สรุป 8 เทรนด์สำคัญที่นักการตลาด Digital Marketing ควรรู้ไว้ ก่อนเข้าปี 2023

photo : pixabay

2022 เป็นอีกหนึ่งปีที่ท้าทายมากสำหรับนักการตลาดออนไลน์และผู้คนในวงการ Digital Marketing ทุกคน เพราะมีเรื่องราวมากมายและเทรนด์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วบางสิ่งคงอยู่และสามารถไปต่อได้ในปีหน้า บางอย่างก็มาเร็วไปเร็ว บางอย่างก็ซบเซาจนเห็นได้น้อยลง
Brand Inside ได้รวบรวม 8 เทรนด์สำคัญๆ สำหรับนักการตลาดเพื่อเป็นการวางแผนและเตรียมตัวเข้าสู่ปี 2023 ที่กำลังจะมาถึงนี้

8 เทรนด์สำคัญที่นักการตลาดควรรู้ไว้ ก่อนเข้าปี 2023

Influencer จะยังอยู่กับเราต่อไป

photo : pixabay

การใช้ Influencer ในการทำการตลาดออนไลน์มีมาอย่างยาวนานบนโซเชียล และในปี 2022 นั้น TikTok ก็กลายเป็น Platform หลักที่ Influencer และ Brand หมายปองจะทำการตลาดให้ปัง การใช้ Influencer อย่างถูกต้องนั้นไม่ได้มีหลักการตายตัว หากแต่เกิดจากความเชื่อมั่นที่มีต่อ Influencer คนนั้นใน Industry หรือ Area ที่พวกเค้าเหล่านั้นเชี่ยวชาญ นอกจาก Brand จะมีการปรับตัวเข้าหาลูกค้าในหลายกลุ่ม ตัวของ Influencer เองก็มีการปรับตัวเพื่อให้มีฐานแฟนเพิ่มจากเดิมและก้าวเข้าสู่ Area ที่พวกเค้าเหล่านั้นสนใจเพิ่มเติม
การใช้ Influencer Marketing นั้นไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นต่อ Brand หรือ Product เท่านั้นแต่ตัวของ Influencer เองก็ได้รับความเชื่อใจมากยิ่งขึ้น ทำให้การสื่อสารสิ่งไหนออกมาจากพวกเค้าจะได้รับการไว้วางใจมากขึ้นไปอีก

LIVE และ Streaming กลายเป็นสื่อหลักแต่จะยังไม่แทนที่สื่อเดิม

photo : pixabay

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวงการ LIVE และ Streaming นั้นนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น และมีรูปแบบที่แตกแขนงออกไปมากมาย ความสะดวกสบายในการรับชม LIVE จากหลากหลาย Device ที่มีการรองรับยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้ยอดผู้รับชมและยอด Streamer และนักไลฟ์สดมีมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Platform e-commerce ก็มีการปรับปรุงให้แอปพลิเคชั่นมีฟีเจอร์ของการ LIVE ทำให้เพิ่มช่องทางการขายของร้านค้าได้มากยิ่งขึ้น หรือ TikTok ที่สามารถทำการ LIVE ได้ก็ยิ่งทำให้เกิด Interaction กับแฟนคลับและผู้คนได้มากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสในการมองเห็น TikToker หน้าใหม่สำหรับ Brand ได้มากขึ้น

วิดีโอการสาธิตแบบสั้น

photo : pixabay

เทรนด์เรื่องวิดีโอสั้นเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงหลังๆ หนึ่งในสาเหตุที่เทรนด์นี้ได้รับการยอมรับนั่นก็คือผู้คนมักรับชม Content บนมือถือเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น Content ไหนที่เข้าได้ใจได้ใน 3 วินาทีแรกก็มักจะได้ reach และ engagement สูง หนึ่งในนั้นก็คือ short-video เพราะสามารถรวบรัดทุกอย่างจบได้ภายใน 1 นาทีหรือน้อยกว่านั้น หากเนื้อหามีความยาวมากกว่านั้นก็สามารถแยกเป็น part ได้ ทำให้การรับชมสามารถรับชมได้ต่อเนื่อง

User-Generated Content ที่มาจากปากต่อปาก

photo : pixabay

User-Generated Content เป็น Content ในลักษณะที่ Brand อาจไม่ได้เป็นคนกำหนดว่าต้องทำไปในทิศทางใด แต่เกิดมาจากตัวผู้ใช้สินค้าเป็นผู้เขียนและให้ข้อมูลมา เช่น การรีวิวสินค้าหรือบริการด้วยตัวผู้ใช้เองจากประสบการณ์จริง ติชมด้วยความเป็นจริง ซึ่ง Content ในลักษณะนี้ก็อาจจะมีบ้างที่ Brand เป็นคนหาผู้ใช้จริงมาให้ข้อมูลเพื่อทำ Content ออกมา ซึ่งมักจะได้ผลมากเนื่องจากความเชื่อมั่นในตัวของคนที่มารีวิวให้ซึ่งอาจจะเป็น Influencer หรือไม่ก็ได้ แต่ในปัจจุบันบางครั้งโซเชียลก็อาจจะมีความสงสัยในตัว Content ว่านี่คือการพูดถึงจากใจจริงหรือจ้างมา เช่นสำนวน ประโยค ในการสื่อสารแม้จะมีการใช้คำที่เหมือนเวลาเราพูดกับเพื่อนแต่มีการแนบ affiliate link ก็อาจจะทำให้คนอื่นๆ เข้าใจผิดว่านี่คือการจ้างมารีวิวหรือไม่ ตรงจุดนี้เป็นโจทย์ที่ทาง Brand ต้องมีการพัฒนารูปแบบการสื่อสารให้สามารถวัดผลและสื่อสารไปยังกลุ่มผู้สนใจโดยที่พวกเขาไม่รู้สึกว่าโดนยัดเยียดมากเกินไป

Interactive Content จะเพิ่มความฉลาดมากยิ่งขึ้น

photo : tech.fb.com

แม้ Interactive Content จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามากยิ่งขึ้นในหลายๆ ด้าน ทำให้เราสามารถ generate content ในรูปแบบ interactive ได้มากยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้เราอาจจะเคยเห็นซีรี่ย์ที่สามารถเลือก Choice เพื่อเปลี่ยนแปลงเส้นทางการดำเนินเรื่องได้ ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยี VR และ AR ทำให้เราสามารถเล่นกับวัตถุได้มากขึ้นอย่างเช่น Filter ใน stories Instagram ที่หลายแบรนด์มีการกระโดดเข้ามาเล่นกันมากขึ้น มีทั้ง Filter ตัวอักษร, Quiz และอีกมากมาย ซึ่งถือว่าเป็นการวางรากฐานของ Content รูปแบบนี้เอาไว้เพื่อต่อยอดได้เป็นอย่างดี

User Experience จะยิ่งสำคัญมากยิ่งขึ้น

photo : Apple

User Experience หรือที่เราเรียกว่า UX ถูกพูดถึงในมุมกว้างมากขึ้น ไม่เฉพาะกลุ่มของคนที่ทำ Design เท่านั้นแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้งานเองก็สามารถระบุได้เองแล้วว่าตัวเองชอบ UX แบบใด ไม่ชอบแบบใด ดังนั้นหากดีไซน์ของเว็บ แอปพลิเคชั่น หรือแม้กระทั่ง Interactive Content ที่เราได้พูดถึงก่อนหน้ามีความยุ่งยากและใช้งานลำบากก็มีสิทธิสูญเสียลูกค้าตรงจุดนี้ไปได้ โดยเฉพาะ content ที่ยากต่อการเข้าใจอาจจะถูกเลื่อนผ่านไปอย่างน่าเสียดาย ยกตัวอย่างเช่น iPhone 14 Pro มีการทำ Dynamic Island เพื่อรองรับการแสดงผลที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละแอปพลิเคชั่น หากคุณแสดงผล popup นั้นได้น่าสนใจ ก็จะมีผลต่อการพูดถึงแอปพลิเคชั่นของคุณในวงกว้าง

Real-Time Response และ ChatBot ยังคงได้รับความนิยมหากพัฒนาให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

photo : pixabay

ChatBot เป็นมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องด้วยข้อมูลที่ถูกนำมาทำการวิเคราะห์และประมวลผลผ่าน AI และ Machine Learning ทำให้หลังๆ มานี้เราจะเห็นการใช้ ChatBot หรือ Real-Time Assistant ทำงานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เมื่อทำงานได้หลากหลายมากขึ้น ChatBot เหล่านี้จึงถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่นการใช้ ChatBot ใน LiveChat แทนที่การพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในบางหัวข้อ ทำให้เป็นการลดจำนวนเรื่องที่ส่งเข้าหาเจ้าหน้าที่ และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่ต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้น อีกทั้งยังทำให้ภาพลักษณ์ของ Brand ดูมีความล้ำหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งในอนาคตเทรนด์ตรงนี้จะถูกปรับปรุงและพัฒนาอีกขึ้นอีกอย่างแน่นอน

ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย


photo : pixabay

ภายหลังการบังคับใช้ PDPA ในไทย ทั้งตัวผู้ใช้และ Brand มีความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัวมากยิ่งขึ้น การขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวมีการขอ consent มากยิ่งขึ้น ผู้ใช้รู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการสอบถามก่อนใช้งานและระหว่างใช้งาน ดังนั้นการปรับปรุงการดูแลความปลอดภัยข้อมูลของผู้ใช้งานจึงเป็นเรื่องที่จะถูกมองว่าสำคัญมากๆ หลังจากนี้แหละตัวของผู้ใช้เองก็มีการคอยช่วยกันตรวจสอบหากพบว่ามีการกระทำใดที่ดูจะละเมิดข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ในวงกว้าง

ที่มา : stepstraining.co, TalkaTalka, marketingoops.com, fb.com

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา