ขมขื่นกันมานานสำหรับบริษัทแท็กซี่ทั่วสหรัฐอเมริกา เพราะการเข้ามา Disrupt ธุรกิจของ Uber กับ Lyft แต่ทางออกก็ดูจะไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากต้องลงเล่นในสนามด้วยกลยุทธ์เดียวกันกับพวกเขา
ล้มยักษ์ไม่ได้ ก็ต้องใช้วิธีการเดียวกับยักษ์
สมาคม
- แต่จะทำอย่างไร? ห้ามก็ไม่ไหว จะเดินออกไปจากธุรกิจก็ไม่ได้
ทางออกก็คือ สมาคมนี้ไปผลักดันให้แต่ละรัฐในอเมริกาเปลี่ยนกฎหมายให้สอดคล้อง ไม่จำกัดบริษัทแท็กซี่ให้ต้องทำตามกฎเดิมๆ อีกต่อไป เพราะเห็นชัดอยู่แล้วว่า Uber กับ Lyft ได้สิทธิพิเศษมากกว่าในหลายด้าน ในขณะเดียวกันบริษัทแท็กซี่ที่อยู่ภายใต้สมาคมก็ต่างพากันปรับตัวครั้งใหญ่ ไม่ทำธุรกิจรูปแบบเดิม เพราะไม่เช่นนั้นก็อยู่ไม่รอด
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแท็กซี่รายหนึ่งชื่อ Pittsburgh Yellow Cab ในเพลซิเวเนียได้ทำการรีแบรนด์บริษัทใหม่เป็น zTrip พร้อมทั้งปล่อยแอพพลิเคชั่นเรียกรถร่วมโดยสาร รับทั้งเงินสดและบัตรเครดิต กำหนดเวลาให้มารับได้ หรือในเวลาเร่งด่วนก็เรียกใช้บริการพิเศษแบบเพิ่มราคาได้ พูดง่ายๆ ก็คือ Uber กับ Lyft ทำอะไรได้ บริษัทแท็กซี่เหล่านี้ก็จะทำให้ได้เหมือนกันหมด
สองยักษ์ได้อภิสิทธิ์ผ่านช่องว่างกฎหมาย จ่ายเงิน วิ่งเต้น-ล็อบบี้
สถาบันทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2012 – 2016 สองบริษัทคือ Uber กับ Lyft วิ่งเต้นล็อบบี้ไปทั่วทุกรัฐในประเทศ ใช้เงินรวมกันไปกว่า 14 ล้านเหรียญ คิดง่ายๆ คือ สูงกว่าเงินทั้งหมดในอุตสาหกรรมแท็กซี่ในปีที่ผ่านมาถึง 75%
แต่ในขณะนี้ ทางสมาคมก็กระตุ้นให้หลายรัฐเปลี่ยนกฎมาใช้แพลตฟอร์มที่เข้าถึงผู้โดยสาร/ลูกค้าได้มากขึ้น แต่ที่แน่ๆ แท็กซี่ยังจะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ตรวจสอบประวัติตามปกติ แต่เพิ่มกฎใหม่ที่เรียกว่า Hybrid Model เข้ามา เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง
นอกจากนั้น สมาคมนี้ยังได้โจมตี Uber กับ Lyft ผ่านการทำแคมเปญ Who’s driving you ที่พยายามจะสื่อให้เห็นถึงความเสี่ยงต่ออันตราย โดยในเว็บไซต์จะเปิดโอกาสให้มีการโพสต์อย่างหลากหลายจากผู้ใช้บริการ เช่นในกรณีถูกทำร้ายร่างกายจากการใช้แอพพลิเคชั่นเรียกรถ
การเพิ่มเข้ามาของกฎใหม่ในธุรกิจรถแท็กซี่น่าจะทำให้ Uber กับ Lyft ต้องทบทวนหลายอย่าง โดยเฉพาะความปลอดภัย แต่ถึงที่สุดแล้ว การปรับตัวของหลายบริษัทเพื่อเข้าแข่งขันในตลาดใหญ่ก็น่าสนใจ และเป็นสิ่งดีกับสังคมที่หลังจากนี้จะขึ้นมาแข่งกันบนดินแบบเปิดหน้ากันมากขึ้น
สู้กับ Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องใหม่ บริษัทแท็กซี่ญี่ปุ่นก็ทำแล้ว
เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทรถแท็กซี่ในโตเกียว ได้ประกาศทดสอบแอพพลิเคชั่นใหม่ที่ทำให้ลูกค้ามีโอกาสเห็นว่าค่าโดยสารจะเป็นเท่าไหร่ เลือกจุดหมายปลายทางในการโดยสารได้ ส่วนค่าโดยสารก็คิดตามระยะยาง โดยสรุปก็คือเหมือนกับบริการอย่าง Uber, Lyft, Grab หรือ Didi นั่นเอง
การปรับตัวนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะถ้าใช้ได้จริง ในปี 2018 จะนออกสู่ตลาด เพราะอีกประการสำคัญก็คือในปี 2020 ญี่ปุ่นจะจัดงานโอลิมปิค สมาคมแท็กซี่มองว่า บริการนี้จะทำให้ธุรกิจภาคท้องถิ่นพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
อ้างอิง – Bloomberg
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา