ช่วงปีที่ผ่านมาหลังจากบริษัทขนส่งทางเรือไม่ค่อยมีการต่อเรือขนาดใหญ่หรือยักษ์เป็นจำนวนมากเท่าไหร่นัก แต่ตอนนี้บริษัทขนส่งทางเรือเริ่มหันมาสนใจที่จะต่อเรือขนาดยักษ์มากขึ้น อะไรที่เป็นสาเหตุให้บริษัทเหล่านั้นยอมจ่ายค่าต่อเรือมหาศาลขนาดนั้น
โดยหลังจากปี 2014 เป็นต้นมาเรือขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ระดับ 18,000 TEUs (ตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต เท่ากับ 1 TEU) นั้นจะเป็นมาตรฐานใหม่ของวงการนี้ไปแล้ว และหลังจากนี้เรือยักษ์ระดับ 20,000 TEUs กำลังจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของบริษัทขนส่งทางเรือเป็นที่แน่นอนแล้ว
ยิ่งเรือลำใหญ่มากเท่าไหร่ ยิ่งประหยัดมากขึ้น
“ยิ่งเรือใหญ่มากเท่าไหร่ ความคุ้มค่ายิ่งจะมากขึ้นเท่านั้น” นี่เป็นคำบอกเล่าจากประธานของ Junichiro Ikeda ประธานของ Mitsui O.S.K. Lines หนึ่งในยักษ์ใหญ่ของบริษัทขนส่งทางเรือได้กล่าว เมื่อเทียบเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ 20,000 TEUs กับ 14,000 TEUs ความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับค่าเชื้อเพลิงนั้น เรือลำใหญ่ทำได้ดีกว่าเรือระดับเก่าถึง 30% ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก และเขายังได้แถมท้ายว่าดัชนีราคาขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ (ยกตัวอย่างเช่น CCFI หรือ SCFI) จะไม่พังเพราะเรือขนาดยักษ์แน่นอน
ยังมีเรือขนาดยักษ์รอส่งมอบอีก 58 ลำ แถมความต้องการในการขนส่งเพิ่มขึ้น
ข้อมูลล่าสุด เรือขนาดยักษ์ 20,000 TEUs นั้นมีการใช้งานทั่วโลกอยู่ตอนนี้ที่ 11 ลำ โดยลำล่าสุดในปี 2017 นั้นจะส่งมอบกันอย่างช้าที่สุดภายในปลายปีนี้ และยังมีเรือที่บริษัทต่างๆ สั่งต่อเรือขนาดยักษ์อีก 58 ลำ และกำลังทยอยส่งมอบเรื่อยๆ จนถึงปี 2020 โดยความต้องการขนส่งคาร์โก้นั้นสูงถึง 17% ส่วนปริมาณที่สามารถขนส่งได้ทั่วโลกจากเรือขนส่งเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 34%
Hanjin ล้มละลาย กลายเป็นข้อดีของผู้อยู่รอด
หลังจากที่บริษัท Hanjin ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งทางเรือรายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ได้ล้มละลายตอนต้นปีที่ผ่านมา เพราะไม่สามารถเพิ่มทุนได้ต่อ ทำให้ตลาดของบริษัทขนส่งทางเรือนั้นการตัดราคานั้นน้อยลงในช่วงนี้ แถมบริษัทขนส่งทางเรือในญี่ปุ่นเตรียมควบรวมกิจการกันระหว่างเจ้าใหญ่สามเจ้า Mitsui O.S.K., Nippon Yusen และ Kawasaki Kisen Kaisha ในชื่อ Ocean Network Express ในปีหน้านั้นราคาไม่น่าจะตัดลงได้มากกว่านี้อีกแล้ว
นักวิเคราะห์คาดว่าศึกตัดราคาน่าจะลดลงชั่วคราว แต่ในอนาคตนั้นไม่แน่
Hiroshi Hasegawa นักวิเคราะห์ของ SMBC Nikko Securities ได้ให้ประเด็นสำคัญในเรื่องของอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือว่าปัจจุบันนี้นั้นบริษัทต่างๆ สั่งต่อเรือลำยักษ์นั้นเป็นสัญญาณก่อนที่จะเกิดศึกราคาอีกครั้ง โดยตัวเขาเองคาดว่าในปี 2019 น่าจะเกิดศึกตัดราคาอีกรอบ เพราะยิ่งบริษัทไหนมีเรือลำยักษ์มาก ยิ่งประหยัดกว่า
ส่วนทางด้าน Corrine Png นักวิเคราะห์ของ Crucial Perspective มองว่าปี 2018 นั้น Capacity ของกลุ่มบริษัทขนส่งทางเรือเริ่มกลับมาอีกรอบ อาจทำให้เกิดศึกราคาได้
ที่มา – Nikkei Asian Review
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา