ทรัมป์จัดหนัก จัดเต็ม จัดให้ขนาดนี้ อาเซียนอ่วม
การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าทั่วโลกของทรัมป์ ที่จะขึ้นในอัตรา 10% เท่ากันหมด แต่ภาษีนำเข้าต่างตอบแทน หรือภาษีโต้กลับ ที่เรียกว่า Reciprocal Tariff นั้น ถือว่าสาหัสมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียและอาเซียน (ดูตัวอย่างอัตราภาษีโต้กลับด้านล่าง)
จีนสาหัส อาเซียนก็แย่ไม่แพ้กัน
สหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้จีน 34% มีผลบังคับ 9 เมษายนนี้ ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยที่สหรัฐฯ เก็บจากจีนสูงถึง 75% อีกทั้งยังเตรียมยกเลิกข้อยกเว้นภาษีนำเข้ากับสินค้าขั้นต่ำที่มีมูลค่าไม่เกิน 800 เหรียญสหรัฐ (De Minimis) มีผล 2 พฤษภาคมนี้
แม้จีนจะปรับตัวด้วยการลดการส่งออกไปสหรัฐฯ ตั้งแต่สงครามการค้ายุคแรกที่เป็นยุคทรัมป์ 1.0 จากเดิม 20% ปี 2018 เป็น 15% ในปี 2024 ก็ยังเจอแรงกดดันต่อเนื่อง
สามารถจำแนกได้ดังนี้ ภาษีรอบนี้ปรับขึ้นมาที่ 54% เพราะอะไร?
1) มีภาษี 10% และ 10% จากวันที่ 4 กุมภาพันธ์ และ 4 มีนาคม 2025 ตามข้อกล่าวหาเรื่องเฟนทานิล และ Reciprocal Tariff ที่เป็นภาษีโต้กลับอีก 34% รวมแล้วสูงกว่ายุคทรัมป์ 1.0 เป็นการขึ้นภาษีอัตราเฉลี่ย 20% ตลอดวาระ 4 ปี
2) ภาษีครอบคลุมทุกสินค้า ต่างจากรอบก่อนที่เก็บเป็นบางรายการสินค้า มีสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภคที่ได้รับผลกระทบมากสุด เช่น โน๊ตบุค เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (แต่ส่วนใหญ่กระจายฐานการผลิตเพื่อลดความเสี่ยงแล้ว)
3) การบังคับใช้รอบนี้มีผลทันทีทุกกลุ่มสินค้า ขณะที่รอบก่อนเป็นการทยอยปรับขึ้นภาษีแบ่งเป็นลิสต์รายการสินค้า รวมระยะเลาปรับขึ้นภาษี ใช้เวลากว่า 1 ปี ผู้ประกอบการยังมีเวลาเตรียมความพร้อม
4) การประกาศขึ้นภาษีครอบคลุมทุกประเทศ ทำให้เปลี่ยนเส้นทางการค้าของจีนโดยใช้ประเทศที่สามเพื่อผลิตและส่งออกไปสหรัฐฯ ทำได้ยากขึ้น ต่างจากครั้งก่อน ขึ้นภาษีจีนเป็นหลัก
ผลกระทบจากการขึ้นภาษีตอบโต้หลังไตรมาส 2/2025
ผลทางตรง การส่งออกจีนไปสหรัฐฯ จะปรับลดลงราว 1 ใน 4
ผลทางอ้อม การลดลงของการส่งออกสินค้าเพื่อผลิตไปยังประเทศที่สามเพื่อทำตลาดสหรัฐ จะชะลอตัวกำลังซื้อทั่วโลก
ผลบวกที่จะได้รับคือ การระบายสินค้าจากจีนที่ล้นตลาดไปยังประเทศอื่นจะทำได้จำกัด การส่งออกของจีนจะหดตัวอย่างน้อย 3% ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนปี 2025 มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าที่เคยประเมิน 1% เป็น 3.6% ตัวแปรสำคัญคือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน
นอกจากนี้ ผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีทั่วโลกของทรัมป์ ทั้งรายประเภท และทั้งแบบโต้กลับ จะทำให้ทุกประเทศเดินหน้าหาทางเร่งเจรจากับสหรัฐฯ มากขึ้น เพื่อทำให้ภาษีลดลง ดังนี้
- 1) ลดทอนภาษีนำเข้าจากสหรัฐในประเทศตัวเอง
- 2) เจรจากนำเข้าสินค้าสหรัฐมากขึ้น และ/หรือ
- 3) ตั้งกำแพงภาษีตอบโต้ หากไทยจะตอบโต้จะต้องประกาศภาษีนำเข้า (อากรขาเข้า) จากสหรัฐฯ ที่อัตรา 37% จากเดิมที่เฉลี่ย 8% ในปัจจุบัน
ทำไม แคนาดา และ เม็กซิโก ประเทศเพื่อนรักไม่อยู่ในลิสต์ประเทศที่ถูกเรียกภาษีโต้กลับ?
จากชาร์ตที่ทำเนียบขาวจัดหนัก จัดเต็ม จะเห็นว่าไม่มีรายชื่อประเทศเพื่อนรักอยู่ในนั้นทั้งสองราย เพราะอะไร?
ก่อนหน้านี้ ทรัมป์เคยมีคำสั่งเรียกเก็บภาษีสินค้าทั้งหมดของแคนาดาและเม็กโกอยู่ที่อัตรา 25% ส่วนจีนก็ถูกเรียกเก็บเหมือนกันที่ 10% สำหรับเหตุผลที่เก็บภาษี อเมริกาอ้างว่าทั้งหมดนี้ไม่ได้แสดงความพยายามที่จะหยุดยั้งการอพยพเข้าประเทศแบบผิดกฎหมายและยับยั้งการลักลอบขนสารเฟนทานิลที่เป็นพิษและยาเสพติดอื่นเข้าประเทศทางตอนเหนือและตอนใต้เข้าประเทศมากพอ
สำหรับการค้าสหรัฐอเมริกากับแคนาดานั้น สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าสหรัฐฯ ในปี 2024 ประมาณ 6.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2023 ราว 1.4% อยู่ที่ 926.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนเม็กซิโกนั้น สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าอยู่ที่ 1.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 เพิ่มขึ้นจากปี 2023 อยู่ที่ 12.7% หรือประมาณ 1.93 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับประเด็นที่ว่า ทำไมแคนาดาและเม็กซิโกไม่อยู่ในลิสต์ขึ้นภาษีโต้กลับ ด้าน Chris Tang อาจารย์จาก UCLA ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการซัพพลายเชนโลกระบุว่า ที่ทั้งสองประเทศนี้ไม่อยู่ในลิสต์ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญลักษณ์ที่สหรัฐฯต้องการส่งสัญญาณไปยังประเทศเพื่อนบ้านว่า ยังเปิดช่องให้มีการเจรจาอยู่
ซึ่งถ้าพูดถึงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดากับเม็กซิโก ก็ยังมีความตกลงการค้าที่เรียกว่า USMCA อยู่ (USMCA คือ United States-Mexico-Canada Agreement ความตกลงสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก แคนาดา) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2020 ที่ผ่านมา
เป็นความตกลงที่มาแทนความตกลงการค้าอมริกาเหนือหรือ NAFTA (North America Free Trade Agreement) ทำให้สินค้าที่อยู่ในความตกลง USMCA ยังเป็นสินค้าปลอดภาษีอยู่ ซึ่งก็อาจจะมีความเปลี่ยนแปลงในระยะหน้าได้
ถ้าจัดอันดับอัตราภาษี แบบไม่บวกของเก่าสะสมนั้น สามารถลำดับได้ดังนี้ ระดับ 50%-40%
- เลโซโท 50%
- กัมพูชา 49%
- ลาว 48%
- มาดากัสการ์ 47%
- เวียดนาม 46%
- เมียนมา 45%
- ศรีลังกา 44%
- หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 42%
- ซีเรีย 41%
- มอริเชียส 40%
ระดับอัตราภาษี 39%-29%
- อิรัก 39%
- เซอร์เบีย 38%
- บอสวานา 38%
- กายอานา 38%
- ไทย 37%
- บังคลาเทศ 37%
- ลิกเตนสไตน์ 37%
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 36%
- จีน 34%
- มาซิโดเนียเหนือ 33%
- แองโกลา 32%
- อินโดนีเซีย 32%
- ฟิจิ 32%
- สวิตเซอร์แลนด์ 32%
- ไต้หวัน 32%
- ลิเบีย 31%
- มอลโดวา 31%
- แอฟริกาใต้ 31%
- ปากีสถาน 30%
- อัลจีเรีย 30%
- นาอูรู 30%
ระดับต่ำกว่า 29% ลงมา สามารถอ่านเนื้อหาเต็มได้ที่ลิงก์นี้
ที่มา – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, SCBX InnovestX, CNN, The White House (1), (2), The Motley Fool, Business Insider, USTR (1), (2)
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา