บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ยกระดับกลยุทธ์การดำเนินงานโดยนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้อย่างยั่งยืน ย้ำความสามารถ และบทบาทที่สำคัญขององค์กรรวมถึงภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาการใช้งาน AI ในการดำเนินงาน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถพนักงานในการใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำตามมาตรฐานจริยธรรม
AI สำคัญต่อธุรกิจ แต่ต้องใช้อย่างมีจริยธรรม
ชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร และผู้บริหาร Digitalization และ Transformation บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีส่วนสำคัญต่อยอดในการทำงาน ซึ่ง AI ได้พัฒนาดีขึ้นควบคู่กับแนวทางจริยธรรมและความปลอดภัย
“ทรู ไม่เพียงแต่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในประเทศไทยด้วย AI เท่านั้น แต่เรายังให้ความสำคัญต่อกฎบัตร AI ที่นำมาใช้งานด้วยจริยธรรม เราเชื่อว่าแนวทางบูรณาการที่คำนึงถึงเทคโนโลยี ผู้คน และจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศไทยในการผสานสู่การใช้ขีดความสามารถ AI”
ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้นำ Machine Learning มาช่วยในการบริการลูกค้า ช่วยลดข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน และปกป้องข้อมูลของส่วนบุคคลของลูกค้า โดย AI ได้มีส่วนในการทำให้ศูนย์บริการลูกค้าทรู และดีแทคดำเนินงานแบบไร้กระดาษ ในปี 2023 และตั้งเป้าปี 2027 จะใช้ระบบอัตโนมัติ 100% ในงานพื้นฐานประจำวัน
ยกระดับธุรกิจ ทรู และ ดีแทค ได้จริง
AI ช่วยให้ ทรู และ ดีแทค วินิจฉัยปัญหา และเสนอแนะได้ทันที ลดเวลาในการจัดการลง 35% รวมถึงการนำ AI มาใช้กับแชทบอท บริการลูกค้าประมาณ 150,000 รายการต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรของบริษัทให้มีทักษะเรื่องดังกล่าวมากขึ้น
นอกจากนี้ AI ยังช่วยประหยัดพลังงานผ่านการคาดการณ์การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ของบริษัท ทำให้ช่วงที่มีอัตราการใช้งานน้อย สามารถปิดอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานโดยไม่กระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้า จนลดการใช้พลังงานลง 10-15% และเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42% ภายในปี 2050
อย่างไรก็ตาม การติดอาวุธธุรกิจด้วย AI ต้องทำอย่างมีจริยธรรม ซึ่ง ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้กำหนดหลัก 4 ประการในการใช้งานอย่างมีจริยธรรมประกอบด้วย
- จรรยาบรรณที่ดี (Good Intent): ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ควรใช้เพื่อสร้างประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น
- ความเป็นธรรมและลดอคติ (Fairness and Bias Mitigation): ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อการใช้งาน
- คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (Data Privacy and AI Functionality): ควรคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย
- ความโปร่งใส (Transparency): การตัดสินใจของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต้องสามารถอธิบายได้
ทุกฝ่ายตอกย้ำ AI ต้องใช้อย่างมีจริยธรรม
ขณะเดียวกัน ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กล่าวว่า การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้งานต้องควบคู่กับการมีความรับผิดชอบ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีกรอบการใช้งานที่เหมาะสม และโปร่งใส
“การประยุกต์ใช้ AI ในทุกภาคส่วนมีความเสี่ยง และผลกระทบเชิงลบต่อผู้ใช้ ซึ่งต้องทำให้เกิดน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยเราจึงต้องมั่นใจว่าระบบนิเวศสำหรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศมีความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจในการใช้งาน”
- ททท. ดึง ทรู ดิจิทัล อเคเดมี ร่วมอัปทักษะดิจิทัล ออกแบบหลักสูตรการบริหารการท่องเที่ยวสำหรับผู้บริหารระดับสูง
- ทรู คอร์ปอเรชั่นก้าวสู่บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำ พร้อมลุยสร้างเครือข่ายที่เหนือกว่ายกระดับประสบการณ์ลูกค้า ชู “Synergies” 2.5 แสนล้านบาท
ด้าน จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้แปลหนังสือ “The Ethical Algorithm หรือ AI ที่มีหัวใจ” เสริมว่า การพัฒนาและนำระบบ AI มาใช้โดยไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ ควรคำนึงถึงหลักการที่จะนำมาใช้งาน
อ้างอิง // True Corporation
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา