เปิด 7 แนวนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน

ล่าสุด (14 ก.ย. ) กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยแนวนโยบายโดย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ภายใต้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทยอย่างเศรษฐา ทวีสิน โดยมี 7 แนวนโยบายหลัก 

  1. นโยบาย “ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส” ซึ่งจะเน้นดูแลจากฐานรากของประชาชน เพื่อให้เกิดผลต่อการเพิ่มเงินในกระเป๋าให้กับประชาชน โดยมีรายได้สุทธิ (Net Income) ที่สูงขึ้น 

1.1 ลดค่าใช้จ่าย

  • ประชาชน : ดูแลภาระค่าครองชีพโดยเพิ่มทางเลือกในการบริโภคและกระจายสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเป็นธรรมเน้นให้บริโภคสินค้า/ร้านค้าที่อยู่ในชุมชน (เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง)
  • เกษตรกร และ ผู้ประกอบการ : ดูแลต้นทุนการเพาะปลูกของเกษตรกร (เช่น ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าเครื่องจักร) และต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการโดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรฯ (ด้านวัตถุดิบด้านการผลิต) กระทรวงอุตสาหกรรม (ด้านมาตรฐานสินค้า) และหน่วยงานอื่นๆ

1.2 เพิ่มรายได้

  • ประชาชน : เพิ่มความรู้ด้านการค้าขายให้แก่ประชาชนโดยเชื่อมโยงกับนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ทักษะ
  • เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย : พัฒนาและขยายช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมทั้งออนไลน์และออฟไลน์รวมถึงสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมและสร้างพลังให้ผู้ประกอบการรายย่อย

1.3 ขยายโอกาส : ปรับปรุง/พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนในประเทศ                      

  • เพิ่มช่องทางการค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สร้างโอกาสการเข้าถึงตลาดผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของกระทรวงพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น เช่น จัดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการได้จัดแสดงสินค้า

  1. บริหารให้เกิดความสมดุลระหว่างประชาชนผู้บริโภค เกษตรกรผู้ผลิต และผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ให้ทุกฝ่ายสามารถดำรงชีวิต ดำเนินธุรกิจได้และ สร้างผลประโยชน์ที่ได้รับด้วยกันทุกฝ่าย เช่น 

เกษตรกร : 

  • บริหารจัดการสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (ล้นตลาดและขาดตลาด) โดยสร้างหลักประกันว่าผลผลิตต้องขายได้ในราคาที่เหมาะสมมีการจัดช่องทางการจำหน่ายและกระจายผลผลิตที่มีประสิทธิภาพรองรับ
  • ช่วยแก้ไขปัญหาเชิงรุกโดยส่งเสริมและให้ความรู้/นวัตกรรมในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและทำให้เกษตรกรมีรายได้เช่นเกษตรอินทรีย์รวมทั้งกำกับดูแลต้นทุน และปัจจัยการผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เช่น ค่าปุ๋ย ค่าขนส่ง

ประชาชน : จัดหาสินค้าที่มีคุณภาพดีราคาเป็นธรรมและสร้างการเข้าถึงให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มเพิ่มร้านค้า/แหล่งจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดให้ครอบคลุมถึงระดับชุมชนรวมทั้งกำกับดูแลและแจ้งเตือน (Early Warning) อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดปัญหาราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง

ผู้ประกอบการ : ส่งเสริมพัฒนาทักษะความรู้และขีดความสามารถด้านการตลาดที่จำเป็นเพื่อให้เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมีความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งสร้างโอกาสและช่องทางการตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น เจรจาการค้ากับคู่ค้าในต่างประเทศเพิ่มกิจกรรมการบุกตลาดในต่างประเทศและประเทศเพื่อนบ้านทั้งในรูป on-site และ online

  1. การทำงานเชิงรุกและบูรณาการการทำงานร่วมกัน ของ พาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ 
  • วางแผนยุทธศาสตร์หรือแผนบริหารจัดการสินค้าอย่างครบวงจรร่วมกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อ “รักษาตลาดเดิม เสริมตลาดใหม่” 
  • เพิ่มบทบาท “พาณิชย์คู่คิด SME” ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กให้สามารถส่งออกได้ อาทิ การให้คำปรึกษา ในด้านกฎระเบียบการนำเข้าของตลาดต่างประเทศเชิงลึก เช่น การจัดตั้งบริษัท การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในตลาดเป้าหมายและสร้างเครือข่ายพันธมิตร การจัดทำคู่มือภาษาไทยที่เข้าใจง่าย
  • พัฒนา Platform ที่มีข้อมูลทั้งในด้านสินค้าศักยภาพของไทยและความต้องการสินค้าจากต่างประเทศที่ครบวงจรและเป็นปัจจุบันตลอดเวลาสามารถโต้ตอบระหว่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว
  1. แก้ไขข้อจำกัดของกฎหมาย
  • แก้ไข/ปรับปรุงกฎหมายเก่าที่ล้าสมัยเป็นอุปสรรคทางการค้าเพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ
  • สร้าง/บัญญัติกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เช่น ด้านการผลิตการค้าในรูปแบบใหม่ๆโดยเฉพาะกฎหมายเพื่อให้เท่าทันกับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี AI

  1. ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Digital wallet ให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • การเชื่อมโยงฐานข้อมูลช่องทางการตลาดที่กระทรวงพาณิชย์ส่งเสริม เช่น ร้านค้าธงฟ้า ร้านอาหารธงฟ้า ตลาดต้องชม  Farm Outlet หมู่บ้านทำมาค้าขาย เพื่อให้การใช้งาน Digital wallet ของประชาชนในพื้นที่ไม่เกิน 4 กม. สะดวกมากยิ่งขึ้น
  • อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าของประชาชนซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการใช้ Digital wallet  เช่น การจัดรถพุ่มพวงเข้าไปจำหน่ายสินค้า
  1. เร่งขยับตัวเลขการส่งออก เปลี่ยนจากติดลบให้เป็นบวก ผ่านการ
  • สร้างกระแส/ใช้ประโยชน์จาก Soft power ของไทย และสร้าง Story ให้กับให้สินค้าและบริการไทยเชื่อมโยงกับภาคบริการ เช่น ร้านอาหาร วัฒนธรรม ภาพยนตร์ แอนิเมชั่นและการท่องเที่ยว
  • จัดทำข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และวิเคราะห์ความต้องการของตลาดทั่วโลกข้อมูลเชิงลึกพฤติกรรมผู้บริโภควิถีชีวิต pain pointในแต่ละกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำมาพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย และจัดทำกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด
  • แก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การค้าชายแดน และ การค้าข้ามแดน มีความสะดวกและคล่องตัว ในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ เช่น หนองคาย แม่สาย สะเดา

  • มุ่งเน้นการขจัดปัญหาคอขวดที่เป็นอุปสรรคต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำตลอดโซ่อุปทาน เพื่อให้สินค้าไทยเข้าถึงตลาดในต่างประเทศรวดเร็วในราคาที่แข่งขันได้ โดยการคัดเลือกสินค้าประเภทที่มีปัญหาไม่ซับซ้อนสามารถแก้ไขข้อจำกัดได้ไม่ยาก ทำเป็นตัวอย่างนำร่อง
  • ผลักดันและสร้างระบบนิเวศน์ในการยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (Logistics Service Providers) เป็นผู้ให้บริการระดับภูมิภาค (การยกระดับให้ไทยเป็น Logistics Hub ของภูมิภาค นอกจากการมีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์แล้ว ยังต้องอาศัยการที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยสามารถขยายธุรกิจและบริการไปในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ซึ่งนอกจากจะสร้างขีดความสามารถให้กับสินค้าไทย ยังเป็นการนำเงินตราเข้าประเทศ และเป็นการยกระดับประเทศไทยเป็น Logistics Hub ของภูมิภาคอย่างแท้จริง)
  1. ลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จาก FTA รวมทั้ง การปรับตัวเพื่อรองรับ และส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยในมาตรฐานความยั่งยืนที่เป็นกรอบกติกาใหม่ของโลก 
  • สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็ก และเตรียมความพร้อม ให้ดำเนินธุรกิจสอดรับกับกฎกติกาใหม่ ๆ ของโลก เช่น Carbon Credit / BCG / SDGs  โดยการสร้างผู้ประกอบการไทยเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตและสร้างสินค้าแบรนด์ไทยที่สอดคล้องกับมาตรฐานความยั่งยืนด้านต่าง ๆ
  • ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ในประเทศ รัฐบาลจะจัดทำ Matching Fund ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน เพื่อลงทุนพัฒนา Start-up ที่มีศักยภาพให้เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลก สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจใหม่
  • นำผลของการเจรจา FTA มาสื่อสารทำความเข้าใจกับกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบที่ได้รับผลประโยชน์จาก FTA ในแต่ละฉบับ เพื่อนำไปสู่การผลักดันให้มีปริมาณการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น

ที่มา – กระทรวงพาณิชย์

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา