หรือนี่จะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของไทย? สทร. บอก ประเทศไทยจะผลิตรถไฟด้วยตัวเอง

ไทยมีระบบรางเป็นร้อยปี แต่ซื้อใช้ตลอด
ถึงเวลาหรือยังที่เราจะผลิตเอง?

จากงานแถลงตัวเปิดตัวโครงการ “คิดใหญ่ไปให้สุดราง” คือโครงการประกวดคามคิดสร้างสรรค์การพัฒนาระบบราง หัวข้อ รถไฟในฝัน (Think Beyond Track) เป็นการประกวดความคิดสร้างสรรค์ระดับเยาวชน โดยมีเป้าหมายเป็นนักเรียน นักศึกษา อายุระหว่าง 16-22 ปี

Thai railway

งานนี้แถลงข่าวโดย ดร. จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. ภายใต้กระทรวงคมนาคม โดยมี รศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ร่วมแสดงความคิดด้วย ดำเนินรายการโดย ธงชัย ชลศิริพงษ์ บรรณาธิการบริหาร Brand Inside

รู้จักหน่วยงาน สทร. องค์กรที่จะทำให้ไทยสร้างรถไฟด้วยตัวเองได้

ดร. จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. เล่าถึงที่มาของ สทร. หรือ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง คือองค์การมหาชน
จัดตั้งในปี 2564 ความตั้งใจของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาเพราะอยากสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีระบบราง

ไทยไม่เคยมีหน่วยงานทางเทคโนโลยีที่จะสานต่องานว่าต่อไปอนาคตจะสร้างระบบรางเอง จะเอาคนมาจากไหน จึงเป็นที่มาของหน่วยงานนี้ ทางผู้บริหารในบ้านเมือง มองว่า โอกาสของไทยถ้าสร้างระบบรางได้ เราอาจจะรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากระดับโลก

ทำไมเราถึงอยากมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง?

นี่ถือเป็นครั้งแรกของประเทศ ไทย โดย รฟท. ต้องสร้างหัวรถจักรได้เอง ครั้งแรกที่รัฐบาลประกาศนโยบายนี้ ทำให้ผู้บริการเดินรถต้องมองว่าเราทำได้เองแล้ว นี่คือมันสมองที่จะสร้างเทคโนโลยีรถไฟเป็นของตัวเอง

การจะได้มาซึ่งความสามารถทางเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ ต้องรู้จักการพัฒนามาตรฐานให้เป็นระดับสากล คิดไปถึงการส่งออกเทคโนโลยีไปขายต่างประเทศและประยุกต์ดัดแปลงได้

เราคิดมาก่อนหน้านั้นแล้ว อนาคตอาจมีผู้ให้บริการมากกว่าการรถไฟ อาจจะเป็นการรถไฟเป็นเจ้าของราง เราวางทิศทางเพื่อขานรับนโยบาย สร้างอุตสาหกรรมระบบราง ให้รองรับทิศทางอนาคต จากนั้นก็หาผู้ร่วมงานระดับโลก จากนี้ไปไม่กี่ปีก็จะสร้างด้วยตัวเองได้

ถ้าเราจะสร้าง ต้องประกอบด้วย Supply chain ของอุตสาหกรรม โครงการแรกที่กำลังจะเริ่มดำเนินการ คือว่าที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์กำลังได้รับผลกระทบในปัจจุบันเนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยน นี่เป็นจังหวะดีที่จะสามารถใช้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มารองรับส่วนนี้ได้ ผู้ผลิตไทยกำลังประสบปัญหาสันดาปเป็นไฟฟ้า สามารถเปลี่ยนตัวเองมาอยู่ในอุตสาหกรรมรถไฟได้

Thai railway
ฝันใหญ่ อยากเป็นฮับของศูนย์กลางอาเซียนในระบบราง

ถ้าเราทำได้ทั้งหมด เราจะทำรถป้อนความต้องการในไทย ทั้งระยะทางราง รวมรางคู่ รถไฟวิ่งระหว่างเมืองด้วย เรามองว่า ถ้าทั้งโลก มีระบบราง metre gate คือรางรถไฟขนาด 1 เมตรนิดๆ ทั้งโลกเปลี่ยนทันทีไม่ไหว

รถไฟความเร็วสูงไม่ได้ใช้รางขนาดนี้ เราอาจเป็นตัวเลือกในตลาด 70,000 กิโลเมตรของทั้งโลก เราฝันถึงว่าเราจะเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักของรางขนาด 1 เมตร ทั่วโลก น่าจะเป็นโอกาสของ s curve ระบบรางก็คาดหวังว่าจะอยู่ในนั้น

ด้าน รศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นว่า มีหลายด้านที่พัฒนาต่อได้ ต้องทำให้คนรุ่นใหม่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเดินทางในระบบรางมากขึ้น เราเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีระบบรางตั้งแต่สมัย ร.5 แต่ทำไมตอนนี้ยังอยู่ตรงจุดนี้อยู่ มันสะท้อนให้เห็นว่าเขาก็มีไอเดียเรื่องนี้อยู่นะ

การก่อตั้ง สทร. ถือว่าเป็นความคิดที่ฉลาด ถ้าไม่มีองค์กรรับผิดชอบเรื่องนี้ แล้วใครจะเป็นคนทำ สำหรับโครงการการประกวดนี้ ก็เพื่อหาวิธีการ หามุมมองใหม่ๆ จากหลากหลายรุ่น การเอาไอเดียเด็กอายุระหว่าง 16-22 ปี มารวมด้วย ถือเป็นความท้าทายที่ห้าวหาญมาก

เกณฑ์สำหรับการตัดสิน

  • ความคิดสร้างสรรรค์ (รอบแรก 70% รอบตัดสิน 50%) มองเรื่องความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดที่น่าสนใจ แนวคิดใหม่
  • ความเกี่ยวข้องกับระบบรางและการนำไปใช้ได้จริง (รอบแรก 20% รอบตัดสิน 30%)
  • การสื่อสารที่ชัดเจน (รอบแรก 10% รอบตัดสิน 20%) ความสามารถในการนำเสนอผลงานให้คนทั่วไปเข้าได้ง่าย

สิ่งที่ต้องนึกถึง เมื่อต้องออกแบบ เช่น การออกแบบชานชาลา ออกแบบโครงสร้างเพื่อรองรับ ไปถึงแฟชั่น ชุดของคนที่ใส่ หรือ Service design ออกแบบอย่างไรให้คนที่มาจากลิทัวเนีย อยากมาใช้บริการ ตัวอย่างจากสนามบินทุกแห่งในโลกก็ต้องใช้ Service design มีหลากหลายแบบ System Design เรายอมรับน้องจากหลายคณะให้รวมตัวกัน ไม่ใช่แค่ดีไซเนอร์อย่างเดียว หลายส่วนประกอบกัน

กรรมการอยากเห็นไอเดียใหม่ๆ ไม่จำกัดกรอบตั้งแต่แรก หน้าที่หัวรถจักร หน้าที่รถไฟคือการดึงการลาก ถ้าเอารถไฟมาดึง มาลากเศรษฐกิจไทยให้โต ทุกประเทศถ้าจะเจริญ จะพัฒนาก็ต้องเอารถไฟไปก่อน รถไฟคืออนาคตที่ช่วยดึงให้เศรษฐกิจโต ไม่ปล่อยคาร์บอน ราคาถูก ขีดความสามารถในการแข่งขันน่าจะดีขึ้น

ด้าน ดร. จุลเทพ กล่าวว่า การเดินทางไม่ได้อยู่ที่การใช้รถไฟ เราจะพบว่ามีน้อยมากที่ลงสถานีรถไฟระหว่างเมืองหรือรถไฟในเมืองและถึงจุดหมายทันที

สิ่งสำคัญคือการเชื่อมต่อ อัตราการใช้ระบบรางต่ำมาก 3.5% เวลาออกจากสถานีฯ ควรไปต่อถึงจุดหมายปลายทางง่ายๆ และยังมีเรื่องการพัฒนาเชิงพื้นที่อีก มีเรื่องการออกแบบรถแบบไหนที่รองรับผู้สูงอายุได้ด้วย ทุกวันนี้เราเห็นพัฒนาการเทคโนโลยีดิจิทัลเยอะมาก ไม่ใช่แค่มีแอปดูข้อมูลธรรมดา ลงจากรถไฟแล้วต้องเห็นข้อมูลเชื่อมต่อไปจนถึงบ้านได้

สำหรับการแบ่งระยะในการทำรถไฟ จะแบ่งเป็น 2 ระยะ ทำโครงการสร้างรถไฟ และหัวรถจักรนำร่อง มองเรื่องต้นทุน จะทำสันดาปและจะผสมเป็นไฮบริด มีไฟฟ้าเข้ามา ถ้ามีการขานรับจากผู้ให้บริการเดินรถเดิม หรือรายใหม่เข้ามา เรื่องนี้ยังคำนึงถึงเรื่องการลดปล่อยคาร์บอน อนาคตแต่ละปีตั้งเป้าให้การเดินทางขนส่งทางน้ำ อากาศ ราง ถนน คาดว่าจะสามารถผลิตได้ราว 50 คันต่อปี

รางวัลสำหรับการร่วมโครงการประกวด

รางวัลชนะเลิศ 100,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
รางวัลรองชนะเลิศ 50,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
รางวัลพิเศษ 20,000 บาท จำนวน 3 รางวัล

โครงการนี้เริ่มเปิดรับสมัคร 24 ตุลาคม – 24 พฤศจิกายน 2567 เริ่มส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน – 24 ธันวาคม 2567 สามารถส่งผ่านเว็บไซต์ http://thinkbeyondtrack.net

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการประกวดฯ ได้ที่นี่ thinkbeyondtrack

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์