‘ที่อยู่อาศัย’ คือหนึ่งในปัจจัยสี่ของทุกคน เมื่อถึงเวลาที่ต้องซ่อมแซมหรือตกแต่งบ้านหรือคอนโดใหม่ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากเรื่องสุดวิสัย เช่น ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ อย่างแผ่นดินไหว หรือน้ำท่วม, เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน, เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน, เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต หรือเพื่อรองรับความต้องการของสมาชิกในครอบครัว มักจะต้องใช้จ่ายก้อนใหญ่ การวางแผนการเงินเพื่อปรับปรุงและตกแต่งบ้านหรือคอนโดใหม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีคำแนะนำที่ช่วยให้คุณคลายความกังวลจากการจัดการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม รวมทั้งวิธีบริหารค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือตกแต่งบ้านหรือคอนโดอย่างเป็นขั้นตอนและไม่ซับซ้อนมาฝากกัน
1. กำหนดเป้าหมาย : เพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมกับงบประมาณที่มี ควรให้ผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรเข้ามาดูบ้านเพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่ก่อน เช่น โครงสร้างภายใน-ภายนอก, ระบบไฟฟ้า, ระบบประปา, ส่วนผนังและพื้น เป็นต้น จากนั้นวางแผนปรับปรุงหรือตกแต่งบ้านด้วยการจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง แยกเป็น “งานจำเป็น” และ “งานที่อยากทำการปรับปรุง” โดยให้เน้นคำนึงถึงงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยมาเป็นลำดับแรก ตามด้วยงานที่ส่งผลกระทบหลักต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนงานอื่น ๆ จัดเป็นความสำคัญรองที่อาจทยอยทำเพิ่มเติมในภายหลังตามงบประมาณที่มีได้
2. ประเมินค่าใช้จ่าย : กำหนดงบประมาณโดยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลการซ่อมแซม ทำการประเมิน และหาข้อเสนอจากผู้รับเหมาหรือร้านวัสดุก่อสร้างโดยให้เปรียบเทียบราคาและคุณภาพงานอย่างน้อย 2-3 แห่ง จากนั้นให้คำนวณค่าใช้จ่ายโดยละเอียด พร้อมเตรียมงบสำรองฉุกเฉินประมาณ 10-20% ของงบประมาณ รวมเผื่อกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือเกิดเปลี่ยนแปลงงานกลางคัน
3. หาแหล่งทุน : ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือตกแต่งบ้านมักจะเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ แหล่งทุนก็มักจะมาจาก เงินออมหรือรายได้ประจำ โดยควรทยอยเก็บออมล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือน แต่หากใช้งบประมาณสูง อาจพิจารณาขอสินเชื่อปรับปรุงและตกแต่งบ้านจากสถาบันการเงิน โดยสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขในการชำระเงินก่อนตัดสินใจ ขั้นตอนขอสินเชื่อมี 3 วิธีง่าย ๆ คือ 1. พิจารณาเลือกสินเชื่อที่ใช่ เช่น สินเชื่อปรับปรุงบ้าน, สินเชื่อที่ใช้บ้านเป็นหลักประกัน เป็นต้น 2. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เช่น งบประมาณที่ใช้ปรับปรุงและตกแต่ง, หลักฐานรายได้ผู้กู้ เป็นต้น จะทำให้ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อผ่านได้ง่ายขึ้น และ 3. วางแผนการชำระเงินคืน คิดคำนวณดูว่า จากรายได้ในแต่ละเดือนจะมีเงินพอที่จะจ่ายคืนได้เท่าไหร่ โดยหากอยากหลีกเลี่ยงภาระดอกเบี้ยที่สูง แนะนำให้เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากหลายสถาบันการเงินเพื่อหาเงื่อนไขที่ดีที่สุดก่อนทำเรื่องกู้ และควรวางแผนไม่ให้เงินที่ต้องชำระคืนสูงกว่า 20% ของรายได้ในแต่ละเดือน นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องซ่อมแซมบ้านเนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว หรือน้ำท่วม อาจตรวจสอบสิทธิประโยชน์จากประกันภัยหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่ากรมธรรม์บ้านหรือคอนโดที่ทำไว้ว่ามีความคุ้มครองหรือไม่ และรีบทำเอกสารส่งเคลมเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม เป็นต้น
4. ลงมือ: เมื่อได้ผู้รับเหมาที่น่าเชื่อถือแล้วให้ทำสัญญาก่อนเริ่มงานและตรวจสอบรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงงานและการจ่ายเงินเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง จากนั้นจึงเริ่มตามลำดับ ได้แก่ 1. งานด่วน (เช่น โครงสร้างบ้าน, โครงสร้างเหล็ก, โครงสร้างคอนกรีต เป็นต้น) 2. งานพื้นฐาน (เช่น ระบบไฟฟ้า, ระบบประปา, ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น) 3. งานตกแต่ง (เช่น ทาสี, ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์, งานตกแต่งภายใน เป็นต้น) พร้อมทั้งติดตามและปรับแผนงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบที่วางไว้ และสามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
5. บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ตัวช่วยเรื่องบ้านที่ไม่ควรมองข้าม : บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล นับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเมื่อต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องบ้าน เนื่องจากบัตรเครดิตบางประเภทให้สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเกี่ยวกับการดูแลและตกแต่งบ้านที่คุ้มค่า เช่น ส่วนลด, โปรโมชันพิเศษต่าง ๆ, คะแนนสะสม หรืออาจเลือกผ่อน 0% ได้นานหลายเดือนตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน ช่วยให้บริการจัดการการใช้จ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น บัตรเครดิต โฮมโปร วีซ่า แพลทินัม ที่มอบส่วนลด 3% หากทำครบตามเงื่อนไขเมื่อรูดใช้จ่ายสินค้าเกี่ยวกับบ้านที่โฮมโปรทุกสาขา หรือเมื่อใช้บริการ Home Service ดูแลทุกบริการเรื่องบ้าน, หรือบัตรโฮมโปร เฟิร์สช้อยส์ ที่มอบสิทธิ์ผ่อน 0% นานสูงสุด 24 เดือน เมื่อใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่โฮมโปรทุกสาขาและโฮมโปร ออนไลน์ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กำหนด) ทั้งนี้ บัตรเครดิต : ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี, สินเชื่อส่วนบุคคล : อัตราดอกเบี้ยปกติ 25% ต่อปี, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 15%-25% ต่อปี
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา