เครื่องหมายการค้า Swiss made นั้นเป็นเครื่องหมายสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพอย่างหนึ่งในใจลูกค้าหลายคน ใช้กันตั้งแต่ช็อกโกแลตยันนาฬิกา และเครื่องหมาย Swiss made นี้เองที่ช่วยให้ผู้ส่งออกสินค้ารับมือกับปัญหาค่าเงินฟรังก์สวิสตกต่ำได้
เมื่อสามปีที่แล้ว Swiss National Bank หรือธนาคารแห่งชาติสวิสได้ยกเลิกกำหนดขั้นต่ำเงินฟรังก์สวิส 1.20 ฟังก์ต่อยูโรเมื่อสามปีที่แล้ว ทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศสวิสแพงขึ้นถึง 10% ภายในคืนเดียว และทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตเพียง 0.6% ในปี 2015 จาก 1.8% ในปีก่อนหน้า แต่กับภาคการส่งออก ปัญหาค่าเงินนี้แทบไม่กระทบเลย
นักวิจัยจาก University of Basel เขียนไว้ในรายงานการศึกษาว่า เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์นั้นสามารถทนต่อวิกฤตได้ดีอย่างน่าประหลาดใจ แม้ว่าจะเกิด currency shock ในปี 2015 รวมถึงก่อนหน้าในปี 2011 ผู้ส่งออกสินค้าของสวิสก็ยังสามารถกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสถาบันวิจัย BAK Economics กล่าวว่ายอดการส่งออกของประเทศลดลงเพียง 1.4% ก่อนการปรับค่าเงินเท่านั้น
Swiss made เป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพในใจผู้บริโภค และเนื่องจากผู้ผลิตสินค้าจากสวิสนั้นลงทุนกับการโฆษณาแบรนด์กับการพัฒนาสินค้าเป็นอย่างมาก จึงทำให้ลูกค้ายังคงมั่นใจในสินค้า และยังดึงกลุ่มลูกค้าไว้ได้แม้ว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นมากก็ตาม จึงทำให้ภาคการส่งออกสินค้าของประเทศไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินมากนัก
แม้ว่าภาคการส่งออกสินค้าจากสวิตเซอร์แลนด์จะฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ แต่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ในอีกทางหนึ่งคือภาคการบริการนั้นกลับฟื้นตัวจากปัญหาค่าเงินได้ช้ากว่า
ส่วนยอดการว่างงานของสวิตเซอร์แลนด์จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่การปรับค่าเงิน โดยจาก 3.2% ในปี 2015 เป็น 3.3% ในปี 2016 แต่ล่าสุดในเดือนกันยายนที่ผ่านมายอดนี้ลดลงไปเหลือ 3.0% แต่นักวิชาการจาก ETH Zurich กล่าวว่า หากเปรียบเทียบตั้งแต่การปรับค่าเงินเป็นต้นมา ภาคอุตสาหกรรมได้ปลดคนงานไปกว่า 4.6% โดยทางบริษัทผู้จ้างงานนั้นยังคงต้องคิดอย่างรอบคอบในการเพิ่มคนงาน
ทั้งนี้ นอกจากเรื่องอัตราการว่างงานก็ยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือบริษัทในประเทศยังคงลงทุนในธุรกิจน้อยลง และนักเศรษฐศาสตร์กังวลว่าเทรนด์นี้เป็นภัยต่อการแข่งขันระยะยาวในอนาคต
ที่มา – Reuters
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา