ชลากรณ์ ปัญญาโฉม แห่ง Workpoint เล่าเรื่อง Data กับการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล

บทความโดย กฤติน จรัสมานะโชติ

ธุรกิจยุคนี้ ข้อมูล หรือ Data คือหัวใจสำคัญในทุกความเคลื่อนไหว นอกจากเก็บข้อมูลแล้ว ต้องสามารถนำไปวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ได้ ซึ่ง ชลากรณ์ ปัญญาโฉม COO ของ Workpoint ได้พูดถึงการใช้ Data ในการทำงาน ในงาน Thailand Zocial Awards 2018 ได้อย่างน่าสนใจ

จากหนัง “Money Ball” ถึง “ห้องน้ำ”

ชลากรณ์ เล่าถึงเรื่อง Data ง่ายๆ โดยเริ่มจาก การออกเเบบห้องน้ำที่โรงละคร KBank ที่ ยืนยันว่าใช้เวลารอต่อคนไม่เกิน 5 นาที โดยสงสัยว่าทำไมห้องน้ำหญิงและชายต้องขนาดเท่ากัน เพราะผู้หญิงใช้เวลาเข้าห้องน้ำนานกว่า

ดังนั้น การออกแบบให้ห้องน้ำหญิงใหญ่กว่าห้องน้ำชาย และทำระบบในการรอคิวของห้องน้ำหญิงแบบเดินวนไม่ชนกัน เพื่อประหยัดเวลาในช่วงพักของละครเวทีที่มักจะให้เวลาพักครึ่งเเค่ 15 นาที โดยการออกเเบบข้างต้นใช้ Data ของเวลาการเข้าห้องน้ำชายและหญิง และจำนวนคนที่เข้าห้องน้ำมาทำการออกเเบบห้องน้ำ

ความสนใจในเรื่องการนำ Data มาใช้ในการทำงาน มาจากหนังเรื่อง Money Ball เป็นหนังที่อิงมาจากเรื่องจริง ของโค้ชเบสบอล ที่คัดเลือกผู้เล่นโดยใช้ Data ของเเต่ละคนในการเลือกซื้อผู้เล่นมาลงสนาม และให้ผลที่คาดไม่ถึง

Case Study ที่ยกมาเป็นตัวอย่าง

  1. คุณคิดว่าแฟนคลับของ BNK48 เป็นผู้หญิงหรือผู้ชายมากกว่ากัน

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะตอบว่า ผู้ชาย (กลุ่มโอตะทั้งหลาย) แต่จาก Data พบว่ามีสัดส่วนแฟนคลับผู้หญิง 52% และผู้ชาย 47% เท่ากับว่าความรู้สึกของทุกคนไม่ตรงกับความเป็นจริง ถ้ารู้แบบนี้ ก็จะรู้ว่า BNK48 เหมาะกับลูกค้ากลุ่มไหน ทำไมคนถึงสนใจ หรือแม้แต่ สื่อ ที่นำเสนอเรื่องราวของ BNK48 ก็ต้องพลิกแพลง หาประเด็นใหม่ มานำเสนอ เพราะรู้อยู่แล้วว่า เมื่อเผยแพร่ออกไป มีคนพร้อมติดตามแน่นอน

2. รายการ ซุปเปอร์เท็น เป็นรายการเด็กจริงหรือไม่

จากข้อมูลของผู้ชมพบว่า มีเด็กดูรายการนี้น้อยมาก ทั้งฝั่ง TV เเละ Online กลุ่มที่ดูเยอะ คือ ช่วงอายุ 20-40 

3. คนอวดผี อีจัน และ เลขอวดกรรม ไสยศาสตร์ยังขายได้เสมอ

รายการที่มีเนื้่อหาเกี่ยวกับความเชื่อ ไสยศาสตร์ ยังคงขายดีเสมอในไทย สำหรับ 3 รายการนี้ สัดส่วนหญิงดูมากกว่า คิดเป็น 60% ขณะที่ผู้ชาย 40% โดยมี engagement ถล่มทลาย คนดูย้อนกลับมาดูบ่อย

และทำให้แบรนด์ที่มาลงโฆษณาคือ Beauty Buffet เพราะกลุ่มลูกค้าดูรายการนี้ แม้จะเป็นรายการไสยศาสตร์ แต่ถ้าลูกค้าอยู่ที่นี่ แบรนด์ก็พร้อมจะตามมา นี่คือการปรับตัวของแบรนด์เหมือนกับ คำกล่าวที่ว่า Adapt or Die

สรุป

  • Behavior ของ Users ไม่มีใครบอกให้ดูจาก Data การใช้งาน เพราะข้อมูลไม่เคยโกหก
  • เมื่อมี Data ควรตั้งคำถามเเละถามว่า Data นั้นเป็นของจริงหรือไม่
  • ถ้าอยากสร้างสิ่งใหม่ๆ จาก Data ให้ลงมือทำได้เลย ไม่ต้องรอ
  • ทุกๆ Action ของการทำงานควรมี Data รองรับ พร้อมเหตุผล
  • การจ้าง Influencer ในยุคนี้ ควรขอ Data มาดูก่อนว่าเหมาะสมกับ Product หรือไม่
  • โลกสมัยนี้ไปไวมาก ควรดู Data บ่อยๆ เเล้วปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุบัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา