การลงทุนในหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี ให้ผลตอบแทน (SET TRI) ไปแล้วกว่า 20.21% ข้อมูล ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 ทำให้หลาย ๆ ท่านคงนึกเสียดายว่า รู้งี้ เมื่อต้นปีเน้นลงทุนในหุ้นไทยมาก ๆ ก็ดี อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกกองทุนหุ้นที่มีอยู่จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ชนะดัชนี SET TRI (ต้องขอขอบคุณ FIN App ที่ทำให้งานนี้ง่ายขึ้นมาก)
SET TRI ต่างจาก SET index อย่างไร
ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ SET TRI เป็นชุดเดียวกับข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ SET index ที่รวมเงินปันผลเข้ามาซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนรวมและสามารถใช้เป็นตัวเปรียบเทียบกับกองทุนต่าง ๆ ที่ไม่ปันผลได้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.set.or.th/th/regulations/supervision/files/Disclosure_Focus/DisclosureFocusVol1_2006.pdf
กองทุนที่สร้างผลตอบแทนได้มากกว่า SET TRI
เนื่องจากดัชนี SET TRI คำนวณมาด้วยข้อมูลเดียวกับ SET index ดังนั้น ในการค้นหากองทุนที่น่าสนใจครั้งนี้จึงทำการตัดกองทุนที่เป็น ETF และ กองทุนเลียนแบบดัชนีออกไปก่อน เพื่อให้เหลือเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในหุ้นแบบ active fund ที่น่าสนใจ 5 อันดับแรก ได้แก่
- KTMSEQ กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้น Mid-Small Cap สร้างผลตอบแทนได้ 29.32%
- T-SM Cap กองทุนเปิดธนชาติ Small Medium Cap สร้างผลตอบแทนได้ 23.60%
- SCBMSE กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุน Mid/small Cap สร้างผลตอบแทนได้ 23.26%
- UTSME กองทุนเปิดยูไนเต็ดไทยสมอล์แอนด์มิดแคปอิควิตี้ฟันด์ สร้างผลตอบแทนได้ 22.15%
- SCBDA กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ธนอนันต์ สร้างผลตอบแทนได้ 21.87%
สังเกตได้ว่ากองทุนที่สร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าสนใจทั้ง 5 กองทุนนั้นเน้นลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็กเป็นหลักอย่างไรก็ตามเราควรศึกษาถึงนโยบายการลงทุนรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องจากหนังสือชี้ชวนประกอบทุกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน
อย่างไรก็ตามด้วยฟังก์ชั่นที่มีอยู่ใน FIN App ช่วยให้เราสามารถดูข้อมูลคร่าวๆของแต่ละกองทุนได้อย่างง่ายดายและในวันนี้ขอยกตัวอย่างการใช้งานอย่างง่ายเพื่อให้ทุกท่านสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
เปรียบเทียบข้อมูลกองทุนง่ายๆด้วยฟังก์ชั่นสุดล้ำใน FIN App
ผู้ใช้งานสามารถเลือกกองทุนที่สนใจเพื่อบันทึกข้อมูลลงใน Watch List จากนั้นให้เลือก Function Analytics เพื่อเข้าไปดูข้อมูลเปรียบเทียบของกองทุนที่เราเลือกโดยเราสามารถเทียบอัตราผลตอบแทน ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเมื่อลองเอารายการกองทุนที่น่าสนใจทั้ง 5 กองทุนบันทึกเข้าไปก็จะได้ผลตามรูปที่แสดง
รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ ในการพิจารณาเบื้องต้น เช่น ขนาดมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ นโยบายการจ่ายปันผล ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งค่าธรรมเนียมการซื้อ ขาย สลับกองทุน และอื่น ๆ
สรุปสาระสำคัญหลักๆจากข้อมูลพื้นฐานได้ว่า
- ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล
- มีค่าธรรมเนียมในการซื้อ(Buy Fee) 0.5-1%
- ในบางกองทุนมีค่าธรรมเนียมในการขาย(Sell Fee)
- ในกรณีเปลี่ยนจากกองทุนอื่นก็มีค่าธรรมเนียมเช่นกัน(Switch in/out Fee)
- ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ(Total Expense) 1.5-2.5%
- เริ่มต้นซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ(Initial Purchase) 1,000-10,000 บาท
- ซื้อเพิ่มเติมครั้งถัดไป (Additional Purchase) 1,000-5,000 บาท
กองทุนลงทุนหลัก ๆ ในหลักทรัพย์อะไร สินทรัพย์ประเภทไหน
หากต้องการทราบว่า กองทุนมีการลงทุนอยู่ในหุ้นอะไร และคิดเป็นสัดส่วนเท่าไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของกองทุน ก็สามารถเลือกเข้าไปดูรายชื่อหุ้นที่กองทุนมีการลงทุนมากที่สุด 10 อันดับแรกได้ทันที (Top 10 Assets Holding)
ถือได้ว่า FIN App ให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเลือกและพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมได้อย่างครบถ้วนนอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานอื่นๆที่น่าสนใจอีกมาก หากท่านใดต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้าชมการสาธิตวิธีการใช้งานได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=VI0yofmw5d0&feature=youtu.be
สุดท้ายในการเลือกลงทุนในกองทุนรวม นอกจากพิจารณาในเรื่องผลตอบแทน ค่าธรรมเนียม สินทรัพย์ลงทุน แล้วผู้ลงทุน ควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการลงทุน ความสามารถในการรับความเสี่ยง ประกอบด้วยทุกครั้ง และสิ่งที่ลืมไม่ได้ก่อนเลือกลงทุนในกองทุนรวม คือ ควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนประกอบทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดถึงวัตถุประสงค์และความเสี่ยงของแต่ละกองทุน ที่เรากำลังคิดที่จะเลือกลงทุน ขอให้ทุกท่านมีความสุขและโชคดีในการลงทุนนะครับ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา