ไม่อยากเป็นภาระใครตอนแก่ลองมา วางแผนเกษียณ กันดูไหม

ใครๆ ก็ต่างอยากมีชีวิตวัยเกษียณที่ไม่ขัดสน ไม่ป่วย สนุกกับการใช้ชีวิตเหมือนตอนอายุไม่มาก ได้กิน ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่ก่อนจะไปถึงภาพที่วาดฝันไว้นั้นจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง บทความนี้จะพาไปสำรวจกันว่าเราจะต้อง วางแผนเกษียณ แบบไหนถึงดี

ต้องเป้าหมายเงินเก็บหลังเกษียณ

อย่างแรกที่อยากให้สำรวจตัวเองก่อนคือจะทำงานไปจนถึงอายุเท่าไหร่ และคิดว่าตัวเองจะต้องการใช้เงินต่อเดือนในวัยเกษียณอยู่ที่เท่าไหร่

ยกตัวอย่างเช่นอยากจะทำงานไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 60 โดยที่คิดว่าตัวเองอาจจะมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 80 อยากมีเงินใช้ราวๆ 25,000 ต่อเดือนเท่ากับว่าคุณจะต้องมีเงินเก็บ 6 ล้านโดยไม่นับปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อที่ต้องนำมาคิดเพิ่มด้วย แค่นี้ก็รู้สึกว่าการเกษียณแล้วต้องมีเงิน 6 ล้านดูไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ตรวจสอบเงินออมที่มีอยู่

ต่อจากข้อที่แล้วเลยก็คือให้ลองสำรวจตัวเองก่อนว่ามีเงินออมอยู่เท่าไหร่ และจะไปถึงเป้าหมายที่เท่าไหร่ หากรู้สึกว่ายังไม่มากพอที่จะมีวัยเกษียณที่ดีอาจจะลองศึกษาการลงทุนที่ทำให้ไปถึงเป้าหมายเร็วขึ้นหน่อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการลงทุนมีความเสี่ยงควรศึกษาให้เข้าใจก่อนการลงทุน

วางแผนการเงินก่อนเกษียณให้เร็วที่สุด

หากตอนนี้คุณอายุ 30 แล้วยังไม่เริ่มวางแผนเกษียณโดยที่ตั้งใจว่าจะเลิกทำงานตอนวัย 60 ดังนั้นคุณจะมีเวลาเก็บเงินอีก 30 ปี ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเริ่มช้าจะไม่ดีเพราะถ้าหากคุณมีความสามารถในการสร้างรายได้ให้เติบโตทันวัยเกษียณก็ย่อมทำได้ แต่หากไม่ได้มีการวางแผนที่ดี การเริ่มช้าก็ย่อมส่งผลให้คุณไปถึงเป้าหมายนั้นไม่ทันการณ์

พยายามไม่สร้างหนี้ก้อนโต

แน่นอนว่าตัวฉุดรั้งการเติบโตของเงินวัยเกษียณนั่นก็คือหนี้ หากไม่จำเป็นไม่ควรสร้างหนี้ก้อนโตที่ฉุดรั้งรายได้คุณ ให้รีบปิดหนี้ก้อนนั้นให้ไวที่สุดแล้วโฟกัสไปที่การเก็บออมและการลงทุนให้มากขึ้น

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ประจำ

หากช่วงวัยรุ่นคือการได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ อยากทำอะไรก็ทำได้ การรู้จักประมาณตัวเองก็เป็นเรื่องหนึ่งที่อยากให้ทำควบคู่กันไปด้วย เพราะการใช้จ่ายจนเกินตัวนั้นมักนำพามาซึ่งหนี้ที่จะพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีการจัดการที่ดี ดังนั้นการรู้จักประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนรวมถึงการเพิ่มรายได้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เรามีเงินเก็บพอที่จะไปถึงวัยเกษียณได้

ติดตามตรวจสอบแผนเกษียณอยู่เสมอ

สุดท้ายนี้ทุกอย่างที่ทำมาจะไม่ความหมายเลยถ้าเราไม่หมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่าแผนเกษียณของเราไปถึงไหนแล้ว มีจุดไหนที่ตกหล่นไป มีจุดไหนที่มากเกินไปจนทำให้การเงินของเราตึงมือมาตลอด

Source: SET Investnow

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา