การแสดงสัญลักษณ์ติ๊กถูกของแบรนด์ Nike บนเครื่องแต่งกายของทุกทีมในลีกบาสเก็ตบอล NBA ต้องใช้งบประมาณถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เมื่อนักกีฬาไม่พยายามจะโชว์มันออกมา ทุกอย่างก็แทบจะไร้ค่า
The @warriors win 3rd straight game, improve to 5-1 on road.#DubNation beat @nuggets 127-108 on 25/7/7 from KD & 22/11 from Curry. pic.twitter.com/TdyDnzivG9
— NBA (@NBA) November 5, 2017
ขัดกับสปอนเซอร์หลักของนักกีฬา
ฤดูกาลก่อน Adidas คู่แข่งของ Nike ได้สิทธิ์สนับสนุนเครื่องแต่งกายให้ลีกบาสเก็ตบอล NBA เป็นฤดูกาลสุดท้าย ซึ่งขณะนั้น Nike กำลังอยู่ในช่วงวิกฤติ เพราะความนิยมเริ่มตก ทำให้ทางแบรนด์ตัดสินใจทุ่มเงินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 33,000 ล้านบาท) เพื่อได้สัญญาเข้ามาสนับสนุนเครื่องแต่งกายให้กับลีก NBA เป็นเวลา 8 ปี
โดยหวังการเข้ามาแทนที่คู่แข่งจะทำให้แบรนด์กลับมาเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะเสื้อกีฬา, เสื้อกางเกงรัดกล้ามเนื้อ, กางเกงกีฬา และถุงเท้า จะมีสัญลักษณ์เครื่องหมายถูกของ Nike แสดงไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด เท่ากับว่าช่วยโฆษณาแบรนด์ไปทั้งคนดูทั่วโลก ที่สำคัญการแปะโลโก้แบรนด์นั้น Adidas กลับทำไม่ได้ในฤดูกาลก่อน
Golden State Warriors: 3 ways #Stephen_Curry can improve defensively https://t.co/Qn0JhTL906 via @bluemanhoop pic.twitter.com/yv7UW6PUht
— FanSided NBA (@FanSidedNBA) October 27, 2017
แต่สุดท้ายแล้วความหวังข้างต้นกลับเดินได้อย่างไม่ราบรื่น หลังนักกีฬาบางคนที่ได้รับการสนับสนุนส่วนตัวโดย Adidas และ Under Armour พยายามไม่แสดงโลโก้ของแบรนด์ Nike ที่ติดอยู่บริเวณถุงเท้า เนื่องจากบริเวณนั้นใกล้กับแบรนด์รองเท้าที่สนับสนุนนักกีฬาคนนั้นอยู่ ซึ่งทางแบรนด์เองก็คงไม่อยากมีโลโก้ของคู่แข่งติดอยู่ใกล้ๆ
เมื่อกฎไม่ชัดเจนจึงยังทำได้อยู่
สำหรับนักกีฬาที่แสดงพฤติกรรมนี้ชัดเจนที่สุดก็คือ Stephen Curry ที่เป็นหน้าตาของแบรนด์ Under Armour โดยเขาเลือกจะพับถุงเท้าให้ลงมาปิดสัญลักษณ์ของ Nike รวมถึง James Harden ที่เป็นหน้าตาของแบรนด์ Adidas ก็ตัดข้อถุงเท้าด้านบนออก เพื่อไม่ให้แสดงสัญลักษณ์ของ Nike เช่นกัน
อย่างไรก็ตามยังไม่มีความชัดเจนความการกระทำดังกล่าวนั้นผิดกฎที่ NBA กำหนดให้นักกีฬาต้องแต่งตัวเรียบร้อยหรือไม่ ที่สำคัญเรื่องมันคงไม่แดงมาขนาดนี้ ถ้าในฤดูกาลก่อนที่ Adidas สนับสนุนเครื่องแต่งกาย ยกเว้นถูกเท้าที่สนับสนุนโดยแบรนด์ Stance นักกีฬาทั้งสองคนกลับไม่ปกปิดโลโก้ของแบรนด์ดังกล่าวแต่อย่างใด
และไม่ใช่ครั้งแรกของกีฬาอเมริกันชนที่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น เพราะในลีกเบสบอล MLB ก็ นักกีฬาที่มี Nike สนับสนุนก็จงใจใส่เสื้อรัดกล้ามเนื้อที่มีโลโก้ Nike แปะอยู่ตรงคอเสื้อ แล้วค่อยใส่เสื้อกีฬาที่สนับสนุนโดย Majestic ทับ แต่เสื้อกีฬานั้นไม่มีโลโก้ของ Majestic แต่อย่างใด จนผู้ชมหลายคนเข้าใจว่า เสื้อกีฬาก็สนับสนุนโดย Nike เหมือนกัน
สรุป
เมื่อเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ แบรนด์ต่างๆ ก็อยากใช้ประโยชน์นี้ช่วยสื่อสารข้อมูลแบรนด์ไปถึงผู้บริโภค แต่พอนักกีฬาไม่ให้ความร่วมมือ ก็คงไม่แปลกที่หลังจากนี้ Nike จะเข้ามากดดันให้ NBA บังคับนักกีฬาเหล่านี้ให้ความร่วมมือในการโปรโมทแบรนด์มากขึ้น เพราะมิฉะนั้นสัญญา 1,000 ล้านเหรียญก็คงเสียมูลค่าเปล่าๆ
อ้างอิง // Business Insider
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา