อิชิตันจับมือองค์กรชั้นนำ รวม 6 พาร์ทเนอร์ เดินหน้าแก้ปัญหาวิกฤตอากาศเปลี่ยนแปลง

วิกฤตอากาศเปลี่ยนแปลงในวันนี้คือปัญหา ต้องเร่งลงมือแก้ไขแล้ว 

หลายประเทศทั่วโลกร่วมมือกันฝ่าวิกฤตลดความร้อนของอุณหภูมิโลก ถ้าแตะ 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อไร ไม่มีใครอยู่ได้ในโลกนี้ ตอนนี้โลกพยายามควบคุมไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาฯ เพื่อป้องกันไม่ให้ความหลากหลายทางชีวภาพหายไป โลกขาดความสมดุล

ichitan 6 partner

อิชิตันร่วมมือรวมเป็น 6 พาร์ทเนอร์ที่ถือเป็นองค์กรระดับชั้นนำ ประกอบด้วย อิชิตัน กรุ๊ป, เอสซีจี แพคเกจจิ้ง, นิว อาไรวา (แบรนด์ QUALY), เฟลเทค แมนูแฟคเจอริ่ง, อาร์ทีดี อุตสาหกรรมสิ่งทอ และทิฟฟานี เดคอร์ ร่วมมือกันผลักดันต่อสู้กับวิกฤตสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง 

ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า โรงงานแห่งนี้ได้รับบททดสอบและบทลงโทษจากธรรมชาติ จังหวะเวลาวันนี้มันใช่เวลาของมันแล้ว ก่อนหน้านี้ทำก็ไม่ง่ายเพราะผู้บริโภคไม่ค่อยตอบสนอง 

ถ้าเราทำรีไซเคิล ต้นทุนบางอย่างเพิ่มขึ้น แต่มันคุ้มค่า วันนี้เห็นกระแสแบบนี้ ผมก็ตั้งใจเป็นตัวอย่างเล็กๆ ที่มีความรับชอบต่อสินค้าของเราให้มากที่สุด ให้คนอื่นได้ทำตาม อยากให้มีกระแสในการแข่งขันการทำเรื่องนี้ จริงจัง

ไม่ต้องทำทั้งหมดก็ได้ อาจมีข้อจำกัดบ้าง เพราะทำตั้งแต่วันแรกๆ ก็ยัง งงๆ อยู่บ้าง มีที่จอดรถมีโซลาร์เซล ต่อไปจะมีพนักงานขับรถเข้ามาชาร์จฟรีไม่ต้องเติมน้ำมัน บางคนมีข้อจำกัด ของรีไซเคิลอาจจะราคาสูงกว่า

เช่น เสื้อผ้ายูนิฟอร์มพนักงานต้องเป็นสินค้ารีไซเคิลเท่านั้น เราต้องอยู่ได้ด้วย ไม่ใช่ล้มละลายไป ต้องยอมรับว่า ยูนิฟอร์มผม โรงแรมผมใช้รีไซเคิลมั้ย เราสามารถบังคับได้ ถ้ามีการเปลี่ยนยูนิฟอร์มก็ต้องรีไซเคิลเท่านั้น ผมก็เริ่มจากนิดหน่อยและเริ่มเข้มข้นขึ้น

สื่อมวลชนควรกระตุ้นให้ผู้บริโภคตื่นตัวมากขึ้น ผู้บริโภคเรียกร้องสิ่งนี้จากผู้ผลิต ต้องเลือกเรื่องเล็กๆ ง่ายๆ คน 5-6 พันล้านเดี๋ยวก็เห็นผล ทำจากเราก่อน อย่าบังคับใคร

ตั้งเป้า: รีไซเคิล 100% ภายในปี 2026

ตัน ภาสกรนที ระบุว่า ปีนี้ 2024 เรายังเพิ่งเริ่มต้นอยู่เพราะการใช้เครื่องจักรไฮเทค ต้องใช้เวลา ผมจะลดการใช้พลาสติก 

สำหรับกลุ่มแรกคือ สินค้าอิชิตัน กรีนที ขนาด 500 ml ทำได้ 100% แล้ว ส่วนชิซึโอกะ 400 ml ได้ 100% แล้ว ขณะที่ ขวด rPET (ขวดพลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิล) ลดได้ 30% นอกจากนี้ก็มีการลดการใช้พลาสติก 175 ตันต่อปี

สิ้นปีนี้จะทำไลน์ผลิตใหม่ด้วย มีหลายเรื่องต้องทำ ไม่ใช่สิ่งที่ทำกันง่ายนัก  เครื่องจักรเราต้องเปลี่ยน เราอาจจะกำไรลดลงนิดเดียว ต้องใช้เวลานิดนึง ปี 2026 คิดว่าจะทำรีไซเคิลได้ 100% 

เราเพิ่งจะจัดคอนเสิร์ตคาราบาวไป เป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็ลองทำดู ผมไปดูคอนเสิร์ตที่อื่น เห็นขยะเต็มไปหมด ก็ใช้กุศโลบาย เราทำขวดรีไซเคิล ทำได้ 100% ถ้ามีจำนวนไม่พอก็ให้เก็บ เก็บได้กี่ขวดก็นำมาแลกได้ มันเป็นไปได้ เพราะคนตื่นตัว ถ้าไม่มีจิตสำนึก ก็จะไม่เกิดขึ้น ก็ทำไปเรื่อย

ให้เก็บขยะส่งต่อให้ยูเทิร์น แลก แยก เทิร์น ที่ 6 ปั๊ม ปตท. แลก 30 ขวด ได้ขวดปากกว้าง 1 ขวดอิชิตัน

ผมคิดว่า สื่อมวลชนสำคัญมาก ต้องช่วยสนับสนุนทำให้พวกเขาทำสำเร็จ ถ้าเขาจะทำกำไร ก็ทำไปเถอะ ทุกคนได้กำไร ทุกคนไปทำ กำไรก็จะลดลงเพราะมันมีการแข่งขัน ผมทำหลายสิ่ง ขาดทุนแน่นอน แต่ระยะยาวคุ้มค่

ทำอย่างไร ให้คนตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม คนจะปรับตัวถึงขั้นไหน

ตันเล่าว่า ช่วงที่เกิดน้ำท่วมเราทำอยู่แล้ว คนมาตันแลนด์ เราให้ความรู้ ทำทุกทาง ทั้งที่คอนเสิร์ต ที่โรงแรม ที่บ้าน

ทำกับตัวเอง บางคนไม่เข้าใจ ผมชอบใส่เสื้อเก่าๆ ขาดๆ ถ้าผมใส่แบรนด์เนมทั้งตัว คนก็จะมองว่าเรื่องนี้ถูก ถ้าผมประหยัด ขนาดคุณตันมีตังค์ขนาดนี้ยังประหยัด ก็เริ่มจากเราก่อน

อาศัยจากสิ่งที่เรามีอยู่จูงใจให้เขาทำ ให้แข่งขันกัน อาศัยพาร์ทเนอร์ และทุกซัพพลายเออร์ให้ความร่วมมือ เรามีการผลิตสินค้ารีไซเคิลค่อนข้างเยอะ

ประเด็น สินค้ารีไซเคิล มักราคาแพง 

ตันระบุว่า มันคือไก่กับไข่ ถ้าเรามีซัพพลายเออร์ซัพพอร์ตเราได้ เราสามารถอยู่ได้ เราก็จะเลือกว่า ถ้ารีไซเคิล เครื่องจักรอุตสาหกรรมใหญ่ไม่สามารถทำได้ทันที 

อย่างโรงแรมในเชียงใหม่เยอะ ผมก็ช่วยเขา ใครทำได้ 80% ก็ส่งเสริมให้เขา 100,000 บาท

เมื่อตลาดต้องการรีไซเคิล 100% โรงงานก็จะทำให้ได้ เมื่อปริมาณมีเยอะขึ้น ราคาก็จะถูกลง คนที่ซื้อได้ คือคนที่มีกำลังซื้อ คนที่ใช้ทรัพยากรเยอะกว่าชาวบ้าน เช่นขึ้นเครื่องบิน ใช้พลังงานเท่าาไร เฟิร์สคลาสหนึ่งคนนั่งเท่ากับสามคน 

รัฐควรออกนโยบายอะไร สนับสนุนภารกิจดังกล่าวบ้าง? 

ตันมองว่า รัฐควรให้ความสำคัญเรื่องนี้จริงจัง ปี 2026 เป็น Commitmentของประเทศและโลก ถ้ารัฐทำช้าไปก็ไม่ทัน

ตัวอย่างจาก ฮ่องกง เขาออกกำหมายห้ามแจกยาสีฟัน ลดของที่ต้องแจกหลายอย่างราว 80% ถ้าของไม่ได้ใช้ คนก็เอาไปทิ้ง โรงแรมเราก็ไม่ได้แจกแล้ว ถ้าลูกค้าขอก็มีให้อยู่บ้าง ถ้าไม่ขอก็ไม่ได

รัฐควรออกกฎที่สามารถปฏิบัติได้ เริ่มจากง่ายๆ เจ้าของกิจการควรออกกฎ เช่น ที่ผมอยากจะทำ คือให้ใส่ยูนิฟอร์มต้องใช้รีไซเคิล ทาง SCG ก็ทำได้

หากผมต้องซื้อสินค้าของ SCG จำนวน 4 ล้านลังต่อเดือน แล้วโรงงานขนาดเล็กแห่งอื่นทำไม่ได้ ก็ดูจะเป็นการเอาเปรียบเขา เราต้องให้โอกาสบริษัทขนาดเล็กๆ ได้เติบโตให้เวลาแก่บริษัทเล็ก เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันได้ 

ปี 2026 ไม่ใชคอมมิทเมนท์ของอิชิตันบริษัทเดียว ถึงไม่ให้คอมมิทเมนท์ เราไม่ทำเราก็ตายเอง 

คิดว่าศูนย์การเรียนรู้จะสร้างความตระหนักรู้ให้คนมาเข้าชมได้อย่างไร และคาดหวังอะไร?

ตันมองว่า เราส่งเสริมด้านความรู้ใหัเขาตลอดพื้นตันแลนด์ แต่แค่นี้ไม่พอ เรายังทำอีก ทั้งคอนเสิร์ต โรงแรม บ้าน และผมเองก็เป็นตัวอย่างที่ดี หลักๆ คือเริ่มจากเรา แล้วอาศัยสิ่งที่เรามีอยู่ มาจูงใจให้เขาทำตามหรือแข่งขันกัน

แต่เราก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ พาร์ทเนอร์ด้วย รวมถึงสื่อมวลชนในการกระตุ้นผู้บริโภคให้พวกเขามาเรียกร้อง

SCGP

กาญจนา อารักษ์วทนะ Fiber Packaging Marketing Director จาก SCGP คือหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของอิชิตัน

กาญจนาระบุว่า จากที่คุณตันพูด เราถือเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน เราดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลรับผิดชอบสังคม สิ่งแวดล้อม

ที่เราซัพพอร์ตอิชิตัน เราทำแพคเกจจิ้ง ใช้กระดาษรีไซเคิล 100% และทำร่วมกับอิชิตัน กล่องกระดาษลูกฟูกแข็งแรงมากขึ้น ใช้กระดาษให้น้อยลง ปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยลง สอดคล้องกับอิชิตัน เป็น net zero ในปี 2050 เหมือนกัน ยินดีที่จะพัฒนานวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป

สำหรับกล่องกระดาษลูกฟูก เราทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ รับน้ำหนักได้ 100 กก. เราใช้ดีไซน์สวยงาม โครงสร้างแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักไม่แพ้ไม้หรือพลาสติก 

การรักษ์โลกมีราคาที่ต้องจ่าย SCGP เรารอไม่ได้แล้ว พวกเราต้องร่วมด้วยช่วยกัน อยากบอกทุกคนและน้องๆ รุ่นใหม่ทุก Gen ใช้ของให้คุ้ม แยกขยะให้เป็น ทิ้งให้ถูกที่

Qualy

ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบและผู้ก่อตั้งแบรนด์ควอลี่ (QUALY) จากนิว อาไรวา ระบุว่า เราซัพพอร์ตกันมาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว มี Visitor มาถามไถ่ผลิตภัณฑ์ตลอด ต้องขอบคุณทางอิชิตันที่ให้โอกาสเข้ามาร่วมมือกัน

สิ่งที่เราทำ คือการพยายามใช้ขยะประเภทต่างๆ มาสร้างของที่มีดีไซน์ มีประโยชน์ใช้งานได้ ไม่อยากให้ผู้บริโภคฝืนตัวเองว่าเอาขยะมาใช้ ดีไซน์ที่เขาอยากได้อยู่แล้ว เราพยายามจะสื่อสารผ่านดีไซน์ของเราด้วย

งบโฆษณา 100% พูดเรื่องนี้ ทำให้เป็นเรื่องเดียวกัน และยังร่วมมือหลายฝ่ายเพราะ Sustain ทำคนเดียวไม่ได้ บางคนจะติดเทคนิคบางอย่าง 

อีกเรื่องที่เราทำมาก คือการสื่อสารยังผู้บริโภคเพื่อเป็นทางเลือกให้พวกเขา การบริโภคอย่างยั่งยืนที่ต้องอาศัยความร่วมมือ ปัญหาที่มันเกิดขึ้น บางทีเขาอาจจะไม่รู้ พยายามสื่อสารให้ผู้บริโภคได้เรียนรู้ว่าสามารถช่วยอะไรได้บ้าง 

จริงๆ เราต้องการความร่วมมือจากคนจำนวนมาก ทำนิดๆ หน่อยๆ ก็พอ เช่น ทานอาหารให้หมด ไม่ซื้อของฟุ่มเฟือย ดูแลการใช้น้ำและไฟ อยากให้อุดหนุนให้เขาอยู่ได้ พวกธุรกิจสีเขียว สำหรับผู้บริโภคสีเขียวอย่าด้อยค่าคนที่เขาไม่ทำ อย่าผลักเขาออกไป

เฟลเทค

เฉลิมชัย พัวพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ จากเฟลเทค แมนูแฟคเจอริ่ง ผู้นำด้านการพัฒนาแผ่น Acoustic และพรมแผ่นภายใต้แบรนก์ Acoupanel จากการนำขวดใช้แล้วผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยนวัตกรรมขั้นสูงที่ได้รับการรับรองด้านสิงแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO เล่าว่า เราทำผลิตภัณฑ์ดูดซับเสียง ทำขวดพลาสติกทำพรม

เราทำกับอิชิตันครั้งแรกช่วงโควิดคือ Upclycling ไฟเบอร์ทำจากอวนจับปลา แผ่นรองพรมทำจากขวดน้ำ เราส่งออกต่างประเทศ เราทำ R&D ค่อนข้างหนัก เวลาเราแข่งกับคนจีน ถ้าไม่มี Value Added ค่อนข้างลำบาก

เราทำให้เป็นลายไม้ ที่สามารถใช้ทดแทนไม้ได้ แทนไม้ลามิเนตและดูดซับเสียงได้ เราใช้ขวดน้ำ 35-40 ล้านใบในการทำงาน 

เราได้รับ Certified จาก Global Green Tag จากออสเตรเลีย ใช้ขวดพลาสติก 7,800 ขวดมาทำพรมในห้องนี้ (ห้องที่แถลงข่าว)

เราเป็นผู้ผลิต ส่งออกไปอเมริกา ออสเตรเลีย เห็นความตื่นตัวของผู้บริโภค ให้ความสำคัญของการรีไซเคิล การใช้พลังงาน สำหรับในไทยยังน้อยไปหน่อย อยากให้เด็กแยกขยะ เอาขยะมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ถ้าเราทำจริงจังไม่ชั่วคราว เมืองไทยน่าจะดีกว่านี้ 

RTD Textile

ดร. วันทิพย์ ชวาลีมาภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ จากอาร์ทีดี อุตสาหกรรมสิ่งทอ เล่าว่า ซัพพลายเออร์เสนอเส้นใย เราใช้ขยะในประเทศไทยที่ทิ้งในทะเล ไม่ให้เหลือเป็นไมโครพลาสติก

เราพยายามสื่อสารว่าสิ่งที่เราใช้ไม่ใช่ขยะ แทนที่เราจะทิ้ง และใช้เวลาหลายร้อยปีในการทำลาย แต่เราเลือกยืดชีวิตให้ใช้งานอย่างคุ้มค่า เราทำนวัตกรรมหลายอย่าง ล่าสุดคือผ้ายี่ห้อซีโคล ย่อยสลายได้ด้วย 3 ปัจจัยประกอบกัน คือแบคทีเรีย ความชื้น เวลา ฝังดินก็ย่อยสลายได้ มีสมาร์ทเทนสมารถปรับอุณหภูมิได้ ร้อนก็ระบายได้ ในที่เย็นก็ทำให้อุ่นได้

การเลือกในทุกๆ วัน คือการเลือกทำสิ่งเล็กๆ ที่สามารถเปลี่ยนชีวิตคนทั้งโลกได้ ไม่ใช้พลาสติก ใช้ถุง shopping bag การเลือกอย่างมีจิตสำนึก ใช้ซ้ำ จากทุกคนรวมกันทำหนึ่งเรื่องเล็กๆ มันก็จะสามารถเป็นไปได้

Tiffany Decor

วิกรานต์ ตั้งศิริพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ จากทิฟฟานี เดคคอร์ ผู้นำเข้าวัตถุดิบสำหรับผลิต-ติดตั้ง หินสังเคราะห์ประเภท Acrylic Solid Surface รายเดียวในไทย เล่าว่า กากชาอิชิตันมีคนมารับทำปุ๋ย ก๊าซชีวภาพ ทำ Upcycling 

ทิฟฟานี เดคคอร์ เปิดมาจะ 40 ปีแล้ว ผลิตหินสังเคราะห์ เราเริ่มรีไซเคิล 25 ปีที่แล้ว ลูกค้าต่างประเทศคุยว่าจะทำสินค้าจากรีไซเคิล ให้คิดหาวิธีในการผลิต ลูกค้ารายแรกคือโรงพยาบาลปิยะมหาการุณที่ศิริราช เราไม่ได้ใช้วัสดุด้านอื่น เราได้อะไรใหม่ๆ 

จากการทดลอง ได้ความรู้จากเทคโนโลยีราชมงคล ผลิตภัณฑ์ที่เราทำก็เป็นผนัง ทำอ่างล้างมือ วัสดุตกแต่ง ขึ้นอยู่กับจินตนาการและการใช้งาน

ร่วมมือกันทำคนละนิดหน่อย ก็จะเป็นพลังอย่างมหาศาล คือ Reduce, Reuse, Recycle ควรลดการใช้เพื่อจะรีไซเคิลให้น้อยลง 

ตันแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของอิชิตัน 

Ichitan Green Factory มีแนวคิด Greenovation คือการลด ทดแทน บำบัด นำกลับมาใช้ใหม่ เป็นโรงงานที่ทันสมัยที่สุด และต้องการเจาะกลุ่มตลาดรุ่นใหม่ ตันแลนด์มีคนเยี่ยมชม 1 แสนคนต่อปี 

ด้านในเราเตรียมพร้อมเรื่องเทคโนโลยีเพื่อส่งต่อเรื่องราวการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและแนวคิดจากพาร์ทเนอร์ด้านสิ่งแวดล้อม 

พื้นที่ 400 เมตร เท่ากับ 1 สนามฟุตบอล เป็นโรงงาน 24 ชั่วโมง เป็นระบบออโตเมติกทั้งหมด พนักงาน 300 คนเท่านั้น 

โรงงานนี้มีกำลังการผลิตสูงที่สุดของไทย ผลักดันตลาดชาพร้อมดื่ม 900 ล้านบาทเป็น 16,000 ล้านบาท 

3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อิชิตันแข็งแกร่ง ดังนี้

  1. เทคโนโลยีที่ดีที่สุด
  2. การควบคุมคุณภาพที่ดีที่สุด
  3. ประสบการณ์ที่ดีที่สุด

สำหรับความร่วมมือของทั้ง 6 องค์กรนี้ เพื่อตั้งใจแสดงให้เห็นถึงเจตน์จำนงในการพยายามนำนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามาแสดงความรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ เปลี่ยนขยะให้เป็นผลิตภัณฑ์คุณค่าสูง

เพื่อให้พวกเราทุกคนรู้ว่า เราสามารถมีส่วนร่วมในการลดอุณหภูมิโลกได้ด้วยการบริโภคทรัพยากรโลกลดลง ด้วยการร่วมมือร่วมใจเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา