มองนวัตกรรมทางการเงินที่ใกล้จะมาถึง ผ่านวิสัยทัศน์ของ Visa-Mastercard และ IBM

ในโลกการเงิน “นวัตกรรม” คือสิ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งพัฒนา เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันบนอุตสาหกรรมนี้ ซึ่ง QR Code ที่เห็นทุกธนาคารโปรโมทก็คือเรื่องเดียว เพราะจริงๆ ยังมีเรื่องให้เห็นอีกมากในอนาคต

การนำระบบต่างๆ ที่ Visa มีมาจำลองเป็นกล่อง พร้อมกับเปิดให้พาร์ทเนอร์สามารถนำกล่องเหล่านี้มาเชื่อมต่อกันเพื่อสร้างเป็นบริการใหม่ได้

เปิดกว้าง และสร้างให้เร็วในแบบ Visa

เริ่มด้วยมุมมองของ Visa ที่ปัจจุบันไม่ได้เป็นแค่คนดูแลเรื่องบัตรเครดิตอีกต่อไป เพราะปรับตัวเองใหม่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการชำระเงิน และการปรับตัวครั้งนี้ ก็เน้นไปที่เรืื่องเปิดกว้างในการเชื่อมต่อ พร้อมพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้เร็วเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกการเงินที่จะมาถึงในอนาคตให้ได้

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการ Visa ประจำประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า ทางบริษัทเล็งเห็นเรื่องนี้ จึงสร้าง Innovation Center ไว้ 6 แห่งทั่วโลก เพื่อช่วยกันพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ตลาด ซึ่งการพัฒนานั้นก็ต้องเร็ว ตัวอย่างเช่น 6-8 สัปดาห์ก็ต้องมีผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ ออกมาให้เห็นบ้าง

“Costumer Centric กลายเป็นสิ่งที่เราคิดเป็นอย่างแรกในการสร้างผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ แต่กว่าจะถึงจุดนี้เราก็ต้องลงทุนระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อสร้างอะไรออกมาได้ตรงจุดที่สุด เช่นระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล และการช่วยแก้ปัญหาการยกเลิกธนบัตรกระทันในประเทศอินเดียด้วย QR Code เป็นต้น”

หุ่นยนต์ Pepper ที่สามารถโต้ตอบกับผู้บริโภคได้ และมีระบบชำระเงินในรูปแบบต่างๆ ติดตั้งไว้ในเครื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจบริการ

เสริม Capability และจับมือพาร์ทเนอร์ตลอดเวลา

ในฝั่งของคู่แข่งอย่าง Master Card ปัจจุบันก็มีการปรับตัวเช่นกัน และไม่ได้มีแค่เรื่องตราสัญลักษณ์ แต่หมายถึงกลยุทธ์ที่ต้องสร้างความสามารถใหม่ๆ ตลอดเวลา พร้อมกับร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย เพื่อได้มุมมองธุรกิจใหม่ๆ และเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

Tobias Puehse รองประธาน Innovation Management, Digital Payments and Labs, Asia Pacific ของ Mastercard เสริมว่า การเร่งพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ได้จริงเป็นเรื่องจำเป็นของบริษัท และปัจจุบันก็มีการร่วมพัฒนา Pepper หุ่นยนต์อัจฉริยะกับทาง Softbank และจะจำมาใช้งานอย่างแพร่หลายเร็วๆ นี้

IBM นำระบบทำงานแบบ Agile เข้ามาประยุกต์ใช้กับองค์กร เพื่อทำให้บริการต่างๆ สร้างมาได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพ

ลงทุนเรื่องข้อมูลคุ้มค่า เพราะ 80% ยังใช้งานไม่ได้

ทั้งนี้จากข้อมูลของ IBM พบว่า มีข้อมูลกว่า 80% ในแต่ละองค์กรที่ยังไม่สามารถนำมาพัฒนาต่อได้ ดังนั้นการลงทุนเรื่องระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงจึงเป็นอีกจุดเริ่มต้นในการยกระดับขีดความสามารถขององค์กร โดยเฉพาะในธุรกิจการเงิน ที่ก่อนจะไป Blockchain ก็ต้องใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์เสียก่อน

สรุป

นวัตกรรมทางการเงินนั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นในโลกปัจจุบัน เพราะนอกจากสามารถสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจในยุค Digital Disruption แล้ว ยังสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ด้วยบริการดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย และตอนนี้ประเทศไทยก็เริ่มเล็งเห็นเรื่องนี้ รวมถึงทุกภาคส่วนก็พยายามขับเคลื่อน แม้จะติดขัดข้อกฎหมายบางเรื่องก็ตาม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา