รายได้จาการท่องเที่ยวเริ่มมีส่วนสำคัญของญี่ปุ่น หลังจากเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงประชากรเกิดใหม่นั้นมีปัญหา ซึ่งหนึ่งในวิธียกระดับการท่องเที่ยวแดนอาทิตย์อุทัยก็คือการนำ Virtual Reality (VR) เข้ามาเป็นส่วนดึงดูดอีกแรง
สร้างความแตกต่าง และประทับใจ
ปัจจุบันรัฐบาลกลางญี่ปุ่นมีการสนับสนุนให้เมืองท่องเที่ยวต่างๆ เริ่มลงทุนในเรื่อง Virtual Reality (VR) กันมากขึ้น เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวให้มีมากกว่าแค่สถานที่สวยๆ หรือประวัติศาสตร์เก่าแก่ เพราะตัว VR นั้นช่วยสร้างความแตกต่างจากการท่องเที่ยวแบบเดิมได้อย่างชัดเจน ผ่านภาพนิ่ง หรือเคลื่อนไหวที่ซ้อนเข้ามาตามสถานที่ต่างๆ
เช่นเมือง Bidai ในจังหวัด Hokkaido ก็การลงทุน Application เกี่ยวกับ VR ที่เปิดให้นักท่องเที่ยว หรือผู้สนใจได้ใช้ฟรีตั้งแต่ปี 2558 เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวผ่านมุมมอง 360 องศา พร้อมภาพเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงสามารถเปลี่ยนแปลงไปในฤดูกาลหลากหลาย ซึ่งจุดนี้เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของเมืองถึง 30% ในปีปฏิทิน 2558
นอกจากนี้ยังมีเมือง Seki ในจังหวัด Gifu ที่นำประโยชน์จาก VR มาประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยวเช่นกัน โดยตั้งแต่ปี 2559 ทำ Application ที่มีบริการ VR เพื่อใช้นำเที่ยวแก่ผู้สนใจ พร้อมร่วมสนุกด้วยการตอบปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ด้วย ซึ่งผลลัพธ์ออกมาก็ค่อนข้างดีในเรื่องกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยประสบการณ์ใหม่
แต่นอกจากรัฐจะสนับสนุนเรื่องนี้แล้ว ความต้องการในฝั่งเอกชนก็มีเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Toppan Printing ที่เข้ามาช่วยงานภาพที่ปรากฎขึ้นภายใน Application ต่างๆ ซึ่งนั่นก็ยังไม่เพียงพอนัก เพราะคุณภาพของภาพ รวมถึงวีดีโอยังค่อนข้างต่ำ จึงได้แค่สนุกๆ ชั่วคราวเท่านั้น
ซึ่งจุดนี้เองรัฐบาลกลางญี่ปุ่นมีการสนับสนุนให้เทศบาลเมืองต่างๆ ลงทุนเรื่อง VR เพื่อสร้างรายได้จากกการท่องเที่ยวได้มากขึ้น และเกิดรายได้ภายในเขตเมืองได้มากกว่าเดิม โดยมีเป้าหมายคือขยายนักท่องเที่ยวต่างชาติให้แตะ 40 ล้านคนในปี 2563 หรือช่วงเดียวกับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก โดยปี 2559 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 24 ล้านคน
สรุป
การลงทุน Virtual Reality (VR) น่าจะเป็นอีกทางออกจริงๆ สำหรับการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย เพราะมันช่วยเพิ่มประสบการณ์ใหม่จริงๆ แต่ประสบการณ์เหล่านั้นต้องจัดทำมาอย่างดีจริงๆ ก่อน จึงจะติดตราตรึงใจผู้บริโภคที่ใช้งานได้เลย ซึ่งในประเทศไทยก็เคยพัฒนาอยู่ระยะหนึ่ง แต่ด้วยคุณภาพที่ต่ำ ก็ทำให้การใช้งานมีไม่มาก
อ้างอิง // Japan Times
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา