รัฐเดินหน้าหนุนผลิตยาในประเทศ ลดการนำเข้า เตรียมพื้นที่ทดลองเพาะปลูกสารสกัดจากฝิ่นและเห็ดขี้ควาย
รัฐบาลเดินหน้าหนุนการวิจัยผลิตยาในประเทศลดการนำเข้า โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
สาระสำคัญของกฎหมายคือ กำหนดพื้นที่เพาะปลูกและมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูก
พื้นที่ทดลองคือ ปลูกในวิทยาลัยป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ส่วนการทดลองสกัดมอร์ฟีนจากฝิ่นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ให้ดำเนินการในพื้นที่องค์การเภสัชกรรม 2 แห่ง คือกรุงเทพฯ และปทุมธานี
โดยร่างพระราชกฤษฎีกาได้เพิ่มเติมพื้นที่ทดลองเพาะเห็ดขี้ควาย เพื่อการศึกษาวิจัยให้ครอบคลุม 4 ภูมิภาคในพื้นที่ของสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อม เพื่อให้ไทยมีการศึกษาวิจัย นำพืชฝิ่น หรือ เห็ดขี้ควาย ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ที่เป็นยาเพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ยาต้านการซึมเศร้า หรือผู้ป่วยที่จำเป็นอื่น ภายใต้มาตรการควบคุม และลดการนำเข้ายาประเภทมอร์ฟีนจากต่างประเทศในอนาคต ปัจจุบันไทยพึ่งพาการนำเข้ามอร์ฟีนจากต่างประเทศ เนื่องจากขาดองค์ความรู้จากการวิจัยในการนำพืชฝิ่นมาใช้ประโยชน์ทางการแทพย์ โดยช่วงปี 61-63 ไทยมีการนำเข้ามอร์ฟีนมูลค่ารวม 400.4 ล้านบาท
นอกจากนี้ ไทยยังขาดองค์ความรู้และผลการศึกษาวิจัยในการนำเห็ดขี้ควายมมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เนื่องจากพืชเห็ดขี้ควายจัดเป็นยาเสพติดให้โทษและมีการควบคุมที่เข้มงวด ทำให้นักวิจัยไม่สามารถทำการศึกษาวิจัยได้ พระราชกฤษฎีกานี้จะทำให้มีการศึกษาและพัฒนาต่อยอดได้ สอดคล้องกับต่างประเทศที่พบว่ามีสารเคมีสำคัญ 2 ชนิดในเห็ดขี้ควาย คือ สารไซโลไซบิน (Psilocybin) และสารไซโลซีน (Psilocin) ที่มีข้อบ่งชี้พัฒนายาต้านการซึมเศร้าได้
ช่วงระหว่างปี 2558-2563 มีผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเข้ารับการรักษาถึง 1,758,861 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วย
ที่มา – ทำเนียบรัฐบาล
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา