ไอดีซี ประเทศไทยได้คาดการณ์ 10 แนวโน้มที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561และคาดว่าจะมีอิทธิพลถึงปี 2564 ภายใต้รายงานชื่อ “FutureScapes 2018”
การคาดการณ์ของ IDC มุ่งเน้นไปที่การใช้งานเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 ทั้งคลาวด์ โมบิลิตี้ บิ๊กดาต้า และโซเชียล ประกอบกับการใช้งานเทคโนโลยีตัวเร่งนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็น เออาร์/วีอาร์ ระบบคอมพิวเตอร์เสมือนมนุษย์ ระบบซีเคียวริตี้ยุคใหม่ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (ไอโอที) การพิมพ์ 3 มิติ และระบบหุ่นยนต์
เทรนด์นี้จัดขึ้นโดย จาริตร์ สิทธุ ผู้บริหารไอดีซีประจำประเทศไทย และทีมนักวิเคราะห์ของไอดีซีประเทศไทย
1: Digital Transformation Platform
ภายในปี 2563 20% ขององค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยจะมีการกำหนดกลยุทธ์การสร้าง “แพลตฟอร์มดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน” ที่ชัดเจน และ จะเริ่มดำเนินการติดตั้งแพลตฟอร์มนี้เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัล
มีการแยกระบบหลังบ้าน และสร้างนวัตกรรมให้ทันสมัย วิเคราะห์ข้อมูลดาต้าให้มากที่สุด เช่น Ping An แบรนด์ประกันในประเทศจีน มีการเปิดระบบเชื่อมภายนอกไปสู่ธุรกิจอื่นให้เป็น Ecosystem จะได้เห็นแนวคิดแบบนี้มากขึ้น
2: Open API Ecosystem
ภายในปี 2564 มากกว่าหนึ่งในสามของ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทยจะพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วหนึ่งในสามของการใช้งานบริการดิจิทัลของตน จะผ่านระบบเอพีไอแบบเปิด โดยเพิ่มขึ้นจากแทบ 0% ในปี 2560 ซึ่งทำให้สามารถขยายบริการดิจิทัลให้ไปได้ไกลกว่าแค่เฉพาะลูกค้าของตนเท่านั้น
เช่น Agoda ที่เปิด API ทำให้ได้รับข้อมูลจาก Skyscannet ทำให้ได้ลูกค้ามากขึ้น ผู้เล่นต่างๆ จะเปิด API มากขึ้นเพื่อเป็นพาร์ทเนอร์กับแบรนด์นอกอุตสาหกรรม
3: Digital Business
ภายในปี 2561 30% ของผู้บริหารด้านไอทีจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การสร้างรายได้จากดาต้า และการสร้างธุรกิจดิจิทัล โดยถือว่าเป็นวาระสำคัญขององค์กร
เช่น UEM บริหารธุรกิจทางด่วนในมาเลเซียมีข้อมูลผู้ใช้ทางด่วนในแต่ละวัน และได้นำดาต้าไปขายให้กับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และหาพาร์ทเนอร์ในกลุ่มอาหาร และเครื่องดื่มมาเติมในจุดพักรถ
4: Cloud 2.0
จะได้เห็น Cloud เข้าสู่ยุค 2.0 มีการออกแบบตอบรับความต้องการเฉพาะ โดยที่ภายในปี 2564 การลงทุนขององค์กรในบริการคลาวด์ และฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่ใช้งานผ่านคลาวด์ จะเพิ่มจนสูงกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้งานระบบคลาวด์ที่หลากหลายขึ้น ซึ่งจะอยู่ที่ “Edge” 15% จะมีการใช้เครื่องมือคอมพิวต์เฉพาะทาง (ไม่ใช่ X86) กว่า 10% และจะมีการใช้งานมัลติ คลาวด์กว่า 30%
5: Risk and Trust
เป็นยุคที่มีการปกป้องดาต้ามห้ได้มากที่สุด ภายในปี 2561 30% ของผู้บริหารด้านไอทีจะหันกลับมาสนใจการตรวจสอบผู้ใช้งานระบบและการสร้างความเชื่อมั่นในระบบไอที เพื่อบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้เดิมที่ไม่สามารถปกป้องดาต้าได้นั้นถูกปลดระวางไป
ความท้าทายคือต้องสร้างจุดสมดุลระหว่างความปลอดภัย กับประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า ต้องไม่ให้เป็นอุปสรรคในการทำดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น
6: Digital Transformation Talent
จริงๆ แล้วบุคลากรในประเทศยังไม่พร้อมที่ตะเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่นเท่าไหร่ แต่ภายในปี 2563 25% ของตำแหน่งงานด้านเทคนิคที่เปิดใหม่ จะต้องการผู้สมัครที่มีทักษะการวิเคราะห์และเอไอ เพื่อช่วยองค์กรให้ดำเนินโครงการทรานส์ฟอร์เมชันที่เกี่ยวข้องกับดาต้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องว่าจ้างบุคลากรด้านดาต้าโดยเฉพาะ โดยที่ตำแหน่งอื่นๆ จะต้องมีสกิลทางด้านไอทีด้วย
7: Digital Assistants
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีอิมแพ็คจาก Chatbot มาเยอะ และภายในปี 2562 ผู้ช่วยดิจิทัลและบอทจะมีส่วนเกี่ยวข้องเพียงแค่ 3% ของธุรกรรมทั้งหมด แต่จะช่วยสร้าง 10% ของยอดขาย ซึ่งจะช่วยผลักดันให้องค์กรที่ใช้งานเทคโนโลยีนี้ให้เติบโตได้
เช่น Starbucks Reorder สตาร์บัคส์ในต่างประเทศมีการจับมือกับอเมซอน โดยเก็บข้อมูลการซื้อกาแฟ 10 ครั้งหลังสุด แล้วสามารถเสนอการขายแก่ผู้บริโภคได้ตามข้อมูลที่มี เป็นการกระตุ้นการซื้อสินค้ามากขึ้น
8: 5G/ Mobile IoT
ภายในปี 2564 บริการ 5G จะช่วยผลักดันการใช้งาน IoT และจะกระตุ้นให้ 50% ของ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทยลงทุนในโซลูชันด้านการจัดการการเชื่อมต่อเป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท อุปกรณ์ต่างๆ จะรองรับโซลูชั่นของ IoT ได้
ความพิเศษของ 5G คือ Network Slicing โอเปอเรเตอร์สามารถดีไซน์ตามความต้องการของแต่ละโซลูชั่นได้
9: Home IoT Security
ภายในปี 2563 กว่า 22% ของโซลูชัน IoT ภายในบ้านที่ติดตั้งด้วยตนเองจะถูกเจาะระบบ แต่จะมีเพียง 12% ของโซลูชันไอโอทีภายในบ้านที่ติดตั้งโดยผู้ให้บริการเท่านั้นที่จะถูกเจาะระบบ ต้ฃอมีการทำระบบให้ปลอดภัยมากขึ้น
10: Mobile Payment
เป็นเรื่องที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะเป็นเทรนด์ดาวรุ่งในปันี้ และปีต่อๆ ไป ภายในปี 2563 อุปกรณ์เคลื่อนที่จะกลายเป็นเทอร์มินัลรับชำระเงินในประเทศไทยและในกลุ่มร้านค้า SME โดยการใช้งานนี้จะผลักดันให้รายได้ของผู้ประกอบการขนาดย่อมเติบโตขึ้น 10%
รวมถึงพฤติกรรมการใช้เงินสดของผู้บริโภคที่มีน้อยลง การจ่ายเงินมีทางเลือกมากขึ้นทั้ง NFC, QR Code มีการผลักดันจากภาครัฐ รวมทั้งผู้เล่นธนาคาร และ Non-Bank ต่างทำตลาดอย่างหนัก ในการทำให้เพย์เมนต์เติบโต
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา