เราจะเห็นวิธีใหม่ๆ ในการเลี่ยงภาษีของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ในไทย ซึ่งล่าสุดทางกรมสรรพากรได้ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้และเตรียมยกเครื่องการจัดเก็บรายได้ในส่วนนี้ใหม่ด้วย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่รัฐบาลกำลังปวดหัวกับเรื่องการจัดเก็บภาษีซื้อขายสินค้าออนไลน์กำลังสร้างความปวดหัวให้กับรัฐบาลหลายๆ ประเทศว่าควรจะเก็บที่อัตราไหนดี
ดูหน้าร้าน ซื้อออนไลน์สิ เรามีส่วนลดมากกว่านั้น
ช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าร้านค้าออนไลน์ในไทยมักจะมีการเปิดหน้าร้านไว้โชว์สินค้าที่ขายเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของร้าน และถ้าเป็นร้านขายของแนวเสื้อผ้า รองเท้า ส่วนมากจะเป็นที่ไว้ลองสินค้าว่าเข้ากับผู้ซื้อหรือไม่
แน่นอนว่าการขายของหน้าร้านนั้นย่อมโดนภาษีแน่นอน พ่อค้าแม่ค้าบ้านเราใช้วิธีไม่ขายของหน้าร้านแล้วเน้นการขายออนไลน์ซึ่งบางร้านเน้นการให้ส่วนลดสำหรับการที่ไม่ซื้อหน้าร้าน ซึ่งบางร้านให้ส่วนต่างสูงถึง 40% เลยทีเดียว
โดยเทคนิคดังกล่าวสร้างความปวดหัวให้กับหน่วยงานเก็บภาษีอย่างกรมสรรพากร เพราะว่าการขายออนไลน์ถือว่าลำบากในการไล่ตรวจสอบเรื่องของการขายของทางกรมสรรพากรอย่างมาก
สรรพากรเตรียมยกเครื่องการเก็บ VAT ของ E-commerce
กรมสรรพากรประมาณว่ามีผู้ขายของออนไลน์อยู่ประมาณ 500,000 รายในประเทศไทย โดย 350,000 รายเป็นผู้ขายในประเทศ มูลค่าในของตลาด E-commerce นั้นเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าปีนี้การเติบโตจะสูงถึง 17% เลยทีเดียว
โดยกระทรวงการคลังเตรียมยกเครื่องภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ E-commerce ใหม่ เช่นหากยอดขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องมีการจดทะเบียนเสียมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยรวมไปถึงการซื้อขายสินค้าจากต่างประเทศด้วยเพื่อที่จะได้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ขายในประเทศ
ล่าสุดนั้นเตรียมรวมไปถึงการยกเครื่องเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ ที่เวลาซื้อของจากต่างประเทศบางรายการมักจะมีการแตกใบเสร็จ เพราะว่าหากซื้อของไม่เกิน 1,500 บาทจะไม่โดนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งล่าสุดนั้นร่างภาษีนี้เตรียมเสนอนำเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีเร็วๆ นี้
ปัญหาต่อไปคือทำยังไงพ่อค้าแม่ค้าถึงจะเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม?
ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของกรมสรรพากรเช่นกัน อย่างที่ Brand Inside ได้เสนอไปเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับภาษีของ E-commerce โดยเรื่องของภาษีกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ถือว่าเป็นเรื่องยาขมเลยทีเดียว ซึ่งปัญหาหลังจากการออกภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ E-commerce มาใช้แล้ว จะทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มาใช้ช่องทางแบบถูกต้องนี้หรือไม่
ที่มา – ThaiPBS, Bangkok Post
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา