Toyota ชี้ตลาดรถยนต์ไทย 10 เดือนแรกหดตัวต่อเนื่อง ยอดขายลดลง 7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2022 เหตุเศรษฐกิจชะลอตัวจนกลุ่มรถกระบะมีปัญหา แม้ได้ยอดจากกลุ่ม Eco Car ช่วยดันยอดรถยนต์นั่ง รอลุ้นแคมเปญ Motor Expo กระตุ้นภาพรวมตลาดโค้งสุดท้าย
ตลาดรถยนต์ไทย 2023 ยังมีปัญหา
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เล่าให้ฟังว่า สถิติการขายรถยนต์ประจำเดือน ต.ค. 2023 ในประเทศไทยมีจำนวนทั้งหมด 58,963 คัน ลดลง 8.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022
แม้ตลาดรถยนต์นั่งยังเติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 22,130 คัน เติบโต 13.7% แต่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยยอดขาย 36,833 คัน ลดลง 18.4% โดยเฉพาะรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งรถยนต์กลุ่มนี้ปิดยอดขายที่ 22,998 คัน ลดลงถึง 35.1%
“ตลาดรถยนต์นั่งยังเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 13.7% ด้วยยอดขาย 22,130 คัน เป็นผลมาจากการเติบโตของ Eco Car ด้วยยอดขาย 16,800 คัน เติบโตขึ้นถึง 20.3% แต่ไม่สามารถชดเชยยอดขายที่หายไปของรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยเฉพาะรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่หดตัวถึง 35.1% ด้วยยอดขาย 22,998 คัน ทำให้ตลาดรวมยังหดตัว”
ปัญหาหลักในการหดตัวมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่เติบโตเหมือนเดิม, ผู้บริโภคยังคงชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่อง รวมถึงความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากมีความกังวลต่อความสามารถในการผ่อนชำระของผู้รับสินเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน
Toyota คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์เดือน พ.ย. 2023 มีความหวังฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ตามฤดูกาลขาย และค่ายรถยนต์ต่างมีแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ พร้อมด้วยแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อหวังกระตุ้นยอดขายและปิดตัวเลขการขายประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงาน Thailand International Motor Expo 2023
- ttb analytics คาดยอดขายรถยนต์ในไทยหดตัว 1.6% เหลือ 8.35 แสนคัน สวนทางรถยนต์ไฟฟ้าโต 5 เท่า
- ไทย ผู้ผลิตรถยนต์เบอร์ 1 ของอาเซียน และเบอร์ 10 ของโลก กำลังเจอปัญหาแรงงานขาดทักษะรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับตัวเลขปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือน ต.ค. 2023 ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,963 คัน ลดลง 8.8%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,852 คัน ลดลง 18.0 % ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,962 คัน ลดลง 22.2% ส่วนแบ่งตลาด 18.6%
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,306 คัน เพิ่มขึ้น 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 12.4%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,130 คัน เพิ่มขึ้น 13.7%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,165 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.4%
- อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,462 คัน ลดลง 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 15.6%
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 743 คัน ลดลง 50.1% ส่วนแบ่งตลาด 3.4%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,833 คัน ลดลง 18.4%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,687 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,962 คัน ลดลง 22.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.8%
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 3,844 คัน เพิ่มขึ้น 744.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 22,998 คัน ลดลง 35.1%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 9,725 คัน ลดลง 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,338 คัน ลดลง 37.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,539 คัน ลดลง 49.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,325 คัน โตโยต้า 1,704 คัน – อีซูซุ 1,482 คัน – ฟอร์ด 848 คัน – มิตซูบิชิ 231 คัน – นิสสัน 60 คัน
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 18,673 คัน ลดลง 37.9%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 8,243 คัน ลดลง 29.9% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,634 คัน ลดลง 39.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,691 คัน ลดลง 54.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
สำหรับตัวเลขปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือน ม.ค. – ต.ค. 2566 ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 645,833 คัน ลดลง 7.5%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 220,144 คัน ลดลง 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 131,256 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 20.3%
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 77,188 คัน เพิ่มขึ้น 14.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 241,798 คัน เพิ่มขึ้น 9.9%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 84,522 คัน เพิ่มขึ้น 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
- อันดับที่ 2 ฮอนด้า 47,369 คัน ลดลง 7.9% ส่วนแบ่งตลาด 19.6%
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,419 คัน ลดลง 24.8% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 404,035 คัน ลดลง 15.5%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 135,622 คัน ลดลง 19.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 131,256 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 32.5%
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 29,819 คัน เพิ่มขึ้น 89.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 278,897 คัน ลดลง 25.7%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 117,883 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 109,531 คัน ลดลง 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 31,312 คัน ลดลง 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 51,555 คัน โตโยต้า 18,896 คัน – อีซูซุ 18,031 คัน – ฟอร์ด 10,118 คัน – มิตซูบิชิ 3,524 คัน – นิสสัน 986 คัน
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 227,342 คัน ลดลง 29.8%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 99,852 คัน ลดลง 32.9% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 90,635 คัน ลดลง 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 21,194 คัน ลดลง 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
อ้างอิง // Toyota
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา