ผู้บริหารของธปท. ออกมาเตือนเรื่องความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยจาก “สงครามการค้า”

เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีความคาดหวังอย่างสูงอย่างยิ่ง โดยทางสภาพัฒน์ให้กรอบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยที่ 3.6-4.6% แต่อาจต้องมาคิดถึงเรื่องความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยกันใหม่อีกรอบจากเรื่องของนโยบายสงครามการค้า

ภาพจาก Shutterstock

ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย บอกว่า สงครามการค้าและเรื่องของภูมิศาสตร์การเมืองโลก (Geopolitics) เป็นความเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย ซึ่งประเทศไทยอาศัยการส่งออกไปต่างประเทศสูงถึง 70% ของ GDP

ถ้าสงครามการค้าเกิดเศรษฐกิจไทยอาจเจอช่วงยากลำบาก

เขากล่าวว่าเรื่องของการเมืองในเรื่องของการเจรจาต่อรองอย่างเช่น กำแพงภาษี เป็นประเด็นความเสี่ยงสำคัญและอาจลุกลามไปเป็นถึงเรื่องของสงครามการค้าได้ แต่ประเทศไทยยังโชคดีคือ เรื่องของการส่งออกที่เติบโต การอุปโภคบริโภคภายในประเทศไทยก็กำลังแข็งแกร่งตามมาเช่นกัน

ประเด็นสำคัญของเรื่องสงครามการค้าคือเรื่องของการที่ ปธน. ทรัมป์ ได้ลงนามอนุมัติการตั้งกำแพงภาษีเหล็กและอลูมิเนียม โดยยกเว้นให้กับบางประเทศเช่นเม็กซิโก แคนาดา ฯลฯ จึงทำให้บางประเทศไม่พอใจสหรัฐอเมริกา เช่น ทาง EU เตรียมอาจขึ้นภาษีกับกางเกนยีนส์ลีวาย เป็นต้น

เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้น

เขาได้กล่าวเสริมอีกว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นและรวมไปถึงเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังจับตามองเรื่องของความแข็งแกร่งในเรื่องของความต้องการในประเทศ เช่น เรื่องของการอุปโภคบริโภค ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามเป้าแล้วทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะเตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.5%

ปัญหาคือเงินไหลเข้า ทำให้บาทแข็ง

เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือเรื่องของค่าเงินบาท โดยเขาได้กล่าวเสริมถึงเรื่องของเงินทุนที่ไหลเข้า ซึ่งตัวเขาเองเป็นห่วงมากกว่าเรื่องของเงินทุนไหลออก ซึ่งล่าสุดเงินบาทไทยแข็งกว่าดอลลาร์สหรัฐถึง 12% ซึ่งเม็ดเงินไหลเข้ามาทำให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น ถึงแม้ว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะผ่อนคลายในเรื่องของการนำเม็ดเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศแล้วก็ตาม

ที่มาBloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ