่งปัจจุบันนำเสนอไว้ในรถยนต์นิสสัน โน๊ต (Nissan Note) และนิสสัน เซเรน่า (Nissan Serena) ในประเทศญี่ปุ่น นิสสัน โน๊ต อี-เพาเวอร์ มียอดขายมากกว่า 129,000 คัน ในปีแรกที่ออกจำหน่ายในญี่ปุ่น โดยลูกค้ามากกว่า 2 ใน 3 เลือกใช้รุ่นอี-เพาเวอร์มากกว่ารุ่นปกติ

นิสสันคาดการณ์ว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ที่ใช้ระบบอี-เพาเวอร์ จะมียอดขายคิดเป็นสัดส่วน 40% ของยอดขายทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่นและยุโรปภายในปี พ.ศ. 2565 และเพิ่มขึ้นเป็น 50% ภายในปี พ.ศ. 2568 โดยคาดการณ์ว่ายอดขายในสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ประมาณ 20 – 30% ในปี พ.ศ. 2568 ขณะที่ยอดขายในจีนอยู่ที่ 35 – 40%

อินฟินิตีนำระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้ามาใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่ทั้งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบหรือรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีอี-เพาเวอร์ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  โดยภายในปี พ.ศ. 2568 ที่จะถึง อินฟินิตีคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีสัดส่วน 50% ของยอดขายทั่วโลก

 

ระบบขับขี่อัตโนมัติ

สำหรับกลยุทธ์ด้านระบบขับขี่อัตโนมัติ นิสสันประกาศแผนงานติดตั้งเทคโนโลยี ProPILOT ในรถยนต์ 20 รุ่นใน 20 ตลาดภายในปี พ.ศ. 2565 บริษัทฯ คาดว่ารถยนต์ที่ติดตั้งเทคโนโลยี ProPILOT จะมียอดขาย 1 ล้านคันภายในปี พ.ศ. 2565

หลังจากนั้นจะมีการยกระดับเทคโนโลยี ProPILOT ให้สามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติบนถนนหลวงที่มีหลายช่องจราจรและสามารถจัดการในเรื่องจุดหมายปลายทางได้ คุณสมบัติใหม่ของเทคโนโลยีนี้จะถูกแนะนำเป็นโครงการนำร่องในญี่ปุ่นภายใน 1 ปี

 การเชื่อมต่อและการบริการเพื่อการเดินทาง

Nissan ตั้งเป้าหมายนำเสนอระบบการเชื่อมต่อแบบสมบูรณ์แบบ 100% ไว้ในรถยนต์นิสสันรุ่นใหม่ อินฟินิตี และดัทสันทุกรุ่นที่ออกจำหน่ายในตลาดสำคัญ โดยเริ่มจากการเปิดตัว ระบบ Alliance Connected Cloud ทำให้รถยนต์ทุกแบรนด์ในกลุ่มพันธมิตรสามารถผสมผสานการจัดการข้อมูลทั้งในอนาคต ปัจจุบัน และในอดีตของรถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อถึงกัน

เทคโนโลยีนี้จะสนับสนุนการบริการของระบบอินโฟเทนเมนท์และกลไกการสื่อสารที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้มีการปรับปรุงข้อมูลอัตโนมัติ แบบ over the air สำหรับรถยนต์ทุกคัน ช่วยเสริมพื้นฐานในการขยายระบบการเชื่อมต่อและการบริการเพื่อการเดินทางของนิสสัน รวมถึงการบริการรถยนต์ร่วมโดยสารขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งนิสสันเริ่มต้นทดสอบการบริการรถยนต์ร่วมโดยสารขับขี่อัตโนมัติที่มีชื่อว่า Easy Ride ร่วมกับพันธมิตร DeNA ในช่วงต้นเดือนนี้ นิสสันยังมีเป้าหมายในการให้บริการเพื่อการพาณิชย์แก่ลูกค้าโดยตรงภายในช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ. 2020

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา