จะซื้อหุ้นทั้งทีก็ต้องเลือกตัวที่ราคาไม่แพงมาก มีโอกาสเติบโตสูง วันนี้จะพามาทำความรู้จักอีกค่าหนึ่งที่ช่วยให้นักลงทุนประเมินคร่าวๆ ได้ว่าจะลงทุนในหุ้นตัวไหนดี ค่านั้นก็คือ P/BV
P/BV คืออะไร
P/BV หรือ Price / Book Value เป็นอัตราส่วนที่แสดงราคาตลาดของหุ้นตัวนั้น หารด้วยมูลค่าทางบัญชี ซึ่งมูลค่าทางบัญชีที่พูดถึงนั้น หมายถึงส่วนของเจ้าของ ส่วนของผู้ถือหุ้น สามารถหาได้จากงบการเงินโดยการนำทรัพย์สินหักจากหนี้สิน
ค่า P/BV จะบอกเราว่าราคาหุ้น ณ ตอนนั้นมีค่าสูงกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชี ช่วยให้เราประเมินได้คร่าวๆ ว่าบริษัทนั้นมีความสามารถในการเติบโตเป็นอย่างไรบ้าง
วิธีคำนวณ P/BV
P/BV = ราคาตลาดของหุ้น / มูลค่าทางบัญชี
ตัวอย่างการคำนวณ : บริษัท A มีสินทรัพย์ 100 ล้าน มีหนี้สิน 20 ล้าน มีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น
มูลค่าทางบัญชีจะเท่ากับ 100 ล้าน – 20 ล้าน = 80 ล้าน
มีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น ตกหุ้นละ 8 บาท = BV หรือ Book Value
หากตอนนี้หุ้นบริษัท A ราคา 9 บาท เท่ากับหุ้นตัวนี้ราคาสูงกว่าทุนของเจ้าของบริษัท
ตามหลักการทั่วไปแล้วนั้น
- ถ้า P/BV ยิ่งสูง หมายถึงหุ้นตัวนั้นยิ่งแพง และ นักลงทุนมองว่าบริษัทนี้มีโอกาสเติบโต
- ถ้า P/BV ยิ่งน้อย หมายถึงหุ้นตัวนั้นยิ่งถูก นักลงทุนอาจมองว่าบริษัทอาจมีความสามารถในการเติบโตลดลง หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังถดถอยหรือหดตัวลง ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงได้ในอนาคต
P/BV สำคัญกับการลงทุนอย่างไร
การใช้ P/BV ในมาช่วยตัดสินใจนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หลายคนจะจำว่า ค่า P/BV นั้นถ้ามีค่าน้อยกว่า 1 ก็จะยิ่งดีเพราะเราจะหุ้นในราคาที่ถูก แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะบริษัทนั้นอาจอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังชะลอตัว นอกจากนี้หุ้นที่ P/BV สูงไม่ได้หมายความว่าเราควรหลีกเลี่ยงการลงทุนเสมอไปเพราะอาจหมายถึงหุ้นนั้นมีศักยภาพมากพอที่จะเติบโตขึ้นไปได้อีก นอกจากนี้หุ้นที่มี P/BV สูงอาจมีตัวเลขบางอย่างที่ไม่สามารถตีเป็นตัวเลขและใส่ในงบการเงินได้
ซึ่งค่า P/BV ที่เหมาะสมนั้นอาจต้องมีการเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อให้เห็นแนวโน้มของตลาดและค่า P/BV ของคู่แข่งควบคู่กันไปด้วย ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจธนาคารที่มีค่า P/BV ไม่สูงมาก หากเทียบกับธุรกิจค่าปลีก
อย่างไรก็ตามการลงทุนนั้นควรมีการศึกษาอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ งบการเงิน มูลค่าของบริษัท และชื่อเสียงรวมถึงธรรมาภิบาลของบริษัทด้วย นอกจากนี้ยังมีค่า P/E ที่หลายคนมักนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจอีกด้วย
Source: longtunman.com,SET Investnow, Liberator, Bualuang Knowledge Sharing
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา