ปัจจุบันความสูญเสียจากกรณีมิจฉาชีพหลอกหลวงเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะมิจฉาชีพพัฒนาวิธีการหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง เช่น ในเดือนมี.ค.-มิ.ย. 2023 เฉพาะความเสียหายเฉพาะคดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์พบความเสียหายกว่า 11,550 ล้านบาท (ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
ธปท. เผยยอดความเสียหายแอปฯ ดูดเงิน 1,152 ล้านบาท
ภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเราเห็นภัยทุจริตทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ในส่วนของมาตรการจัดการฯ ของธปท. เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียที่มีธุรกรรมสูงถือว่า มาตรการมีความสอดคล้องกัน และ อาจมีการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมเพื่อมาพัฒนาให้การป้องกัน ตรวจจับและรับมือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยมาตรการจัดการฯ ของไทยปัจจุบันทำให้ธนาคารสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทันทีเมื่อเกิดเคสขึ้น แต่ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบให้เป็นแบบ Real-Time
ปัจจุบันมูลค่าความเสียหายภัยทุจริตทางการเงิน เฉพาะกรณีแอปฯ ดูดเงินในเดือนธ.ค. 2022 – มิ.ย. 2023 รวมแล้วอยู่ที่ 1,152 ล้านบาท
ส่วนกรณีการอายัดบัญชีม้า (บัญชีเงินฝากธนาคารที่บุคคลอื่นที่ถูกคนร้ายนำมาใช้เป็นช่องทางในการรับโอนและถ่ายเงิน) ยังมีการอายัดอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมิ.ย. มีการอายัดแล้วรวม 9,000 บัญชี และยังมีแนวโน้มที่การอายัดอาจสูงขึ้น
สุดท้ายนี้ข้อสำคัญคือ เมื่อผู้เสียหายแจ้งเรื่องต่อธนาคารในกรณีการโดนหลอกจากมิจฉาชีพแล้วต้องแจ้งความกับตำรวจเพื่อดำเนินการอย่างเร็วที่สุด (สามารถแจ้งความออนไลน์ได้แล้ว)
- เมื่อผู้เสียหายแจ้งกรณีการโดนหลอกกับธนาคาร จะได้ Bank ID Case มา (เบื้องต้นธนาคารอาจอายัดบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ภายในธนาคารเดียวกันได้ ชั่วคราวที่ 72 ชม. )
- นำเลข Bank ID Case เข้าแจ้งความต่อตำรวจผ่านช่องทางต่างๆ
- เมื่อธนาคารได้รับหมายอายัดจากตำรวจ จึงสามารถขยายเวลาอายัดบัญชีได้
นับจากต้นปี 2023 รัฐเดินหน้าแก้ปัญหาความเสียหายจากมิจฉาชีพอย่างไร?
แต่กรณีความเสียหายที่เกิดจากมิจฉาชีพ หรือเรียกโดยรวมว่าภัยทุจริตทาการเงินยังมีอีกหลายรูปแบบ จึงทำให้ปีนี้เราเห็นหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและหลายฝ่ายพยายามร่วมมือกันเพื่อบรรเทาความเสียหายและหาทางป้องกันมิจฉาชีพ ซึ่งต้องทำอย่างรวดเร็วและทันท่วงที
นำสู่การออก พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2023 ทำให้ปัจจุบันมีทั้งช่องทางในการแจ้งความออนไลน์ อีกทั้งยังเห็นการเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกรรมการเงินมากมาย เช่น กลางปี 2023 นี้ประชาชนต้องยืนยันตัวตน (สแกนใบหน้า) ก่อนทำธุรกรรมโอนเงินผ่าน Moblie Banking ตั้งแต่ 50,000 บาท/ครั้งขึ้นไป หรือโอนเงินรวมตั้งแต่ 200,000 บาท/วันขึ้นไป)
สาเหตุหลักก็เพราะวิธีการของมิจฉาชีพส่วนหนึ่งมักหลอกล่อให้ผู้เสียหายโอนเงินผ่าน Mobile Banking จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อรับมือ ว่าแต่ ธปท. ได้พัฒนาเพื่อรับมือและป้องกันภัยเหล่านี้อย่างไรบ้าง?
แบงก์ชาติเผยความคืบหน้า 3 แนวทางการป้องกันภัยทุจริตทางการเงิน
สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน กล่าวว่า เมื่อ 9 มี.ค. ธปท. ได้ออกมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงิน (สง.) ทุกแห่งทำงานในมาตรฐานเดียวกันในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมทางการเงิน ทั้งการป้องกัน การตรวจจับ รวมถึงงการตอบสนองและรับมือ
ทั้งหมดนี้สร้างการเปลี่ยนแปลงในการบริการของธนาคารหลายด้าน โดยมีการอัพเดทล่าสุด (13 ก.ค.) ธปท.ระบุว่า
- การป้องกันความเสี่ยงและปิดช่องโหว่ภัยการเงินรูปแบบใหม่ๆ ที่ธนาคารทำแล้วเสร็จ เช่น
- ให้ธนาคารงดส่ง Link ทุกประเภทผ่าน SMS, Email และงดส่ง Link ขอข้อมูลสำคัญผ่าน Social Media
- ปิดกั้น SMS และเบอร์ Call Center ที่แอบอ้างเป็นธนาคาร ปิดเว็บไซต์หลอกลวง
- จำกัดบัญชีผู้ใช้งาน Mobile banking (username) ของแต่ละธนาคารให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น
- ธนาคารต้องปรับปรังระบบรักษาปลอดภัย Mobile banking อยู่เสมอ
ในส่วนงานที่ยังดำเนินการอยู่ซึ่งแล้วเสร็จตั้งแต่ 70% ได้แก่
- ธนาคารต้องแจ้งเดือนก่อนทำธุรกรรมบน Mobile banking ทุกครั้ง และมี การทำ Awareness test เป็นระยะ (ดำเนินการแล้ว 70%)
- ธนาคารต้องให้ยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วย Biometrics (เช่น การแสกนหน้า) เมื่อเปิดเมื่อเปิดบัญชีแบบ non-face-to-face / เปลี่ยนวงเงิน / โอนเงินจำนวนมาก (กรณีเปิดบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว แต่กรณีอื่นๆ ดำเนินการแล้ว 75%)
- กำหนดเพดานวงเงินถอน/ โอนสูงสุดต่อวัน ให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละประเภท (ลูกค้าปรับได้ตามความจาเปน็ และต้องยืนยันตัวตนอย่างเข้มงวด) (ดำเนินการแล้ว 80%)
- มาตรการตรวจจับ สถาบันการเงินเริ่มดำเนินการในการกำหนดเงื่อนไขารตรวจจับและติดตามธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด และรายงานไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ขณะที่ระบบตรวจจับและติดตามบัญชีหรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบทันที เพื่อให้การระงับธุรกรรมเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบทำได้เร็วขึ้น อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2566
- มาตรการตอบสนองและรับมือ สถาบันการเงินทุกแห่งต้องมีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (hotline) ตลอด 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้เร็ว รวมทั้งดูแลผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบ
ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา